Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน(emergency psychiatry) -…
บทที่ 6
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน(emergency psychiatry)
เป็นภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
เป็นพฤติกรรมในความพยายามหรือลงมือกระทําการทําร้าย ทําลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ตนเองผู้อืนและสิ่งของ
การบำบัด
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions)
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control)
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ตั้งแต่การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผนล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี หรือเป็นการฆ่าตัวตายหรือการทําร้ายตนเองที่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ
การบำบัด
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก (management of medical surgical consequences of suicide attempt)
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ํา (suicide precautions)
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะเสียการรู้คิด (cognition) ทั้งหมดและมีอาการทางneuropsychiatric syndrome ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ
ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน
การบำบัด
การบําบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug
การบําบัดด้านสิ่งแวดล้อม
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
เกิดอาการชารอบปากมือ เท้า เกร็ง กระสับกระส่าย ทายใจไม่อิ่ม วิงเวียน อาจหมดสติได้โดย
การบำบัด
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย (reassurance) ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีอันตรายถึงชั้นเสียชีวิต
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็วกว่าปกติหรือหายใจถี่ โดยให้ผู้ป่วยลองหายใจเร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย ด้วยการจํากัดปัจจัยกระตุ้น
สอนการผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ (relaxation techniques)
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ลักษณะอาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทางกายหลายอย่างร่วมด้วย อาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็ว
การบำบัด
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย
ใช้หลัn therapeutic communication
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดอาการ
ให้ยาตามแผนการรักษา
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
อาการพิษสุรา พูดไม่ชัดกาทรงตัวเสีย เดินไม่มั่นคง ตากระตุก
อาการขาดสุรา ชีพจรเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไอเจียน
การบำบัด
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) สัญญาณประสาท (neuro signs) จนกว่าผู้ป่วยจะดีขึ้น หมดภาวะพิษจากสารเสพติดและอาการขาตสารเสพติด
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway)
เฝ้าระวังอันตรายจากพฤติกรรมรุนแรง แอะอะ ก้าวร้าว เพ้อ หรือมีอาการประสาทหลอน
ให้การรักษาทางกาย
ใช้ยา antidote
ให้การปรึกษาเพื่อประคับประคองผู้ป่วยในการปรับตัวกับปัญหาในปัจจุบัน
การพยาบาล
1) การจําแนกผู้ป่วย (triage)
2) ให้การพยาบาลบําบัดดูแลระยะแรก (initial intervention)
3) การประเมินและบําบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention)
4) การจําหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบําบัดอื่น (discharge or refer patient)