Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช (Part4) -…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช (Part4)
ความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ความหมาย
เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดในขณะนั้นๆ
แบ่งเป็น 4 โรคหลัก
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด
(substance induced mental disorder)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ภาวะเมาสาร
(substance intoxication)
พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
พฤติกรรมก้าวร้าว
การตัดสินใจบกพร่อง
โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่ เช่น หน้าที่
การงาน การเรียน หรืองานบ้าน
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารสารเสพติดนั้น ๆ เช่น ถูกจับกุม
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในด้านสังคม เช่น การทะเลาะเบาะแวงระหว่างสามีภรรยาที่เกิดจากผลของการใช้สารเสพติดนั้น ๆ
การติดสาร (dependence)
การดื้อยา (tolerance)
อาการขาดยา (withdrawal)
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะทราบว่าสารเสพติดนั้น ๆก่อให้เกิดปัญหาทาง
กายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม
แบ่งสารเสพติดเป็น 5 กลุ่มใหญ
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants)
ส่งผล
เกิดอาการตื่นตัว (arousal) ขยันขันแข็ง (hyperactivity)อารมณ์ดี (elevated mood) พึงพอใจ (peasant) เคลิ้มสุข (euphoria) ความต้องการในการนอนจึงน้อยลง (decreased need of sleep)
หากใช้มาก จะมีอาการก้าวร้าว (aggression) มีพฤติกรรมรุนแรง(violence) หวาดระแวง (hypervigilance) ประสาทหลอน (hallucination) และอาจซัก (seizure)ได้
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง
่ โคเคน (cocaine), แอมเฟตามีน(amphetamine), เมทแอมเฟตามีน (metamphetamine)
ภาวะเมาสาร ของสารกลุ่มนี้จะเกิดทันที่หลังเสพสารเสพติดโดยเฉพาะด้วยวิธีสูบ (smoking)
อาการแสดง : ตื่นตัว มีอารมณ์ครึกครั้นสนุกสนาน พูดมาก ชอบพบปะผู้คน ทำกิจกรรมตลอดเวลาและมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ (compulsive behavior) หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย กระวนกระวาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย วิตกกังวล เครียด ชอบพาลหาเรื่องทะเลาะวิวาท การตัดสินใจเสียและนอนไม่หลับ
ภาวะถอนสาร ของสารกลุ่มนี้อาการจะเกิดขึ้นหลังจากฤทธิ์ของสารกระตุ้นหมดไป และจะมีอาการคงอยู่ 2-3 วันหลังหยุดเสพ
อาการแสดง : ความรู้สึกหดหู่ (dysphoria) อ่อนเพลีย เมื่อยล้ำ (fatigue) ปวดศีรษะ ฝันร้าย นอนหลับมาก รับประทานอาหารมากกว่าปกติ มี craving เคลื่อนไหวเชื่องช้า ไม่รับรู้อารมณ์หรือบรรยายอารมณ์ของตนเองออกมาไม่ได้ (alexithymia)
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดไม่รุนแรงและเป็นที่ยอมรับในสังคม
ภาวะเมาสาร
คาเฟอีน (caffeine)
อาการแสดง : ในรายที่่ใช้มากกว่า 250 มิลลิกรัม มักเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ตื่นต้น หงุดหงิดง่าย ส่วนอาการทางกายจะเกิดกล้ามเนื้อกระตุก หน้าออกร้อน (flush face) คลื่นไส้อาเจียนและปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย เหงื่ออกมาก มือและเท้าสั่น นอนไม่หลับ
อาการแสดง : ในรายที่เสพมากกว่า 1 กรัมต่อครั้งอาจมีอาการรุนแรง เช่น พูดเสียงสั่น (rumbling speech)ความคิดลับสน (confused thinking) หัวใจเต้นแรงหรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่รู้จักเหนื่อย (inexhaustibleness) พลุ่งพล่นกระวนกระวายอย่างมาก (marked agitation) เสียงดังในหู (tinnitus) ประสาทหลอนทางตาแบบเห็นแสงวูบวาม (light flashes) กลัวตื่นตระหนก
อาการแสดง : หากมีการเสพมากกว่า 10 กรัมต่อ
ครั้งอาจจะมีอาการชักทั้งตัว หมดสติ การหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้อาการดังกล่าวจะเป็นอยู่นาน 6 - 16 ชั่วโมง
นิโคติน (nicotine)
อาการแสดง : มีอาการปวดท้อง มึนงง ปวด
ศีรษะ คลื่นไส้ หน้าซีด ใจสั่น เหงื่อออกมาก อาเจียน และไม่มีแรง
คาเฟอีนในเครื่องดื่ม เช่น คาเฟอีน (caffeine) ในกาแฟ, เครื่องดื่มชูกำลัง, นิโคติน (nicotine) ในยาสูบหรือบุหรี่
ภาวะถอนสาร
คาเฟอีน (caffeine)
อาการมักเกิดขึ้นภายหลังมีการดื่มครั้งสุดท้าย 12 - 24 ชั่วโมง อาการมักรุนแรงสูงสุดที่ 24 - 48 ชั่วโมงและอาจอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์
อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดศีรษะแบบบีบตุ้บ ๆ (throbbing headache) เหนื่อยล้ำ (fatigue) อาการอื่น ๆที่อาจพบได้เช่น วิตกกังวล หงุดหงิด อารมณ์เศร้าเล็กน้อย
นิโคติน (nicotine)
จะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากลด
ปริมาณหรือหยุดสูบบุหรี่จากที่เคยสูบบุหรี่ทุกวันติดต่อกันและมีอาการคงอยู่อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์
อาการแสดง : มีความรู้สึกไม่สบายใจหรือมีอารมณ์หดหู่ ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล สมาธิไม่ดี กระวนกระวาย ขาดความอดทน นอกจากนี้ยังพบว่าหัวใจเต้นช้าลงเหลือ 5 – 12 ครั้งต่อนาทีภายใน 2 – 3 วัน
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนาร์โคติก (narcotic)
สารที่ออกฤทธิ์ผ่าน opioid receptor จึงมักมีฤทธิ์ทำให้หายปวด (analgesic) และมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system suppression) และกดศูนย์การหายใจ (respiratory suppression) ทำให้ง่วงนอนและหลับ
สารฝิ่น (opium), มอร์ฟีน (morphine), เฮโรอีน (heroin)
ภาวะเมาสารของกลุ่มนาร์โคติกจะแสดงให้เห็นได้ชัดเจนหลังเสพทันที
อาการแสดง : จะมีอารมณ์เคลิ้มสุขในระยะแรก จากนั้นจะเซื่องซึม หดหู่ อารมณ์ทางเพศลดลง เฉื่อยชา เฉยเมย ความสามารถในการเรียนและการทำงานลดลง การคงความใส่ใจ สมาธิและความจำบกพร่อง รวมทั้งมีปัญหาสัมพันธภาพกับผู้อื่น ส่วนอาการทางกายจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ คันตามตัว ม่านตาหดเล็กลง (miosis) หัวใจเต้นช้า ท้องผูก พูดไม่ชัด หากมีอาการุนแรงระดับความรู้สึกตัวอาจลดลง semi-coma หรือ coma หายใจช้าและเสียชีวิต
ภาวะถอนสารของกลุ่มนาร์โคติก จะเกิดเมื่อหยุดเสพภายในไม่กี่นาที หรือ 2 – 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการเสพลง
อาการแสดง : มีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย ปวดกล้ามเนื้อตามตัว (muscle ache) อย่างมากโดยเฉพาะหลังและขา หงุดหงิดง่าย หดหู่ มีความไวต่ออาการปวดเพิ่มขึ้น (increased pain sensitivity / hyperalgesia /hyperesthesia) อยากเสพ (craving)คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออกมาก มีไข้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัวอย่างมาก (severe muscle ache and myalgia) น้ำตาและน้ำมูกไหล จนคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ (flu-like symptomร) ม่านตาขยาย (mydriasis) ขนลุก (piloerection) หาวบ่อย ๆ (yawning) และ นอนไม่หลับ
กลุ่มที่3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants)
ยากลุ่ม barbiturates, ยากลุ่ม benzodiazepines, สุรา (alcohol)
ภาวะเมาสาร
ยากลุ่ม barbiturates และยากลุ่มbenzodiazepines
อาการแสดง : งง สับสน สมาธิไม่ดีการทำงานประสานกันของกลัมเนื้อผิดปกติ(incoordination) ทำให้การทรงตัวเสียสมดุล (truncalataxia) เดินไม่ตรง ล้มง่าย พูดไม่ชัด มีตากระตุก (nystagmus) หลงลืมโดยเฉพาะลืมเหตุการณ์ช่วงที่มีอาการมึนเมาจากยา (black out) มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่หมาะสม อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย การตัดสินใจบกพร่อง ผู้ที่มีพิษรุนแรงจะตรวจร่างกายพบความดันโลหิตต่ำ หมดสติ ไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตจากการกดการหายใจ
สุรา (alcohol)
ระดับแอลกอฮอล์
(มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร)
80 – 200
พฤติกรรมแสดงออก : การประสานงานด้านการเคลื่อนไหวบกพร่อง ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เริ่มเดินเซเห็นภาพช้อน ตัดสินใจบกพร่อง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย พุทธิปัญญาบกพร่อง (cognitive impairment)
200 – 300
พฤติกรรมแสดงออก : พูดไม่ชัด สับสนและความจำบกพร่อง เกิด alcoholic blackouts, gag reflex,nystagmus,เสีย ง่วงซึม
30 – 80
พฤติกรรมแสดงออก : เริ่มมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้เข้าใจ ขาดสติ ประมาทเลินเล่อ ๕๐ มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร การควบคุมการเคลื่อนไหวเริ่มบกพร่อง เป็นระดับที่ผิดกฎหมายเมาแล้วขับ
