Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
1.ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
ลักษณะทั่วไป: มีท่าทางตึงเครียด หน้านิ่งคิ้วขมวด ตาจ้องขมึงไปรอบ ๆ เพื่อหาบุคคลหรือ
สิ่งของที่เป็นเป้าหมายการทำร้าย ทำลาย มีการคลื่อนไหวเดินไปมาตลอดเหมือนมีความระวนกระวาย ขู่ว่าจะฆ่าหรือ
ทำร้ายผู้อื่น ทำลาย หรือมีท่าทางหวาดกลัว
อารมณ์: แสดงความโกรธอย่างรุนแรง ขาดการควบคุมอามณ์ เช่น ใช้คำพูดรุนแรง เสียงดัง
หน้าแดง ฉุนเฉียว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือแสดงอารมณ์ไม่สอคล้องกับเหตุการณ์
การรู้สติ (level of consciousness): อาจมีภาวะสับสนมีการรับรู้เวลา สถานที่ บุคคล ไม่
ถูกต้อง (disorientation) หรือมีอาการหลงผิดระแวงว่าถูกปองร้าย มีความคิดทำร้าย ฆ่า หรือแก้แค้นผู้อื่น
เคยมีประวัติมีพฤติกรรมรุนแรง: ทะเลาะวิวาทรุนแรงกับผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินมา
ไม่นาน หรือมีร่องรอยของการทะเลาะวิวาท เช่น มีรอยแผล, มีรอยซ้ำ
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
suicidal intention ความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย
suicide committed suicide การฆ่าตัวตายสำเร็จ
suicidal ideation ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันไปตาม
ความรุนแรงของ suicidal intention
suicidal attempt การพยายามฆ่าตัวตาย
self-injurious or self-harm behavior พฤติกรรมที่ตั้งใจทำร้ายตนเองให้บาดเจ็บ
เจ็บปวดหรือส่งผลทำลายร่างกายโดยไม่มี suicidal intention
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
อายุที่เริ่มมีความผิดปกติทางจิตครั้งแรกมากกว่า 45 ปี
อาการเริ่มต้นเป็นอย่างเฉียบพลัน
มีประวัติโรคทางกายรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับวาย ไตวาย หรืออาการป่วยทางกายนำ เช่น มีไข้
ปวดศีษะ ชีพจรเร็ว ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
-มีประวัติใช้สารเสพติด
-มีประสาทหลอนทางตาหรือทางผิหนังมากกว่าอาการประสาทหลอนทางหู
-มีประวัติอาการทาระบบประสาท หมดสติ ชัก อุบัติเหตุทางสมอง
การสูญเสียความชำนาญในการจัตวางภาพ (constructional apraxia) เช่น การไม่สามารถ
วาดรูปหน้าปัดนาฬิกาได้อย่างถูกต้อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
การมีอาการขึ้นมาทันทีทันใด
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
หายใจไม่อิ่ม วิงเวียน ใจสั่น นิ้วมือจีบยืดเกร็ง (carpopedal spasm)
ชาบริเวณริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า ผู้ป่วยอาจอ่อนแรงและสุดท้ายอาจหมดสติได้
ผู้ป่วยอาจจะบอกว่า รู้สึกเหมือนสำลัก หายใจไม่ออก (suffocation) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
ผู้ป่วยมักจะมีความเครียดทางอารมณ์เป็นปัจจัยกระตุ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ผู้ป่วยมีความกลัวอย่างรุนแรง
อาการเกิดทันทีและเป็นมากถึงระดับสูงสุดภายใน 10 นาที ร่วมกับอาการทางกายดังต่อไปนี้
อย่างน้อย 4 อาการ ได้แก่ ใจสั่น เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวสั่น หอบ หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้แน่นท้อง
เวียนศรีษะเป็นลม กลัวตาย ชาเจ็บตามผิวหนัง รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
อาจมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่างเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ได้แก่กลัวจะเป็นอีก, กลัว
จะควบคุมตนเองไม่ได้, กล้วเป็นโรคห้วใจหรือกลัวเสียสติ, มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขาดงาน หรือขาดโรงเรียน, อาการ
ที่มีไม่ได้เป็นมาจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
2) แอมเฟตามีน (amphetamine)
อาการพิษของแอมเฟตามีน (amphetamine intoxication) อาการสำคัญ คือ รู้สึกสบายผิดปกติ ร่วมกับอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน จนถึงขั้นความรู้สึกตื่นตัวสูง กระวนกระวายหงุดหงิด
