Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม (Part 2) - Coggle Diagram
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม (Part 2)
ภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ความหมาย
การสูญเสีย (loss) เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
ภาวะเศร้าโศก (grief) เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ประเภท
ภาวะสูญเสียสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท
1) การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object) คือ การสูญเสียสิ่งของต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย เช่น ทรัพย์สินเงินทอง
2) การสูญเสียตามช่วงวัย (maturational loss) เช่น เด็กที่ต้องหย่านมแม่ การต้องออกจากโรงเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา
3) การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์(loss of body image or some aspect of self) เป็นการสูญเสียด้านร่างกายหรือจิตสังคม เช่น การสูญเสียอวัยวะในร่างกาย
4) การสูญเสียความรักหรือบุคคลสำคัญในชีวิต(loss of a love or a significant other) เช่น การตายของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส บุตร เพื่อนสนิท
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness) เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติ รับรู้มากขึ้นและตระหนักรู้ได้ถึงการสูญเสียอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน 2 – 4 เดือนโดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 6 เดือนภายหลังจากมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ระยะพักฟื้น (restitution) เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เริ่มยอมรับความจริง การหมกมุ่นคิดถึงสิ่งที่สูญเสียน้อยลง
ระยะช็อค (shock and disbelief) เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อ ปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมีนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห
ลักษณะอาการและอาการแสดง
2 ประเภท
กระบวนการเศร้าโศกที่ปกติในรายที่ปรับตัวได้
เกิดเป็นความเศร้าโศกที่ผิดปกติในกรณีที่ไม่สามารถปรับตัวได้
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief)
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก
แสดงออกด้วยการเสียใจ การร้องไห้ รับประทานอาหารน้อยลง นอนไม่หลับ คิดถึงบุคคลที่สูญเสีย หรือมีความโกรธกล่าวโทษตำหนิบุคคลใกล้ชิด ผู้ช่วยเหลือ หรือแม้แต่กล่าวโทษตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพได้
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย หลังจากที่บุคคลผ่านช่วงวิกฤตในระยะเฉียบพลันแล้ว
อาการแสดงทางกาย
มีความรู้สึกหายใจขัด ลำคอตีบตัน หมดแรง อ่อนเพลีย ตัวชา หน้ามืด คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน แบบแผนการรับประทานอาหารและการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงไป
อาการแสดงทางจิตใจ
หดหู่ ว้าเหว่ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย และมักแยกตัว ไม่ต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่ยอมรับความจริงเป็นครั้งคราว ละอายใจ รู้สึกผิด กล่าวโทษตนเอง ไม่กระตือรืนร้น ขาดสมาธิที่จะตั้งใจทำงาน รู้สึกไร้คุณค่า ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงมีการแปลภาพผิด หรือประสาทหลอน หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ (maladaptive grief)
chronic grief reaction เป็นปฏิกิริยาความเศร้าโศกเรื้อรัง
มีภาวะเศร้าโศก อยู่เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีท่าทีว่าความรู้สึกน้ันจะลดลง ความคิด หมกมุ่นเกี่ยวกับ ความทรงจำเก่า ๆ ไม่สามารถขจัดความรู้สึกหม่น หมองเสียใจจากการสูญเสียไปได้เป็นเวลาหลายปี
delayed grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่ล่าช้า
ไม่สามารถแสดงความเศร้าโศกออกมาได้ ทำให้อาการเศร้าโศก อาจ
รุนแรงมากถ้าเกิดการกระตุ้น จากการสูญเสียในคราวต่อมาบุคคลพวกนี้มักใช้กลไกทางจิตชนิดปฏิเสธความจริง grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่เกินจริง
การเศร้าโศกได้นานเกินกว่า 1 ปี
แยกตัว และขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ
ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ไม่อยากทำอะไร แม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบ
ไม่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต รู้สึกหมดหวัง และสิ้นหวังในชีวิต
มีภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย
การพยาบาล
1) การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบที่ใช้จัดการการสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมผู้ป่วยเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็นภาวะเศร้าโศรกแบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล และจากนั้นค่อย ๆ เริ่มจากการพูดคุยกับบุคคลที่ผู้ป่วยสนิทและไว้วางใจ
