Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 (3.1) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความวิตกกังวลและค…
บทที่ 3 (3.1)
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความหมาย
ความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้ ไม่แใจ ซึ่งบอกไม่ได้ชัดเจน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและพฤติกรรม
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการสะอีก หายใจเร็ว หายใจลำบาก
ระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการกลืนลำบาก ปากแห้ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่นความดันโลหิตสูง หน้าแดง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท จะมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มือสั่น
2) การเบลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
รู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า สับสน กระวนกระวาย ตกใจง่าย หงุดหงิด เจ้ากี้เจ้าการ โกรธง่าย ก้าวร้าว เศร้าเสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย เมื่อเกิดเรื่องเพียงเล็กน้อย สงสัยบ่อย ซักถามมากขึ้น
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่าช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินไป พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
4) การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา
ความคิด ความจำลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อยมีสมาธิ การพูดติดขัด เปลี่ยนเรื่องพูดบ่อยหรือไม่พูดเลย การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทำซ้ำๆ
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
1) พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out behavior)
2) พฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย (paralysis and retreating behavior)
3) มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing)
4) มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior)
จำแนกความเครียดได้เป็น 2 ชนิดได้เก่
1) ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที่ โดยมีกรหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ความครียดฉับพลันมักเกิดจาก เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ อันตราย
2) ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น ซึ่งบุคคลมักมีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ระดับของความเครียด แบ่งเป็น 4 ระดับ
1) ความเครียดระดับต่ำ (mild stress)
เป็นความเครียดในระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต เกิดขึ้นไดในชีวิตประจำวันและสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่างได้อย่างเหมาะสม (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23 คะแนน)
2) ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
เป็นความเครียดในระดับปกติเกิดขี้นได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด อาจรู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวแต่ไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน สามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำงานอดิเรก หรือพูดคุยระบายความไม่สบายใจกับบุคคลที่ไว้วางใจ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 24 - 41 คะแนน)
3) ความเครียดระดับสูง (high stress)
เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง สิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ใขจัดการปัญหานั้นไม่ได้ รู้สึกขัดแย้ง ปรับความรู้สึกด้วยความลำบากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 42 - 61 คะแนน)
4) ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress)
เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกำลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต เช่น เจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรังมีความพิการ สูญเสียคนรัก มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป)
ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor) และบุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัย หากบุคคลมีความครียดระดับสูงและสะสมอยู่นาน ๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม
3) การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม
เมื่อมีความเครียดสะสมนานๆอาจก่อให้เกิดโรคได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคปวดศีรษะไมเกน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองโรค โรคหัวใจ โรคติดสุรา โรดหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลงเป็นหวัดง่าย โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า และอาจฆ่าตัวตายได้ในที่สุด เป็นต้น
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
1) การตอบสนองด้านร่างกาย เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้น ร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อตอบสนอง (general adaptation syndrome) หรือตอบสนองเฉพาะที่ (local adaptation syndrome)
2 more items...
ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ เป็นต้น
วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม ไม่มีควมคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ร้าย แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ หรือไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นต้น
มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทำอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน กัดฟัน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือย็น แน่นจุกท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก เป็นตัน
สาเหตุของบุคคลที่มีความเครียด
1) สาเหตุจากภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันป็นที่รัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับรอบครัวและบุคคลอื่น ๆ การขาดเพื่อน การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิต เป็นต้น
2) สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บปวยที่เผชิญอยู่ ความพิการ หรือความผิดปติของสรีะร่างกายที่มีมาแต่กำเนิด การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการล่าช้า รวมถึงการรับรู้และการแปลความหมายที่แตกต่างกันของแต่ละคนที่มีต่อเหตุการณ์ที่เข้ามาคุกคาม ประสบการณ์ของแต่ละคนในการจัดการกับความเครียดย่อมส่งผลต่อระดับความเครียดที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไปเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล เช่น ความวิตกกังวลต่อผลการตรวจเลือด ความวิตกกังวลต่อการต้องนำเสนอรายงานต่อหน้าคนจำนวนมาก เป็นต้น
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคงปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา มีผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety) แบ่งได้เป็น 4 ระดับ
1) ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1
เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลตื่นตัว และพยายามแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมต่งๆ ได้สำเร็จ
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล บุคคลจะมีความตื่นตัวมากขึ้น พยายามควบคุมตนเองมากขึ้น และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น ยังคงใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้แต่ต้องควบคุมสมาธิมากขึ้น
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
บุคคลจะมีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลง มีความบกพร่องของการทำบทบาทหน้าที่ในสังคม
4) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
เมื่อความวิตกกังวลที่มีไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อาจถึงแก่ความตายได้
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
1) สาเหตุทางด้านชีวภาพ
2) สาเหตุทางด้านจิตสังคม
3) สาเหตุทางด้านสังคม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เชื่อว่าความวิตกกังวลเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลไม่ดี ในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตเป็นสัมพันธ์ภาพระหว่างแม่กับลูก การยอมรับ หรือการปฏิเสธของแม่ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาระดับความมีคุณค่าในตนเอง (self-esteem) ของบุคคล ซึ่งจะมีการพัฒนามาในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) แนวคิดของฟรอยด์ ได้อธิบายความขัดแย้งกันของ id และ superego ในระดับจิตใต้สำนึก (unconscious) ซึ่ง ego ของบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับความขัดแย้งนั้นได้ทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวล
แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและเป็นสาเหตุให้บุคคลใช้กลไกการป้องกันตนเอง (defense mechanism) เพื่อลดความวิตกกังวลนั่นเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) อธิบายถึงความวิตกกังวลว่า เป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งอันตราย (noxious stimulus) ของมนุษย์ที่มีการเรียนรู้และปรับตัวตามสิ่งที่เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อที่จะได้ปรับตัวได้หมาะสมกับสถานการณ์และเรียนรู้วิธีการเผชิญกับสิ่งที่เข้ามาคุกคามว่าจะสู้หรือจะหนี และหากวิธีการเผชิญนั้นช่วยทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย บุคคลก็จะเลือกใช้วิธีการเชิญแบบนั้นซ้ำๆ
ด้านกายภาพของระบบประสาท (neuroanatomical factors) บุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพของระบบประสทบกพร่องมาแต่กำเนิดส่งผลให้การสื่อสารทางชีวเคมีบางอย่างแตกต่างกับผู้อื่นจึงกระตุ้นให้ตื่นตระหนกได้ง่าย
ด้านชีวเคมี (biochemical factors) บุคคลที่ไวต่อสารบางอย่าง เช่น caffeine lactate ที่มีในเลือดสูงจะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ได้ง่าย ความผิดปกติของ thyroid hormone อาจเกิดได้จาก hyperthyroidism หรือ thyrotoxicosis หรืออาจเป็นผลจากยาบางอย่าง เช่น L-dopa, corticosteroid ในปริมาณสูงและสารเสพติดพวก LSD เป็นต้น
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors) พบได้ในผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวยเรื้อรัง ผู้ปวยโรคหัวใจแบบเฉียบพลันหรือการเจ็บป่วยรุนแรงอื่น ๆ
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
3) กิจกรรมการพยาบาล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ปวยรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถแยกแยะและประเมินระดับความวิตกกังวลของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกถึงความรู้สึกวิตกกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
ผู้ป่วยสามารถอธิบายเชื่อมโยงผลของควมวิตกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขความวิตกกังวลได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อลดความวิตกให้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจความทุกข์ใจและปัญหาต่าง ๆ ออกมาโดยที่พยาบาลรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยมีท่าทีที่สงบ เข้าใจ และยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยไม่กล่าวตำหนิผู้ป่วย
ใช้คำพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา น้ำเสียงที่พูดต้องชัดจน นุ่มนวล ในการการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย แม้ผู้ป้วยจะสื่อสารได้ไม่ชัดเจนก็ตาม เพราะผู้ป่วยอยู่ในภาวะสับสน และไม่มีสมาธิ
ให้กำลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ เพื่อผู้ป่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจที่มีคนอยู่เป็นเพื่อน การอยู่คนเดียวเพียงลำพังจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดหวั่นโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้งมากขึ้น
นำผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งผู้ปวยไม่อาจทนหรือควบคุมตนเองได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย เช่น ผู้คนที่พลุกพล่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของ เสียงวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
จะมุ่งเน้นการลดความวิตกกังวลให้แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความวิตกกัวลระดับรุนแรงสุดขีด ระดับรุนแรง หรือระดับปานกลาง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารณผชิญความวิตกังวลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น สามารถที่จะควบคุมแก้ไขปัญหาหรือเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม โดยกำหนด
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีลความวิตกกังวลที่สร้างสรรค์ เพื่อลดความถี่ของการเกิดความวิตกกังวล
การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เมื่อมีกังวลเกิดขึ้น
การประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล
การประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการผชิญกับภาวะวิตกกังวล จากการซักประวัติจากผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมในขณะนั้น
ประเมินสมรรถภาพและองค์ประกอบในด้านอื่น ๆของผู้ป่วย เช่น รูปแบบในการแก้ปัญหาในอดีต การศึกษา ฐานะทางเศษฐกิจ แหล่งสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น