300
พฤติกรรมแสดงออก : สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง หายใจช้า หมดสติและอาจเสียชีวิตได้เพราะหยุดหายใจ
20 – 30
พฤติกรรมแสดงออก : อารมณ์ครึกครั้น ผ่อนคลาย สนุกสนาน ร่าเริง พูดมากขึ้น สมรรถนะการเคลื่อนไหวช้า
ลง กล้าแสดงออก ความสามารถด้านการคิดลดลง
ภาวะถอนสาร
ยากลุ่ม barbiturates และยากลุ่มbenzodiazepines
อาการแสดง : เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
หายใจเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ปั่นป่วนในท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียน
สุรา (alcohol)
อาการแสดง :เหงื่อออกมาก(diaphoresis) ชีพจรและหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) คลื่นไส้อาเจียน มือลั่น (tremor) นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระวนกระวายอยู่ไม่สุข ประสาทสัมผัสลวง (illusion) ประสาทหลอน (visual hallucination) หรือได้ยินเสียงแว่ว (auditory hallucination) เป็นเสียงขู่จะทำร้าย ผู้ป่วยอาจหนีภาพหลอนหรือเสียงแว่วที่น่ากลัว ทำให้เกิดอุบัติหตุหรือเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยอามีอาการชักทั้งตัว (generalized tonic clonic seizure) ได้
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท
(psychedelic drugs/Hallucinogen)
สาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine,
phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
ภาวะเมาสาร
สาร phencyclidine (PCP) และ ketamine
อาการแสดง :ผู้เสพมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดการควบคุมอารมณ์ พุ่งพล่าน กระวนกระวาย การตัดสินใจบกพร่อง อาจมีอาการประสาทหลอน หลงผิด หวาดระแวงคนจะมาทำร้าย อาการทางกายที่พบร่วมด้วยคือ ความดันโลหิตสูง นัยน์ตากระตุก หัวใจเต้นเร็ว ชาตามตัว มีความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าธรรมดา การทรงตัวบกพร่อง พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อเกร็ง รู้สึกได้ยินเสียงดังกว่าปกติ
สาร lysergic acid diethylamide (LSD)
อาการแสดง : จะรู้สึกวิตกกังวลหรือมีอารมณ์เศร้อย่างมาก กลัวว่าจะเสียสติ เห็นภาพคมชัดมีสีสันมากผิดปกติหรือได้ยินเสียงดังกว่าธรรมดา รู้สึกว่ารูปร่างตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอาการทางกายมักมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออก มือสั่น ตาแดง ม่านตาขยาย ตาพร่า คอแห้ง นอนไม่หลับ กัดฟันขณะตื่นตลอดเวลา เดินเซ ผู้หญิงอาจถูกล่วงเกินทางเพศหรือถูกข่มขืนในระว่างที่เมาสารได้ เนื่องจากจะถูกชักจูงได้ง่าย บางรายที่มีโรคหัวใจหรือโรคหืดหอบอาจเสียชีวิตได้
ภาวะถอนสาร
สาร lysergic acid diethylamide (LSD)
อาการแสดง :เห็นภาพบิดเบือน (visual distortion) ภาพหลอนทางภูมิทัศน์ (geometric hallucination) เช่น เห็นเพดานม้วนลงมาผนังห้องเป็นคลื่นกระเพื่อม เห็นภาพขนาดใหญ่เกินจริง (macropsia) เห็นภาพเล็กเกินจริง (micropsia)
สาร phencyclidine (PCP) และ ketamine
อาการแสดง :อาการเฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน (lethargy) ซึมเศร้า และอยากเสพยา (caving)
กลุ่มที่ 5 กลุ่มสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์แตกต่างจาก 4 กลุ่มแรก
กัญชา(cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna), khat
ภาวะเมาสาร
กัญชา
อาการแสดง :มีอารมณ์เคลิ้มสุข หัวเราะง่ายอย่างไม่เหมาะสม รู้สึกผ่อนคลาย ง่วงนอน ขาดการควบคุมอารมณ์มีอาการวิตกกังวลหงุดหงิดฉุนเฉียวโกรธง่าย อาจมีอารมณ์เศร้าหวาดกลัว
สารระเหย
อาการแสดง : เริ่มจากเวียนศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน พูดไม่ซัด (slurred speech) มือสั่น การทรงตัวเสียเดินเช ล้มง่าย คลายปวด และมี nystagmus อาการด้านจิตใจและพฤติกรรม ได้แก่ อารมณ์เคลิ้มสุข สับสน มีพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความยับยั้งชั่งใจ ถ้าเสพขนาดสูงจะมีอาการเซื่องซึมและง่วงนอน คิดและเคลื่อนไหวเชื่องช้ากล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจช้า ความดันต่ำ hyporeflexia ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือหมดสติ
ภาวะถอนสาร
กัญชา
อาการแสดง :มีอาการหงุดหงิดง่าย มีอยากเสพยา (caving) นอนไม่หลับ มีการฝันที่มีเนื้อหารบกวนจิตใจ (vivid and disturbed dreaming)ชัดเจนเหมือนจริง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึมเศร้า กระวนกระวาย
อยู่ไม่สุข ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดท้อง เหงื่อออก และสั่น
สารระเหย
อาการแสดง :มีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีอารมณ์หงุดหงิด
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
การประเมินสภาพ (assessment)
ชนิดของสารเสพติดที่ผู้ป่วยเคยใช้
วิธีที่ผู้ป่วยใช้ในการนำสารเข้าสู่ร่างกาย
ปริมาณสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละครั้ง
ระยะเวลา ความถี่ในการใช้สาร
ในสภาพการณ์ใดที่ผู้ป่วยต้องใช้สารเสพติดนั้น ๆ
ประวัติการเลิกสารเสพติดด้วยตนเองหรือเข้ารับการรักษา
ข้อมูลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการคัดกรอง/ อาการทางจิต ความผิดปกติ/ปัญหาอื่นที่เกิดจากการเสพสารเสพติด
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ระยะเตรียมการก่อนบำบัด (pre-admission)
ผู้ป่วยและครอบครัวมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเกี่ยวกับการติดสารเสพติด การรักษา การฟื้นฟูและการป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ
ระยะการถอนพิษยา (de toxification)
การดูแลตนเองบกพร่อง
มีภาวะเสียงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากความรู้สึกและการควบคุมเคลื่อนไหวบกพร่อง
มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการชัก
การรับรู้บกพร่อง มีหูแว่ว เห็นภาพหลอนแปลภาพผิด รับสัมผัสผิดปกติ (tactile hallucination)
มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
แบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระบบประสาทถูกกระตุ้น
มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร น้ำ และอีเลคโทรไลท์เนื่องจากอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ระยะการฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation)
ระยะติดตามดูแล (after-care)
มีพฤติกรรมและการแสดงออกไม่เหมาะสม เช่น เรียกร้อง สัมพันธภาพบกพร่อง พึ่งพา
ใช้กลไกทางจิต กลไกการปรับตัว และการเผชิญปัญหาไม่เหมาะสม
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
ส่งเสริมและดูแลการให้พักผ่อนได้รับอาหารยาตามแผนการรักษา
การลดหรือป้องกันพฤติกรรมรุนแรง
ลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ในภาวะถอนยาเสพติด
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปรับตัวในการเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม
มีความรู้ในการดูแลตนเองทำกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
เพื่อส่งเสริมให้รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่การงาน
มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
มีเครือข่ายในสังคมที่คอยให้การช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
สามารถเผชิญปัญหาภาวะกดดันและใช้กลไกทางจิตได้อย่างเหมาะสม
การเพิ่มคุณค่าชีวิตแห่งตน
มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคม
การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
จำนวนวันที่ใช้สารเสพติดลดลง 3 วันจากเดิม 5 วันต่อสัปดาห์
สุขภาพทั่วไปดีขึ้นในระยะ 6 เดือน
สามารถแหล่งประโยชน์ที่ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถพึ่งพาและขอความช่วยเหลือได้
สามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขเมื่อความเครียดได้
การพยาบาลบุคคลที่มี ความผิดปกติทางด้านอารมณ์
ความผิดปกติด้านอารมณ์ :Mood disorder
โรคซึมเศร้า: :Depressive disorder
อาจแสดงอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ (Depressive) ซึมเศร้ามาก ร้องไห้มาก ปฏิเสธสังคม อ่อนเพลีย หดหู่ใจ อยากตาย
โรคซึมเศร้ารุนแรง(Major Depressive Disorder)
การวินิจฉัยดูที่อาการแสดงครั้งเดียว หรือกลับเป็นอีกมากกว่า 2ครั้ง
พิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ:mild, moderate, severe3
มีอาการโรคจิตชัดเจน มีการสูญเสียการรับรู้ความจริง หลงผิด ประสาทหลอน
มีอาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ต่อเนื่องและนานเป็นเวลาอย่างน้อย 2ปีขึ้นไป
มีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล
เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในช่วงเวลาหลังคลอด โดยมีอาการภายใน 4สัปดาห์หลังคลอด
โรคซึมเศร้าดิสไธมิก(Dysthymic Disorder)
คล้ายโรคซึมเศร้ารุนแรง แต่อาการน้อยกว่า
มักเป็นอารมณ์เศร้าตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น
เป็นมาไม่น้อยกว่า 2ปี (ในเด็กและวัยรุ่นเป็นมาไม่น้อยกว่า 1ปี)
มี 2 ลักษณะ:Early Onset (อาการเริ่มเป็นก่อนอายุ 21), Late Onset (อาการเริ่มเป็นหลังอายุ 21ปีขึ้นไป)
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าDysthymic
มีอารมณ์เศร้าเกือบทั้งวันมากกว่า 1วัน และเป็นมาไม่น้อยกว่า 2ปี (ในเด็กและวัยรุ่น 1ปี)
แสดงอาการต่อไปนี้มากกว่า 2 อาการ:ความอยากอาหารลดลงหรือมากเกินปกติ, นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินปกติ, อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ความรู้สึกคุณค่าในตนเองต่า, สมาธิเสีย ตัดสินใจลาบาก, สิ้นหวัง
ในช่วง 2ปีที่มีอาการ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใน 1. และ 2. ได้นานเกิน 2เดือน
ไม่มีอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงในระหว่าง 2ปี
ไม่มีอาการคลุ้มคลั่ง(Mania)อาการผสม(Mixed)หรืออาการคลุ้มคลั่งระดับต่า(Hypomania)หรือเข้าเกณฑ์ของโรค Cyclothymia6
ความผิดปกติต้องแยกออกจากโรคจิตชนิดอื่นๆ
อาการแสดงต้องไม่ใช่เกิดจากผลของยาเสพติด หรือยารักษาโรคทางกาย
อาการแสดงต้องมีลักษณะเด่นด้านความล้มเหลวในการเข้าสังคมและการประกอบอาชีพ
โรคซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Disphoric Disorder)
DSM-Vไม่ได้รวมการวินิจฉัยโรคนี้อย่างเป็นทางการ
อารมณ์เศร้า วิตกกังวลเด่น อาการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ และกดดันในสัปดาห์ที่มีประจำเดือน
อาการรบกวนการทำงาน การเรียน กิจวัตรประจำวัน
จะมีอาการเกิดขึ้นประจำในช่วงรอบเดือนส่วนใหญ่ของปีที่ผ่านมา
โรคอารมณ์คุ้มคลั่ง : Mania disorder
ครึกครื้น ครื้นเครงมากกว่าปกติ อารมณ์ดีมากเกินปกติ หัวเราะร่าเริงโดยไม่มีเหตุผล คิดว่าตนเป็นใหญ่ แสดงพฤติกรรมมากกว่าปกติทั้งการพูด การคิด และการกระทา พูดจาสับสน เปลี่ยนเรื่องบ่อย หงุดหงิด โกรธง่าย ตกใจง่าย ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
โรคอารมณ์คลุ้มคลั่งสลับเศร้า(BipolarDisorders)
อารมณ์ขึ้นๆลงๆ โดยมีอารมณ์เศร้าระดับต่ำ ถึงอารมณ์เริงร่า คลุ้มคลั่ง (Euphoria-Mania) หรือมีอาการสุขสลับเศร้า
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
ความรู้สึกคุณค่าในตนเองสูงเกินจริง
ต้องการพักผ่อนน้อยหรือนอนไม่หลับ
พูดมาก พูดไม่หยุด
ความคิดฟุ้งซ่าน, กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข, วุ่นวาย
Bipolar I
มีทั้งอารมณ์เศร้า (depress) หรืออารมณ์แบบผสม(mixed)
เคยมีอาการเศร้ามาก่อน
การวินิจฉัยมุ่งที่อาการแสดงปัจจุบัน หรืออาการที่ผ่านมาในช่วงการเจ็บป่วยครั้งปัจจุบัน
Bipolar II
มีทั้งอารมณ์เศร้า สนุก ครื้นเครง ตามเกณฑ์การวินิจฉัยอาการคลุ้มคลั่งและอาการผสม
ไม่เคยมีอาการเหล่านี้มาก่อน
Cyclothymic Disorder
มีอาการปรากฏเป็นช่วงๆ อย่างน้อยเป็นเวลา 2ปี
มีอาการคลุ้มคลั่ง และเศร้า อาการอาจไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้ารุนแรง
ในช่วงกว่า 2ปี อาจไม่มีอาการตามเกณฑ์นานถึง 2เดือ
ไม่มีอาการแสดงโรคซึมเศร้ารุนแรง โรคคลุ้มคลั่ง และอาการผสมเกิดขึ้นในช่วง 2ปีแรก
ไม่ใช่อาการที่รวมอยู่ในอาการของโรคจิตเภท
ไม่ใช่ผลจากอาการทางกาย หรือผลจากการใช้ยาในการรักษาโรคทางกาย
เป็นความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการเด่น โดยบุคคลอาจมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ อ่อนเพลีย ร้องไห้ เศร้ามาก อยากตาย หรือ
อาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครื้นเครง พูดมาก อาจมีอาการเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้งสองลักษณะร่วมกัน
อาจมีอาการทั้งเศร้าและคลุ้มคลั่งมากในเวลาเดียวกัน
โรคอารมณ์แปรปรวนอื่นๆ
(Other Mood Disorders)
เป็นความผิดปกติที่มีผลต่อสภาพทางร่างกายโดยตรง สัมพันธ์กับความล้มเหลวในการทาหน้าที่การทางาน และการเข้าสังคม