อาการขาดแอมเฟตามีน (amphetamine withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยขาดแอมเฟตามีนภายใน 2-3 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน หลังหยุดเสพหรือลดปริมาณลงจะเกิดอาการรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย
3) ฝิ่น (opioid)
อาการพิษจากฝิ่น (opioid intoxication) อาการสำคัญ คือ อารมณ์ร่าเริงในระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นรู้สึกไม่สุขสบาย พลุ่งพล่าน กระวนกระวายหรือเชื่องช้า และมีอาการทางกาย เช่น ม่านตาหด พูดไม่ชัด
อาการขาดฝิ่น (opioid withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยหยุดเสพหรือลดปริมาณลง ฝิ่นซึ่ง
มีฤทธิ์สั้นอาการขาดสารจะเกิดภายใน 6-24 ชัวโมง โดยจะเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย
สุรา (alcohol)
อาการพิษสุรา (alcohol intoxication) จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมหรือจิตใจขณะที่มีอาการมึนเมา เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว
อาการขาดสุรา (alcohol withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากดื่มสุราจัดเป็นเวลานานแล้วหยุดหรือลดปริมาณการดื่มลง อาการขาดสุราจะเกิดภายใน 4 - 12 ชั่วโมง
1.1 ความหมายของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
จิตเวชฉุกเฉิน (emergency psychiatry) เป็นภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์
ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความ
เสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการบำบัด ช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสมโดยเร่งด่วน เพื่อ
ช่วยลดอันตรายหรือความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคคลรอบข้างรวมทั้งทรัพย์สิน และเมื่อผู้ป่วยมี
อาการสงบลง ปลอดภัยจะพิจารณาส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องที่เหมาะสมต่อไป
2.การบำบัดรักษาของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavio)
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก (management of medical surgical consequences of
suicide attempt) สำหรับผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมาก่อนเข้ารับการรักษา เช่น ถ้ากินยาหรือสารเคมีมาให้การล้าง
ท้อง ให้ยาแก้พิษ
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำ (suicide precautions) พยาบาลต้องพยายามไม่ให้
ผู้ป่วยฆ่าตัวตายซ้ำขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งในห้องฉุกเฉินและ/หรือในหอผู้ป่วยใน โดยจัดที่พักให้มีความ
ปลอดภัย ระวังวัสดุอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เพื่อทำร้ายตนเอง เช่น ขวดแก้ว ผ้าหรือเครื่องมือผูกยึด
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง การประเมินสาเหตุของการฆ่าตัวตายและประเมิน
ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ จะต้องประเมินว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัว
ตายเพราะหตุใด เช่น เกิดจากโรคซึมเศร้าทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการของโรค
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
การบำบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidol ในการรักษาผู้ป่วย
delirium ที่มีอาการวุ่นวาย และนิยมใช้ benzodiazepine แทน antipsychotic drug ในการรักษาอาการ delirium
จาก alcohol withdrawal
การบำบัดด้านสิ่งแวดล้อม
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง เนื่องจากสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลัง
มีหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรมีการซักประวัติและตรวจร่างกาย เช่น ตรวจ vital sign
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions) โดยพยาบาลต้องสร้าง
สัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าที่เป็นมิตร สงบ พร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่คุกคามผู้ป่วย อยู่ในระยะห่างที่พอเหมาะคือ
อย่างน้อยประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 ช่วงแขน เพื่อไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดที่ต้องอยู่ใกล้ชิดเกินไป และพยาบาลสามารถ
