Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชภาวะออทิซึมสเปกตร…
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชภาวะออทิซึมสเปกตรัม
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม
พบอาการดังนี้
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จํากัดซ้ําๆ (stereotyped) ที่ไม่มีประโยชน์
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
2) ปัจจัยทางสมอง ทั้งในลักษณะโครงสร้างและการทําหน้าที่ของสมอง
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ที่มีผลให้เด็กมีความเสี่ยงสูงในการเป็นภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การบําบัดรักษา
1) การรักษาทางยา ไม่ได้มีเป้าหมาย
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยการทําอรรถบําบัด (speech therapy)
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills) โดยฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม
4) พฤติกรรมบําบัด(behavioral therapy) มีเป้าหมาย คือ “การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม การหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และการสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ”
5) การบําบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
6) ศิลปะบําบัด (art therapy)
7) ดนตรีบําบัด (music therapy)
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
9) การให้คําแนะนําครอบครัว
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation)
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การประเมินสภาพ (assessment)
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ1-4 ปี
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ4-18 ปี
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)ควรมีครอบคลุมปัญหาทางการพยาบาลทั้งเด็กและครอบครัว
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
การพยาบาลช่วยเหลือด้านเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การพยาบาลช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation) เป็นการประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กําหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล