Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินการอนุรักษ์และคุ้มครองศิลปวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดำเนินการอนุรักษ์และคุ้มครองศิลปวัฒนธรรม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (พุทธศักราช 2526)
ศูนย์อยู่ในสังกัด สวช. มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการให้บริการการศึกษาและส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสาขาต่างๆแก่เยาวชนชาวไทยและชาวต่างชาติ
การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ (พุทธศักราช 2528)
สวช. เห็นสมควรให้จัดทำโครงการเพื่อยกย่องเชิดชูและส่งเสริมเกียรติยศของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่าแก่ประเทศชาติทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ศิลปินรุ่นหลังดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกรเอกชนและประชาชนทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันอนุรักษ์ผลงานศิลปินของชาติและช่วยเหลือทรัพยากรบุคคลที่เป็นศิลปินแห่งชาติ
โครงการงานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้าน
เป็นโครงการสัญจรที่จัดขึ้นในภูมิภาคต่างๆผลัดเปลี่ยนกันไปโดยจะนำเสนอในรูปแบบของนิทรรศการวัฒนธรรมและการแสดงนาฏศิลป์ คีตศิลป์ ของท้องถิ่นต่างๆหลังจากนั้นงานมหกรรมนี้จึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการจัดกิจกรรมวิชาการส่วนการแสดงคงจัดขึ้นเฉพาะวาระสำคัญ
การจัดวันอนุรักษ์มรดกไทย (พุทธศักราช 2529)
วัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นมรดกของชาติให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นช่วยเหลือรัฐบาลในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ทุกภาคส่วนร่วมกันจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อดูแลรักษาวัฒนธรรมในท้องถิ่น
สวช. ได้เสนอให้ใช้วันที่ 2 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็น วันอนุรักษ์มรดกไทย
การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น (พุทธศักราช 2531)
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม 2531 มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์วัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกลับปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นจะมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดและต้องกระจายไปตามอำเภอต่างๆทั้งนี้อยู่ในการดูแลของ สวช.
ศูนย์วัฒนธรรมเหล่านี้มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้ารวบรวมวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน ฝึกอบรมวิทยากรและบุคลากรรุ่นใหม่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น จัดโครงการอนุรักษ์ พัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรมในท้องถิ่นตนในรูปแบบของนิทรรศการหนังสือ เอกสารและหอวัฒนธรรมรวมทั้งประสานงานขอความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่นของตนด้วย
การอนุรักษ์จากภาคประชาชน
โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิหารพระเจ้าพันองค์ม่อนดอยวัดปงสนุก จังหวัดลำปาง พุทธศักราช 2548 นับเป็นแนวทางใหม่ในการอนุรักษ์เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเป็นผู้จัดการมรดกทางวัฒนธรรมของตนด้วยตนเอง
โครงการอนุรักษ์วัดปงสนุกเป็นเหมือนโครงการต้นแบบให้แก่ชุมชนในพื้นที่อื่นๆที่จะสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชุมชนของตนรวมทั้งเข้าถึงภาคปฏิบัติในการอนุรักษ์และดูแลจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของตน
กรมศิลปากร
การดำเนินงานในช่วงแรกที่กรมศิลปากรได้รับมอบหมายหน้าที่ดูแลโบราณวัตถุ คือ การบูรณะโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานอารยธรรมในอดีตเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติที่ต้องบำรุงรักษาโดยกองโบราณคดีเป็นผู้รับผิดชอบ
วิธีการในระยะนั้นยังคงดำเนินการตามแนวทางของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ คือ หลักการไม่ซ่อมแซมโบราณวัตถุแต่คำ้จุนโบราณสถานหากแต่วิธีการดังกล่าวใช้ได้เฉพาะอาคารที่สร้างด้วยหินไม่ใช่อาคารก่ออิฐแบบ ที่พบในไทย
ในระยะต่อมากรมศิลปากรได้จัดทำโครงการร่วมมือกับนานาชาติเพิ่มขึ้น เช่น โครงการโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับเดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
การอนุรักษ์สมบัติวัฒนธรรมให้ประสบผล จึงเป็นผลงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงอาชีพ ทั้งด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่สำคัญคือ งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
กรมศิลปากรได้จำแนกประเภทของโบราณสถานและอนุสรณ์สถานเป็นกลุ่มต่างๆแต่ทั้งหมดก็ล้วนต้องได้รับการอนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาอย่างดีทั้งสิ้น
ละครประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น เชียงใหม่ ลพบุรี
ซากโบราณและแหล่งโบราณคดี เช่น ปราสาทหินพิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์ต่างชาติ เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร อยุธยา
ย่านประวัติศาสตร์ เช่น เกาะรัตนโกสินทร์
อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม
สัญลักษณ์แห่งชาติ เช่น พระบรมมหาราชวัง วัด พระบรมธาตุต่างๆ