เป็นผลจากการใช้ยาและสารเสพติด สารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ แอมเฟตตามีน โคเคน ฝิ่น ยานอนหลับ ยากดประสาท ยาลดความวิตกกังวล เป็นต้
การวินิจฉัยแยกโรคอารมณ์แปรปรวน
โรคเศร้าจากสาเหตุโรคทางกาย
โรคสมองเสื่อม
โรคจิตเภท
โรคเศร้าจากการสูญเสีย
อาการซึมเศร้าจากภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติเป็นปฏิกิริยาเศร้า (Depressive reaction)
โรคประสาทชนิดต่างๆ
โรคอารมณ์แปรปรวน
ระยะแรกพบในลักษณะอาการซึมเศร้า(Depression)
เศร้า หดหู่ใจ สะเทือนใจ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เบื่อหน่ายสังคม สิ่งแวดล้อมรอบตัว ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ซึมเฉย เก็บตัวอยู่คนเดียว หงุดหงิด เหม่อลอย หลงลืม มองโลกในแง่ร้าย ตาหนิตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีทุกข์มาก ไม่มีใครช่วยได้ และอยากตาย
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ในอดีตพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ระยะหลังอัตราการป่วยในเพศหญิงและเพศชายพอๆกัน
พบในวัยหนุ่มสาวมากขึ้น
เป็นโรคที่รักษาหายได้ถึง 80-90 %ถ้ารักษาตั้งแต่แรกๆ
ปัจจัยเหตุของโรคอารมณ์แปรปรวน
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
ชีวเคมี เกี่ยวข้องกับระดับอารมณ์ของมนุษย์ภาวะเศร้ามีNorepinephrinต่าภาวะคลุ้มคลั่งจะมี NEสูง
ความผิดปกติของระบบประสาท: การกระจายสารละลายNa & K ในและนอกเซลประสาทไม่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้ารุนแรงช่วงเช้าตรู่ และดีขึ้นในช่วงบ่ายหรือค่า
ความผิดปกติของการเผาผลาญสารชีวเคมีบางตัว
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
50%ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนชนิดBipolar-Iจะมีอย่างน้อยบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน และมักเป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง
บุตรมีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน 50-75% ถ้าทั้งบิดาและมารดาป่วยเป็นโรคนี้
ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน อัตราความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอารมณ์แปรปรวนสูง 33-99% และโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง 50%
ปัจจัยด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud
ใช้คำ Mourning และ Melancholiaจำแนกอาการ
เป็นอาการเศร้า ไม่สนใจโลกภายนอก ขาดความรักและกิจกรรมต่างๆ สนใจเฉพาะตนเอง หลงผิด และลงโทษตนเอง
อารมณ์เศร้าเกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสับสนเรื่องสัมพันธภาพเกี่ยวกับความรัก สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก และความขัดแย้งใจเกี่ยวกับตนเอง
ทฤษฎีพัฒนาการ และประสบการณ์การเรียนรู้
การถูกทอดทิ้ง แยกจากบุคคลที่สาคัญใน 6 เดือนแรกของชีวิต ทาให้บุคคลรู้สึกเศร้า คิดและคาดหวังในทางลบเกี่ยวกับตน ปรับตัวไม่ได้
ทารกที่ถูกทอดทิ้งในขวบปีแรกจะเกิดความเศร้า ร้องไห้มาก รับประทานอาหารไม่ได้ พัฒนาการเคลื่อนไหวล่าช้า ซึม ทื่อ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีอาการเศร้าตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมเศร้ามาก
Jacobson : ภาวะซึมเศร้าเกิดจากการที่ทารกผิดหวังจากการถูกแยกจาก พัฒนาการความเป็นตนหยุดชะงัก ไม่อาจปรับตัวเองกับโลกความเป็นจริงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทาให้บุคคลหมดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกไร้ค่า และซึมเศร้า
Sulivan : ความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือสภาพของสังคมรอบตัวเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
ปัจจัยด้านการรู้คิด (Cognitive factors)
ความเศร้าเกิดจากการที่บุคคลมีความคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ คิดโทษตนเอง ทำร้ายตนเอง
Beck : ความคาดหวังในทางลบ 3ประการที่ก่อให้เกิดอารมณ์เศร้า คือ ความคาดหวังด้านสิ่งแวดล้อม ความคาดหวังตนเอง และความคาดหวังอนาคต
ความรู้สึกในทางลบจะทาลายพัฒนาการทางความคิดของบุคคล ทาลายความรู้สึกมีคุณค่าของตนเอง รู้สึกต่าต้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง มองอนาคตว่าล้มเหลว หมดทางแก้ และพยายามฆ่าตัวตาย