หลบหลีกได้ทันทีถ้าผู้ป่วยจะทำร้าย
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีท่าที
ที่จะต่อสู้หรือจะทำร้ายร่างกายผู้อื่น พยาบาลต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจำเป็นต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยการ
ย้ายผู้ป่วยไว้ในห้องแยก จับและผูกยึด และให้ยาเพื่อสงบอาการตามคำสั่งการรักษา
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง ภายหลังการควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แล้ว ถ้า
ผู้ป่วยยังมีอาการทางจิตรุนแรง และต้องควบคุมอาการในเวลาเร่งด่วน (rapid method)แพทย์จะให้ antipsychotic
drugในกลุ่ม high potency สำหรับฉีดเข้ากล้ม ทุก ๆ 30-60 นาที่จนกว่าจะประเมินว่าผู้ป่วยอาการสงบลง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย (reassurance) ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีอันตรายถึงชั้นเสียชีวิตเพื่อ
ลดระดับความกังวลและกลัวของผู้ป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็วกว่า
ปกติหรือหายใจถี่ โดยให้ผู้ป่วยลองหายใจเร็วขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้กลไกการเกิดอาการว่าหากหายใจเร็วขึ้น
แล้วจะพบว่าจะเกิดอาการขึ้น ความเข้าใจในอาการและเกิดความร่วมมือในการบำบัดรักษาของผู้ป่วยซึ่งจะทำให้การ
บำบัดรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย ด้วยการจำกัดปัจจัยกระตุ้น ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อ
เกิดอาการ สนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดการควบคุมตนเอง (self-control) ช่วงที่เกิดอาการ hyperventilation syndrome
ช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่มของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความคิดและความรู้สึก ซัก
ประวัติเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านภาวะสุขภาพจิต สาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม ตลอดจนการรักษาที่เคยได้รับ
ใช้หลัn therapeutic communication ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจ แสดงความใส่
ใจสัมผัสร่างกายผู้ป่วยตามความเหมาะสม เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ที่สงบ
ให้ยาตามแผนการรักษา ถ้ามีอาการกังวลมากผู้ป่วยจะได้รับยาคลายความวิตกกังวล หรือยา
พวก antidepressant แต่ถ้ามีอาการหวาดระแวงหรืออาการอื่นของโรคจิต ก็ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านอาการทางจิต
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ แก้ไขสาเหตุ
ความตึงเครียด เช่น การฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) สัญญาณประสาท (neuro signs) จนกว่าผู้ป่วยจะดี
ขึ้น หมดภาวะพิษจากสารเสพติดและอาการขาตสารเสพติด
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway) อาจต้องให้ออกซิเจนและใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อ
หมดสติ หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจและระวังการสำลักซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปอดบวมได้
เฝ้าระวังอันตรายจากพฤติกรรมรุนแรง แอะอะ ก้าวร้าว เพ้อ หรือมีอาการประสาทหลอน
ผู้ป่วยอาจได้รับ antipsychotic drug และ/หรือ antianxiety drug เพื่อให้อาการทางจิตสงบลง
ให้การรักษาทางกาย เช่น ให้สารน้ำ เกลือแร่ กลูโคส วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ในผู้ป่วย
ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังทางหลอดเลือดดำ เมื่อพบว่าขาดน้ำ สารอาหาร และการเสียสมดุลของเกลือแร่
ใช้ยา antidote เช่น narcane (narloxone) ในรายที่ได้สารพวกฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น
(เฮโรอีน) เกินขนาด
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ชัก เช่น ให้ valium ฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ
และอาจให้ยาซ้ำได้ ถ้าจำเป็นผู้ป่วยอาจได้รับยากันชักฉีดเข้ากล้ามหรือชนิดรับประทานต่อไป
