Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.8 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกต…
บทที่ 5.8 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ความหมาย
เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดในขณะนั้นๆ สามารถแบ่งเป็น 4 โรคหลักได้แก่ โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder), ภาวะเมาสาร (substance intoxication), ภาวะถอนสาร (substance withdrawal), โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด (substance induced mental disorder)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
ผู้เสพสารเสพติดจะมีการเสพสารเสพติดจนเกิดความผิดปกติของพฤติกรรม แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
ผู้เสพสารเสพติดมีรูปแบบการใช้สารที่มีปัญหาการก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตนเอง ต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ ในช่วงใดช่วงหนึ่งใน 12 เดือนที่ผ่านมา โดยอาการยังไม่เข้าได้กับลักษณะของการติดสารเสพติด (substance dependence)
- มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่
- มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
-
- มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ
การติดสาร (substance dependence)
ผู้เสพสารเสพติดมีรูปแบบการใช้สารที่มีปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตนเอง ต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
- การดื้อยา (tolerance) โดยมีลักษณะต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
-
ผลที่มาจากสารเสพติดนั้น ๆลดลงไปอย่างมาก แม้จะมีการเสพสารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่เท่าเดิม
- อาการขาดยา (withdrawal) โดยมีลักษณะต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
-
-
- มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นหรือติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
- ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆแต่ไม่สำเร็จ
- เวลาในแต่ละวันหมดไปกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ได้สารเสพติดนั้น ๆมา เพื่อการเสพสารเสพติดหรือเพื่อฟื้นจากผลของสารเสพติดนั้น ๆ
- การใช้สารเสพติดนั้น ๆมีผลทำให้กิจกรรมสำคัญๆ ในด้านสังคม อาชีพ และกิจกรรมส่วนตัวเสื่อมลง
- มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะทราบว่าสารเสพติดนั้น ๆก่อให้เกิดปัญหาทางกายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม
2) ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
มีอาการอย่างน้อย 1 อย่างที่เป็นอาการเมาของสารเสพติดนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นทันทีหรือไม่นานหลังจากใช้สารเสพติดนั้น ๆ และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิตเวชอื่น ๆ
3) ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
มีอาการอย่างน้อย 2 อย่างๆที่เกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถึง 2 ถึง 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆจากที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิตเวชอื่น ๆ
4) โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด (substance induced mental disorder) เป็นโรคทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด ซึ่งอาการและอาการแสดงจะมีแตกต่างกันไปตามสารเสพติดแต่ละชนิด
-
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
- พันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับการนำไปสู่การติดสารเสพติดของบุคคล ดังการศึกษาครอบครัวผู้ที่ติดโคเคนและผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ พบว่า พันธุกรรมมีความความสัมพันธ์กับเสพติดโคเคนและแอลกอฮอล์
- การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง
- การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิก (metabolic activity)
2) ปัจจัยทางจิต
-
- ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) กล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหากรใช้สารเสพติดจะมี superego ที่ช่างลงโทษ (harsh superego) และใช้สารนั้นเป็นหนทางที่จะลดความเครียดจากจิตไร้สำนึก (unconscious system) มีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะ oral stage (oral fixation) โดยใช้สารเสพติดช่วยลดความวิตกกังวล
- บุคลิกภาพ บุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดพฤติกรรมติดสาร
3) ปัจจัยทางสังคม
- ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด
- สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี เด็กหันไปติดเพื่อน ถูกเพื่อนชักจูง
- สังคมมีค่านิยมผิดเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด ตัวอย่างเช่น สังคมและวัฒนธรรมบางแห่งส่งเสริมให้การดื่มสุราเป็นเรื่องปกติและสังคมยอมรับ
- สังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุนิยม ชุมชนแออัดแต่อ่อนแอเพราะต่างคนต่างอยู่ มีกลุ่มอิทธิพลวางตัวอยู่เหนือกฎหมาย มักมีการแพร่ระบาดของสารเสพติดอย่างกว้างขวางและมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
การบำบัดรักษา
ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะพิจารณาจากชนิดของสารเสพติด รูปแบบ พฤติกรรมการเสพสาร ความรุนแรงของอาการทางจิต พฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อสังคม ความบกพร่องของพุทธิปัญญา และปัจจัยสนับสนุนทางสังคม
ระบบการบำบัดรักษาการเสพสารเสพติดในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ, ระบบบังคับรักษา, การต้องโทษ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ)
- ระบบบังคับรักษา หมายถึง การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องคดียาเสพติดและอยู่ระหว่างรอพิสูจน์หลักฐานเพื่อส่งดำนินคดีในชั้นศาล กรมคุมประพฤติมีหน้าที่ให้กรดูแลติดตามหรือส่งผู้ป่วยมาบำบัดตามคำสั่งศาลให้เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐ เป็นวลา 4 เดือน และติดตามต่อเนื่องอีก 1 ปี
- การต้องโทษ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ) หมายถึง การักษาผู้ป่วยที่เป็นนักโทษอยู่ในเรือนจำที่มีปัญหาเกี่ยวกับติดสารเสพติด จำเป็นต้องรักษาอยู่ในสถานบำบัดพิเศษของเรือนจำนั้น
- ระบบสมัครใจ หมายถึง การรักษาที่ผู้ป่วยสมัครใจมาขอรับการรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐโดยตรง
-
-