การจำแนกโรคอารมณ์แปรปรวน
ปัจจุบันนิยมใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ
สมาคมจิตแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (DSM-V)
องค์การอนามัยโลก (ICD-10)
การบำบัดรักษาบุคคลที่มีอารมณ์แปรปรวน
การรักษาด้วยยา
ยาต้านอาการเศร้า (Antidepressant) : Amitriptyline 10, 25 มก.Imipramine 25 มก. Nortriptyline 10, 25มก.2
ยารักษาโรคอารมณ์คลุ้มคลั่ง : Chlorpromazine, Haloperidol, Lithium
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยที่มีอาการเศร้ารุนแรง พยายามทำร้ายตนเอง
รับการรักษาทางยาแล้วไม่ได้ผล
มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน
การรักษาด้วยจิตบำบัด
ใช้หลักการสัมพันธภาพทั้งรายบุคคล และรายกลุ่ม
ใช้การพูดคุยกับผู้ป่วย วิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้ป่วย นาไปสู่ความเข้าใจ ยอมรับปัญหา มุ่งหาทางแก้ไข และส่งเสริมการปรับตัวในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
การใช้สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ยอมรับผู้ป่วยโดยไม่มีเงื่อนไข
สื่อสารด้วยความเห็นใจและเข้าใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายปัญหาและความทุกข์
ให้ข้อเสนอแนะ หรือทางเลือกแก่ผู้ป่วยและครอบครัวพิจารณา
ป้องกันอันตราย สังเกต และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
เสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งในการเผชิญปัญหา
ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเรื้อรังทั้งในด้านสุขอนามัย การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจาวัน และการประกอบอาชีพ
ส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว
การพยาบาลบุคคลที่มีอารมณ์แปรปรวน
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยอารมณ์ซึมเศร้า
การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอารมณ์ซึมเศร้า
มุ่งที่ระดับของอารมณ์เศร้าว่าอยู่ที่ระดับใด โดยประเมินทั้ง 4 ด้าน : affective, behavior, cognitive และphysiological
อารมณ์เศร้าตามสถานการณ์ (Transient depression)
เป็นความรู้สึกเศร้าเมื่อบุคคลรู้สึกผิด หรือเผชิญ กับสถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันที่ผิดหวัง
ด้านอารมณ์ ผิดหวัง หงุดหงิด เศร้าใจ
ด้านพฤติกรรม เศร้า เสียใจ ร้องไห้
ด้านความคิด หมกมุ่นอยู่กับความผิดหวัง
ด้านสรีรวิทยา เหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า
อารมณ์เศร้าระดับต่า (Mild depression)
ด้านอารมณ์โกรธ วิตกกังวล ผิดหวัง หมดหวัง เศร้า
ด้านพฤติกรรมน้าตาไหล กระสับกระส่าย แยกตัว
ด้านความคิดหมกมุ่นอยู่กับการสูญเสีย ตำหนิตนเองและผู้อื่น
ด้านสรีรวิทยาคลื่นไส้อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดหลัง เจ็บหน้าอก
อารมณ์เศร้าระดับกลาง(Moderate depression)
ด้านอารมณ์เศร้า จิตใจห่อเหี่ยว สิ้นหวัง คุณค่าในตนเองต่ำ
ด้านพฤติกรรม เชื่องช้า ถดถอย แยกตัว พยายามทำ ร้ายตนเอง
ด้านความคิด ขาดสมาธิ ย้าคิดย้าทา คิดวกวน คิดใน แง่ร้าย
ด้านสรีรวิทยา คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดหลัง เจ็บหน้าอก ประจาเดือนขาด เมื่อยล้า
อารมณ์เศร้าระดับรุนแรง (Severe depression)
ด้านอารมณ์เศร้ามาก สิ้นหวัง ไม่มีคุณค่า โดดเดี่ยว
ด้านพฤติกรรมเชื่องช้า ถดถอย เฉย แยกตัว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ด้านความคิดขาดสมาธิ หลงผิด ตัดสินใจไม่ได้ ประสาทหลอน ตาหนิและคิดร้ายต้นเอง
ด้านสรีรวิทยาเฉื่อยชา ท้องผูก ไม่ปัสสาวะ คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ น้าหนักตัวลด
การวินิจฉัยการพยาบาล
พฤติกรรมการเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า โกรธ และแปลเหตุการณ์ผิดจากความเป็นจริง
การสูญเสียหน้าที่การทางาน ปฏิเสธการสูญเสีย การระบายความโกรธไม่เหมาะสม คิดซ้าๆกับสิ่งที่สูญเสีย ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้
ขาดความสนใจในการดูแลสุขอนามัยของตนทุกด้าน รวมถึงการดูแลด้านบุคลิกภาพและการแต่งกาย
การวางแผนการพยาบาล
ระยะสั้น
การสร้างสัมพันธภาพและส่งเสริมการปรับตัว
การป้องกันอันตราย
การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และพัฒนาคุณค่าในตนเอง
การดูแลช่วยเหลือด้านสรีรวิทยา
ระยะยาว
การพัฒนาคุณค่าในตนเอง สนับสนุนความสามารถในการทางาน การเผชิญปัญหา และการปรับตัวในครอบครัวและสังคม
การส่งเสริมความรู้สึกพึงพอใจในตนเองและคุณค่าแห่งตน
การปฏิบัติการพยาบาล
การป้องกันอันตราย
การใช้เทคนิคการสื่อสาร และสร้างสัมพันธภาพ
การสอนผู้ป่วย
การให้คำปรึกษา
การพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสม
การแนะนำแหล่งบริการที่สะดวกสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว
การประเมินผล
พิจารณาถึงความสาเร็จของการปฏิบัติการพยาบาล ว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยอารมณ์คลุ้มคลั่งสลับเศร้า
การประเมินภาวะสุขภาพ
ด้านอารมณ์ครื้นเครง สนุกสนานกว่าปกติ เริงร่าไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ แสดงอารมณ์เหมือนตนเองยิ่งใหญ่ อารมณ์สุขไม่ยืนยาว หงุดหงิดเมื่อถูกขัดใจ ไม่มีสมาธิได้นาน เบี่ยงเบนความสนใจได้ง่ายแม้แต่เรื่องเล็กน้อย
ด้านพฤติกรรมไม่อยู่เฉย วุ่นวาย พูดรัว เร็ว เสียงดัง ขาดความเชื่อมโยงในเนื้อหาที่พูด พูดไปหัวเราะไป อยากรู้อยากเห็น ใช้เงินเปลือง พฤติกรรมถดถอยเหมือนเด็ก ทากิจกรรมตลอดเวลา ไม่ยอมนอน
ด้านความรู้สึกนึกคิดคิดฟุ้งซ่าน ความคิดเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก มีความภาคภูมิใจในตนเองสูง หลงตัวเอง หลงผิดว่าตนสาคัญและยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น สมาธิสั้น หมกมุ่นเรื่องเพศ หลงผิดว่ามีคนปองร้าย
ด้านสรีรวิทยาไม่สนใจสภาพร่างกายของตน ไม่อาบน้า ไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า ไม่รับประทานอาหาร ไม่นอน เนื่องจากมีกิจกรรมมาก มีสภาพร่างกายสกปรก อ่อนเพลีย ขาดอาหาร
การวินิจฉัยการพยาบาล
มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ จากพฤติกรรมที่ไม่อยู่นิ่ง มีกิจกรรมตลอดเวลา บางครั้งมีหูแว่ว ประสาทหลอน กระทาสิ่งต่างๆด้วยความตกใจกลัว หรือด้วยอารมณ์ครื้นเครง
การดูแลสุขอนามัยบกพร่อง เนื่องจากมีความคิด อารมณ์ สับสน หมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่สนใจการดูแลสุขอนามัยของตน ไม่สนใจการรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ ทาให้ร่างกายสูญเสียหน้าที่ มีผลให้อ่อนเพลีย เกิดภาวะการติดเชื้อได้ง่าย
การวางแผนการพยาบาล
ระยะสั้น
ความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการทำร้ายตนเองขณะมีอาการ
การป้องกันภาวะที่มีพฤติกรรมรุนแรง
การดูแลด้านสรีรวิทยา
การดูแลเรื่องกระบวนการคิด
ระยะยาว
ด้านสัมพันธภาพ : ให้ระบายความเครียด ความขัดแย้ง และปัญหา เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา สอนและให้คาปรึกษาในการแก้ไขและป้องกันปัญหาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม สร้างเสริมพฤติกรรมการเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง
การป้องกันการกลับเป็นซ้า:ให้ความรู้ จัดกระบวนการให้คาปรึกษา สร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและกลุ่มของผู้ป่วย สนับสนุนการใช้แหล่งบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชอย่างเหมาะสม
การปฏิบัติการพยาบาล
การดูแลความปลอดภัย
ใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ใช้กระบวนการให้คาปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
พัฒนาทักษะในการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและจิตเวช
ใช้เทคนิคการสอน การปรับตัว และเทคนิคการดาเนินชีวิตที่เหมาะสม
การประเมินผล
ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากอาการต่างๆหรือไม่ เช่น เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ขาดอาหารและน้าดื่ม รวมทั้งการบาบัดด้วยยา
ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการกระทำของตนเอง
อาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย สับสน ในผู้ป่วยลดน้อยลง
ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ นอนหลับพักผ่อนได้
อาการหูแว่ว หลงผิด ประสาทหลอนในผู้ป่วยลดลง
ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น
ผู้ป่วยและญาติมีสัมพันธภาพดีต่อกัน
ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ ไม่กลับเป็นซ้ำ
ครอบครัวผู้ป่วย หรือญาติผู้ดูแล ให้ความร่วมมือในการดูแล และติดตามการรักษาของผู้ป่วยอย่างสม่าเสมอ