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียมาก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ท้องเสียและให้การบำบัดดูแลอาการ
ทางกายอื่นๆ เซ่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน
ให้การปรึกษาเพื่อประคับประคองผู้ป่วยในการปรับตัวกับปัญหาในปัจจุบัน
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
2) ให้การพยาบาลบำบัดดูแลระยะแรก (initial intervention)
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate)
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate) ผู้ป่วยที่ถูกประเมินว่าอยู่ในภาวะคุกคามชีวิต เป็น
อันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น เช่น ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายมีอาการทางกาย พยายามทำร้ายตนเองหรือ
ผู้อื่นมีอาวุธขณะเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency) ต้องให้การดูแลภายใน 10 นาทีการช่วยเหลือ
ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมวุ่นวาย
กระสับกระส่ายระดับรุนแรง มีพฤติกรรมกาวร้าวทั้งทางด้านร่างกายและคำพูดไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา มี
พฤติกรรมข่มขู่ที่จะทำร้ายผู้อื่น มีความคิดและตั้งใจที่จะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นทั้งผู้ที่มีการวางแผนการและไม่มี
แผนการ
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะรีบด่วน (urgent)
ต้องให้การดูแลภายใน 30 นาที การช่วยเหลือผู้ป่วยที่
มีโอกาสหรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าพบผู้ป่วยมีพฤติกรรม
วุ่นวาย กระสับกระส่าย สับสน มีอาการทางจิต เช่น หูแว่ว หลงผิด มีความคิดหวาตระแวง หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ มี
ความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลรุนแรง อารมณ์รื่นเริงหรือหงุดหงิดมากผิดปกติ ลังเลใจที่จะ
เข้ารับการบำบัดรักษา มีประวัติเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent)
ให้การดูแลภายใน 60 นาที ผู้ปวยอยู่ในภาวะ
เครียดไม่สุขสบาย (distress) หงุดหงิดง่ายแต่ไม่ก้าวร้าว ให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา สามารถพูดหรือสื่อสารได้
ขัดเจน มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลแต่ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent)
ให้การดูแลภายใน 120 นาที ผู้ป่วยอยู่ใน
ภาวะเครียดหรือไม่สุขสบายเรื้อรั้ง(distress) มีประวัติโรคทางจิตเวชเรื้อรัง มีประวัติการเจ็บป่วยแน่ซัดแต่ไม่เป็น
อันตรายต่อตนเองและผู้อื่นหรือมีปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ปัญหาทางสังคม ยัง
สามารถสื่อสารได้ดี ให้ความร่วมมือในการประเมินรักษา
3) การประเมินและบำบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention)
การสัมภาษณ
การตรวจร่างกายซ้ำ
การตรวจสภาพจิตทั่วไป
การวินิจฉัยและการวางแผนการบำบัด
1) การจำแนกผู้ป่วย (triage)
ป็นกระบวนการประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพแบบองค์รวมอย่าง
รวดเร็ว จากการสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติ สัมภาษณ์อาการสำคัญ สาเหตุที่นำมาหน่วยฉุกเฉิน ประวัติการ
เจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีต ประวัติทางกฎหมาย และปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการในครั้งนี้ โดยข้อมูลอาจมาจาก
ผู้ป่วย ญาติ หรือ ผู้นำส่ง เช่น เพื่อนบ้าน ตำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญๆที่สัมพันธ์กับอาการทางจิตที่นำผู้ป่วย
มาโรงพยาบาลในเวลาสั้น ๆ ร่วมกับการตรวจสภาพจิต ตรวจร่างกาย และการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ
4) การจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบำบัดอื่น (discharge or refer patient)
เมื่อผู้ป่วยอาการ
ดีขึ้นและมีการประเมินซ้ำแล้ว อาจพิจารณาให้ผู้ปวยกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษาที่หน่วยอื่น เช่น ส่งไปรักษาที่แผนก
ผู้ป่วยนอกต่อไป หรือส่งปรึกษาแผนกอายุรศาสตร์ถ้าสงสัยหรือประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตเนื่องจากภาวะ
ผิดปกติทางกาย