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียนั้น คอยเป็นกำลังใจ
ใช้เทคนิคการสื่อสาร
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้อารมณ์เศร้าโศกลดลงได
อยู่เป็นเพื่อนและเป็นกำลังใจผู้ป่วย ส่งเสริมให้เขามองเห็นคุณค่าในตนเองไปจนถึงกระตุ้นสัญชาตญาณของการมีชีวิตอยู่กระตุ้นส่งเสริมให้มีความหวัง และสร้างเป้าหมายของชีวิต
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลง สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเองถึงระดับความรุนแรงของภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่
ผู้ป่วยสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิต และปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้เหมาะสมได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญหน้าปัญหาที่เหมาะสมมากขึ้น
บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความโกรธ (anger) เป็นอารมณ์ที่ต่อเนื่องกันจากความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไปจนถึงความรู้สึกไม่พอใจที่รุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย ถูกทำให้ผิดหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของความความโกรธ
ด้านร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) จะได้รับการกระตุ้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง ระดับสารอีพิเนฟริน (epinephrine), นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ปวดศีรษะแบบไมแกรน
ด้านจิตใจและอารมณ์
เกิดความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า และศักดิ์ศรีในตนเอง คับข้องใจ วิตกกังวล หากบุคคลเก็บกดความรู้สึกเหล่านี้ที่เกิดจากความโกรธไว้นาน ๆ โดยไม่มีการระบายออกอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เกิดความแปรปรวนของพฤติกรรมตามมา
ความไม่เป็นมิตร (hostility)
ความก้าวร้าว (aggression)
การกระทำที่รุนแรง (violence)
แยกตัว (withdrawal)
ซึมเศร้า (depression)
สาเหตุการเกิดของความความโกรธ
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
สารสื่อประสารในสมอง เช่น สารซีโรโทนิน (serotonin) สารโดปามีน (dopamine) สารอีพิฟริน (epinephrine) และนอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) อยู่ในระดับผิดปกติ
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือการเจ็บป่วยทั้งแบบฉับพลัน
ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory)
เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู หรือบุคคลใกล้ชิดได้
การพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธ
การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง และผู้อื่นเมื่อบุคคลมีอารมณ์โกรธ โดยการสังเกตจากลักษณะคำพูด และพฤติกรรม
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ เช่น ความดันโลหิตสูง อัตราหัวใจเต้นเร็ว หน้าแดง มือกำแน่น ตัวแข็งแกร่ง น้ำเสียงเปลี่ยน
ประเมินการใช้กลไกทางจิต ที่อาจจะเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทนของผู้ป่วยแต่ละคน รวมทั้งระดับของการแสดงอารมณ์โกรธต่อสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดความโกรธ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกายที่มีความเชื่อมโยงจากอารมณ์โกรธ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ หรือพฤติกรรมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธ และให้ผู้ป่วยเชื่อมโยงถึงผลที่ตามมาของอารมณ์โกรธที่มาจากพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยที่ผ่านมาทั้งทางบวกและทางลบ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตนเมื่อความโกรธของผู้ป่วยลดลง
จัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมนันทนาการบำบัด ดนตรีบำบัด กลุ่มวาดภาพเพื่อระบายอารมณ์โกรธออกไป
ส่งเสริมและฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์ เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธลดลงและยอมรับว่ามีวิธีการระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์กว่าที่ผู้ป่วยเคยใช้มาก่อน
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารเมื่อมีอารมณ์โกรธ และเชื่อมโยงถึงผลที่ตามมาจากการสื่อสารที่เหมาะสมแบบใหม่อาจจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด เพื่อฝึกทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การสื่อสาร และการแสดงออกอย่างเหมาะสม
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยมีวิธีการระบายความรู้สึกโกรธที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยไม่ใช้วิธีการที่รุนแรงในการเผชิญความโกรธ
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธลดลง