Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์
สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change)
ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ(disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจเกิด จากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย ทำลายล้าง และเกิดความตึงเครียดอย่าง รุนแรงต่อตัวบุคคลหรือชุมชน
ความหมาย
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อ บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคามที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 ระยะวิกฤต (crisis stage) มีความเครียด ความวิตกกังวลมากขึ้นจากการที่ตนเองใช้วิธีการจัดแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ผล
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย
รู้สึกโกรธ
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน เป็นระยะพยายามที่จะจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคาม หรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ทักษะการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉินแต่ยังคงไม่ได้ผล
รู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและหากมีภาวะซึมเศร้ามีมากอาจถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายในที่สุด
รู้สึกลังเล
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerablestate) ได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกังวลมากขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีกต่อไป นับเป็นจุดแตกหัก ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกำหนด ตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
เหตุการณ์วิกฤต (negativeevents) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤต สำหรับบุคคล ซึ่งเหตุการณ์วิกฤตในบุคคลหนึ่งอาจไม่เป็นปัญหาสำหรับอีกบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ต่อ เหตุการณ์นั้นว่ามีความสำคัญต่อเขาอย่างไร
การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้เกิด ความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความกังวลและความตึงเครียด ตอบสนองต่อ เหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถูกวิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้
การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อาจนำมาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า การมีลักษณะถดถอย ความสามารถในการทำหน้าที่ในเชิงสังคมลดลง
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา มีการวางแผนตั้งเป้าหมาย กระทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามจัดการ อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
สรุป
การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะวิกฤติเป็นการช่วยเหลือปัญหาในปัจจุบันขณะ (hereand now) ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 4-6 สัปดาห์ หลังบุคคลต้องประสบกับภาวะวิกฤติโดยมุ่งเน้นให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถปรับตัวหรือจัดการกับเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและกลับคืนสู่ภาวะสมดุลได้โดยเร็ว ด้วยการส่งเสริมให้เขามีการรับรู้เหตุการณ์ตามความเป็นจริง การให้ได้รับการช่วยเหลือจากแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอ และมีกลวิธีหรือกลไกทางจิตในการเผชิญปัญหาที่ความเหมาะสม ดังนั้นพยาบาลจึงควรต้องรู้และเข้าใจถึงภาวะวิกฤติของ บุคคล เพื่อจะสามารถวินิจฉัยปัญหาและบำบัดช่วยเหลือร่วมกับทีมสหวิชาชีพให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤติอย่างถูกต้อง เหมาะสมรวดเร็วทันท่วงที
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การประเมินภาวะสุขภาพ
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหา
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนอง
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม เพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คำถามปลายเปิด
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต ที่เกิดขึ้นตาม ความเป็นจริง
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤตด้วยการนำบุคคลที่มีภาวะวิกฤตออกมาจากสภาพแวดล้อมเดิม
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป เช่น กิจวัตรประจำวันหรือเรื่องอื่น
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการดูแลช่วยเหลือให้กำลังใจอยู่เคียงข้างเป็นเพื่อน คอยรับฟัง แสดงความเข้าใจ ยอมรับในตัวเขาหรือจัดให้มีญาติหรือบุคคลคอยดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
การประเมินผลการพยาบาล
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียดหรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีอาการและอาการแสตงทางกายที่เป็นผลมาจากสถานการณ์วิกฤติของชีวิต ลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถบอกถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ตาม ความจำเป็นและเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต