Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้า…
บทที่ 3
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความโกรธ (anger)
ปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึก
ว่าตนเองถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย ถูกทำให้ผิดหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ
ลักษณะอาการ
1) ด้านร่างกาย : ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) ระดับ epinephrine, norepinephrine สูงขึ้น
2) ด้านจิตใจและอารมณ์
การกระทำที่รุนแรง (violence) : การทำลายข้าว
ของ การทำร้ายร่างกาย การฆ่าผู้อื่น การฆ่าตนเอง มักจะใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
แยกตัว (withdrawal) : กลไกทาง
จิตแบบปฏิเสธความจริง (denial of reality) แบบถดถอย (regression)
ความก้าวร้าว (aggression) : พูดประชดประชัน ขู่ตะคอก พูดคำหยาบคาย ทะเลาะวิวาท ใช้น้ำเสียง ถ้อยคำในการโต้ตอบที่รุนแรง ใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
ซึมเศร้า (depression) : ใช้กลไกทางจิตแบบโทษตนเอง (introjection) แบบเก็บกต (repression) และแบบฝืนทำให้ตรงข้าม
กับความรู้สึกที่แท้จริง (reaction formation)
ความไม่เป็นมิตร (hostility) : การเฉยเมยไม่พูดไม่ทักทาย บึ้งตึง เคร่งครึม คิ้วขมวด ตาขวาง ถลึงตาจ้องมอง มักจะใช้กลไกทางจิต
แบบโทษผู้อื่น (projection)
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ : serotonin ,dopamine, epinephrine, norepinephrine อยู่ในระดับผิดปกติ
2) ปัจจัยด้านจิตใจ : - ด้านจิตวิเคราะห ์มนุษย์จะแสดงความก้าวร้าวออกมาเพื่อดิ้นร้นต่อสู้ชีวิต
3) ปัจจัยด้านสังคม : เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย
หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมไม่เป็นมิตรก้าวร้าว
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
ประเมินการใช้กลไกทางจิต
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทนของผู้ป่วยแต่ละคน
ประเมินอาการทางร่างกาย
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมาก หรือน้อยเพียงใด
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ
เป้าหมายการพยาบาล
ระยะสั้น
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกายที่มีความเชื่อมโยงจากอารมณ์โกรธ
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ระยะยาว
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมนันทนาการบำบัด ดนตรีบำบัด กลุ่มวาดภาพเพื่อระบายอารมณ
การพูดระบายความรู้โกรธกับบุคคลที่ไว้วางใจ การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง การนับเลข 1-100 การฝึกหายใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาจากอารมณ์โกรธที่เพิ่มมากขึ้น
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