Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคซนสมาธิสั้น -…
บทที่ 4.3 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคซนสมาธิสั้น
ความหมาย
โรคซน-สมาธิสั้น (attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD) จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก โดยมีลักษณะการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ (inattention) และ/หรือ มีอาการซนไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีลักษณะถาวร (persistent patter) ส่งผลต่อการทำหน้าที่หรือพัฒนาการของเด็ก อาการขาดสมาธิ
อาการซนไม่อยู่นิ่ง หมายถึง การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ (เช่น การที่เด็กวิ่งเล่นไปทั่ว)ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือมีอาการกระวนกระวายกระสับกระส่ายอย่างมาก ชอบเคาะโน่นเคาะนี่ไปเรื่อย หรือพูดมาก พูดไม่หยุด สำหรับ
อาการหุนหันพลันแล่น หมายถึง การกระทำที่รีบร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยขาดการคิดไตร่ตรอง ขาดความสุขุมรอบคอบ และมีโอกาสสูงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป แต่สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการต่างๆมีดังต่อไปนี้
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับการเรียน งานบ้าน หรือทำงานต่างๆ ตามหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
ม้กมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย (สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะรวมถึงความคิดที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ)
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซน ไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป สำหร้บวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการต่างๆมีดังต่อไปนี้
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือรู้สึกทรมาน นั่งขยุกขยิกยุกยิกตลอดเวลา ใช้มือหรือเท้าเคาะโน่นเคาะนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม (ในผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่นอาจเป็นเพียงความรู้สึกกระวนกระวายใจ)
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยุ่งวุ่นวาย เสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา (เช่น ไม่สามารถอยู่ต่อ หรือรู้สึกอึดอัดใจอย่างมากถ้ามีการต่อเวลา เช่น ในร้านอาหาร ในการประชุม)
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
มักจะขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะเป็นลักษณะการก้าวก่ายหรือการยึดครองสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำอยู่
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
พันธุกรรม
พบว่า ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) ถ้าแฝดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้
กายวิภาค สรีรวิทยา ของระบบประสาท (Neuroanatomical and neurophysiological
factors)
สรีรวิทยของระบบประสาท จากการตรวจคลื่นสมอง(electroencephalogram: EEG)
สารเคมีของระบบประสาท (neurochemical factors)
2) ปัจจัยก่อนคลอด
การที่หญิงตั้งครรภ์ 3เดือนแรก (first trimester) มีการติดเชื้อ มีการเสพสุรา ยาเสพติด และ/หรือสูบบุหรี่ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity) หรือการที่เด็กขาด oxygen ระหว่างคลอด ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เด็กมีอาการของ ADHD
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
การที่เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ (prolonged emotional deprivation) เหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียด (stressful psychic events) การที่ครอบครัวของเด็กขาดความสมดุลในครอบครัว เช่น พ่อแม่มีปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ่อยๆ พ่อแม่มีความเครียดสูง รวมทั้งการที่ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กขาดทักษะในการจัดการพฤติกรรมเด็กที่เป็นปัญหา และการที่พ่อไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก
4) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การที่เด็กมีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ (encephalitis) มีอาการชัก มีการสูดหายใจอากาศที่มีมลภาวะเป็นพิษ การรับประทานสารตะกั่ว ส่วนของพวกสีผสมอาหาร วัสดุที่ใช้ในการแต่งกลิ่นแต่งสีหรือที่ใช้ในการถนอมอาหาร ซึ่งบางงานวิจัยกล่าวว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรค ADHD
5) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
อารมณ์ของเด็ก ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบคร้ว มาตราฐานของสังคมในเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติและการกระทำ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสถานะทางสังคมและทางเศรษฐกิจไม่ส่งผลต่อการเกิดADHD
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
การรักษาด้วยยา psychostimulants อาการข้างเคียงของยา psychostimulants ได้แก่ อาการปวดศีรษะ อาการปวดมวนในท้อ ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ความอยากอาหารลดลง
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants) เช่น imipramine (tofranil) ใช้ในกรณีที่ทนอาการข้างเคียงของ methylphenidate ไม่ได้หรือไม่ตอบสนองต่อยาmethylphenidate หรือมีอาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวลร่วมด้วย
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist เช่น clonidine (catapres) ใช้ methylphenidate กรณีที่เป็น ADHD ร่วมกับ tic หรือ tourette’s disorder
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics) เช่น thioridazine (mellaril) haloperidol (haldol) risperidone (risperdal) สำหรับผู้ป่วย ADHD ที่มีความก้าวร้าวหรือมีอาการ tic ร่วมด้วย
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม (behavioral/psychosocial intervention) ได้แก่
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD (parent management training) เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูเด็ก ADHD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD เพื่อพ่อแม่จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็กและมีความรู้ความมั่นใจในการดูแลแก้ไขปรับพฤติกรรมของเด็ก
• สอนเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก โดยที่ไม่ไปลดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
• แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก เนื่องจากเด็ก ADHD มักจะลืมและไม่ใส่ใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งให้
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กโดยลดสิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นหรือเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้น้อยที่สุด เช่น การจัดมุมทำการบ้านให้เด็กให้เป็นบริเวณที่เงียบสงบ พ่อแม่ประกบตัวต่อตัวเวลาสอนการบ้านเด็ก
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการออกคำสั่งกับเด็กอย่างสั้นๆ และควรให้เด็กการทวนซ้ำ เวลาพูดกับเด็กควรมีการสบสาย (eye contact) กับเด็กด้วย
• ให้คำแนะนำพ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านในการพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาดตำหนิเด็กหรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อเด็กทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง ซึ่งวิธีการลงโทษที่เหมาะสม เช่น การใช้วิธีขอเวลานอก (time out) การจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดู TV งดการเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน ลดค่าขนม นอกจากนี้ควรให้คำชมเชยหรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กกระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนาต่อไป
• ให้คำแนะนำพ่อแม่เรื่องไม่ควรเปรียบเทียบเด็กกับพี่น้องหรือเด็กอื่นเพราะจะเป็นการทำลายความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก นอกจากนี้พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก
การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินที่โรงพยาบาล
การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์สั้นๆ พ่อแม่และคุณครูที่เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเด็ก
• การจำแนกและการสำรวจเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
• ประเมินตัวเด็กว่ามีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยหรือไม่
• ประเมินระยะเวลาที่เด็กเริ่มมีอาการของโรค รูปแบบของอาการต่างๆ ในปัจจุบัน (pattern of the current symptoms)
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียน
• ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
• ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
• ผลการเรียนป็นอย่างไร
• มีพฤติกรมอะไรบ้างที่ทั้งพ่อแม่ คุณครูและ/หรือตัวเด็กเองมองว่าเป็นปัญหา
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่และเด็ก และคุณครู เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและประสานความร่วมมืออันดีระหว่างโรงพยาบาล บ้าน และโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาของเด็ก
ให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูเกี่ยวกับโรค การดูแลเด็ก การปฏิบัติต่อเด็ก การวางระเบียบวินัยให้แก่เด็ก แผนการบำบัดรักษา รวมถึงยาการออกฤทธิ์ของยาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการต่างๆ เหล่านั้น ฯลฯ
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ความคาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู ทีมสหสาขาวิชาชีพ และสื่อสารกับเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่คาดหวังที่ได้กำหนดไว้ว่าต้องการให้เด็กทำพฤติกรรมอะไรบ้าง
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งทัศนคติจากพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู และตัวเด็กเอง เพื่อการปรับปรุงปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติการพยาบาลให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป้าหมายระยะสั้น เช่น จำนวนครั้งที่เด็กจะถูกไล่ออกจกห้องเรียนลดลงภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
วิธีการเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคซนสมาธิสั้น จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีเพียงใด รวมทั้งเด็กมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กและปรับพฤติกรรมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หากผลการพยาบาลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ พยาบาลจะต้องนำผลที่ประเมินได้มาปรับแผนการพยาบาลหรือปรับกลยุทธ์ในการพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กโรคซนสมาธิสั้นต่อไป