Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บบที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บบที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมายของภาวะออทิสติกสเปกตรัม
🧎🏻♂️กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม เช่น ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นได้, ไม่มีการสบสายตา, ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้ากิริยา ท่าทางที่ประกอบการเข้าสังคม, ไม่สามารถแสดงความสนใจมีอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร เช่น ไม่สามารถผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบวัจนภาษากับอวัจนภาษาหรือมีความบกพร่องในการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษากายในการสื่อสาร, ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางหรือการใช้นำเสียง, ไม่มีการสบตา, ไม่ชี้บอก, ไม่หันตามเสียงเรียกจากบุคคลอื่น รวมทั้งมีความผิดปกติในการเปล่งเสียงพูด
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจสัมพันธภาพ เช่น ไม่มีความผิดปกติในการเข้าหาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น, ไม่สามารถเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นได้, ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือหารมีกลุ่มเพื่อน, มีความยากลำบากในการเล่นตามจินตนาการหีือการเล่นบทบาทสมมุติ
มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (Stereotyped)
มีการแสดงพฤติกรรมซ้ำ (Mannnerism) เช่น การสะบัดมือ การหมุนตัว การมันคอการโยกตัว ใช้วัตถุให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือใช้คำพูดซ้ำๆ
ยึดติดกับกิจกรรมเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมไฟซ้ำไปไม่มีความยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพระเจาะจง เช่น หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือบางส่วนของวัตถุมากกเกินไป
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็นต้น
สาเหตุของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ปัจจัยทางพันธุกรรม
พบว่าฝาแฝดแท้ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมเปกตรัมแล้วแฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95
ปัจจัยใจทางสมอง
ม่ช่องว่างในสมอง มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขนาดเซลล์สมองที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ มีความหมาสมดุลของการทำงานของสมองส่วนต่างๆ
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท ซีโรโทนิน
ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่ที่มีอายุมาก
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐาน
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก
เลือดออกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ติดเชื้อหัดเยอรมัน
ได้รับสารตะกั่ว
การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การรักษาทางยา
-ยา Methylphenidate ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
-ยา Haloperidol กับ Risperidone ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวาย ก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตนเอง
-ยา Fluoxetine ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ละพฤติกรรมซ้ำๆ
-ยา Lorazepam ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยการทำอรรถบำบัด (Speech therapy) ให้เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าให้มีพัฒนาการกลับมาใกล้เคียงกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติมากที่สุด และลดรูปแบบการใช้ภาษาที่ไมเหมาะสม ในกรณีที่เด็กไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้
พัฒนาการด้านทักษะทางสังคมโดยฝึกให้เด็กใช้ภาษาทางกาย ให้เหมาะสม สบสายตาบุคคลอื่นเวลาต้องการสื่อสาร กระตุ้นความเข้าใจในอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น
พฤติกรรมบำบัด มีเป้าหมายคือ การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม การหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และการสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ โดยมีเทคนิคทางพฤติกรรมบำบัดทั้งการให้แรงเสริมทางบวก การให้แรงเสริมทางลบ และการลงงโทษเพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม มีเปเาหมายหลักคือ เพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งมักเป็นโรคร่วมในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ศิลปะบำบัด ที่นำมาใช้ควบคุมู่ทางการแพทย์นั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านอารมณ์และทักษะด้านอื่นๆ โดยศิลปะจะช่วยพัฒนาด้านจิตใจ เสริมสร้างสมาธิ สร้างจินตนาการ และการสื่อสารผ่านงานศิลปะ
ดนตรีบำบัด เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น การสร้างสัมพันธภาพทางสังคม ฝึกการแสดงออกทาสังคม ส่งเสริมการสื่อสารโดยใช้ วัจนภาษาและอวัจนภาษาให้ดียิ่งขึ้นด้วย
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านภาษา โดยการจัดโปรแกรมการศึกษาแบบรายบุคคล จำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความสามารถ ความบกพร่อง และความสนใจของเด็กแต่ละคน
การให้คำแนะนำครอบครัว
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึทสเปกตรัม
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติส่วนตัว ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการคอดประวัติการเจ็บครรภ์ของมารดาและครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยของเด็ก ประวัติการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน
-การตรวจร่างกายเป็นการตรวจร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าเพื่อประเมินความผิดปกติ ได้แก่ ลักษณะทั่วไปศีรษะและคอ การตรวจช่องปากและฟัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทเป็นต้น
-ผลการตรวจอื่นๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบทางจิตวิทยาเป็นต้น
-ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยซึ่งแบบประเมินที่นิยมในประเทศไทย เช่น แบบคัดกรองโรคกลุ่มพัฒนาการผิดปกติรอบด้าน (PDDSQ)
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
-การฝึกกิจวัตรประจำวันให้เด็กรู้จักทำกิจจวัตรประจำวัน เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเช้าต้องไปเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ แต่งตัว เก็บที่นอนพยาบาลสามารถฝึกเด็กขณะอยู่โรงพยาบาลและให้คำแนะนำพ่อแม่ในการฝึกเด็กเมื่ออยู่ที่บ้านเพื่อให้เด็กปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
-ฝึกทักษะการสื่อความหมายเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมจะไม่สามารถสื่อความหมายที่เป็นภาษาพูดหรือการแสดงสีหน้าท่าทาง ยิ่งเด็กอายุมากขึ้นเท่าไหร่แล้วยังไม่พูดการฝึกก็จะยิ่งยากขึ้น
-การฝึกทักษะทางสังคมเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมจะ ไม่มีการแสดงสีหน้าความรู้สึกใดๆ ดังนั้นพยาบาล พ่อแม่ควรจะสอนให้เด็กรู้จักแสดงสีหน้าแสดงความรู้สึกภายในใจออกมาร รู้จักแสดงสีหน้าต่างๆ โดยแสดงสีหน้าให้เด็กดู หรือนำภาพสีหน้าต่างๆให้เด็กได้ฝึกเรียนแบบสีหน้าพร้อมกับดูหน้าตัวเองในกระจกเปรียบเทียบกับรูปภาพ
-แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมที่ไม่รุนแรงสามารถฝึกฝนได้โดยการประพฤติติกรรม