Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.1 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 5.1
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมายของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ําหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง
มีความเข้มงวดกับการพยายามลดหรือควบคุมน้ําหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกําลังกาย และทําให้ตนอาเจียนออกหลังจากรับประทานอาหาร
ความผิดปกติของการกิน (eating disorder) ที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า(anorexia nervosa) และบูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa)
เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ําหนักตัวปกติ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ําหนักตัวของตนเองตลอดเวลา มuความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ําหนักตัวหรือกลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ําหนักตัวน้อย
เป็นความผิดปกติทางจิตเวชเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด ซึ่งอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่าสามารถจําแนกเป็น 2 แบบ
แบบที่1 แบบจํากัด (restricting type) คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมากและไม่มีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
แบบที่2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) คือ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
โดยอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่าจะมีลักษณะอาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้
• ผู้ป่วยปฏิเสธการรับประทานอาหารเพื่อคงไว้ซึ่งน้ําหนักตัวในระดับปกติ เพราะกลัวน้ําหนักที่จะเพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร หรือมีความรู้สึกกังวลและกลัวว่าตนเองจะอ้วนมากเกินไป แม้ว่าตนเองจะมีน้ําหนักตัวน้อย
• ผู้ป่วยจะให้คุณค่ากับตนเองในการประสบความสําเร็จในการลดน้ําหนักตัวและรูปร่าง ในผู้ป่วยอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa)นี้จะมีความผิดปกติในการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับน้ําหนักตัวหรือรูปร่างของตน
• ผู้ป่วยมักมีความคิดเห็นกี่ยวกับผู้อื่นผิดปกติไปเพราะมักคิดว่าตนเองปกติแต่ผู้อื่นผิดปกติ
• ผู้ป่วยมักมีการขาดประจําเดือนร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิด
ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ําตาล
การบริโภคอาหารแต่ละครั้งจะบริโภคในปริมาณมากในเวลารวดเร็ว เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิดไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาระบาย หรือออกกําลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง
ก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากผิดปกติผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น รู้สึก
เหงา เบื่อ หรือมีปัญหาด้านสัมพันธภาพมาก่อน
โดยลักษณะอาการและอาการแสดงของบูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)ดังนี้
• มีการรับประทานอย่างมากป็นระยะๆ ซึ่งช่วงดังล่าวอาจมีลักษณะ 2 ประการ
ลักษณะที่1 มีช่วงของการรับประทานที่รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆ มากกว่าคนทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลารับประทานอาหารน้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ในระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้รับประทานอาหาร ทําให้ไม่สามารถหยุด พฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเองได้
ผู้ป่วยจะพยายามปกปิดอาการที่ตนเป็น โดยอาจรับประทานในที่ลับตาคน หรือสํารองอาหารไว้ในรถหรือเลือกการรับประทานอาหารประเภทอาหารจานด่วน (fast food)โดยพบว่าผู้ป่วยอาจขับรถไปรับประทานอาหารจานด่วน (fast food) จํานวน 6 -7 ร้านภายในระยะเวลา 1 – 2 ชั่วโมง
ลักษณะที่ 2 มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น
• แสดงออกทางพฤติกรรมชดเชยในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ ในการพยายามป้องกันน้ําหนักไม่ให้เพิ่มขึ้น
• มีทั้งการรับประทานที่มากกว่าปกติ และพฤติกรรมชดเชยที่ไม่หมาะสม เกิดขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 3 เดือน
• มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับเรื่องของน้ําหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก
• ความผิดปกติดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในช่วงของ anorexia nervosa ที่บุคคลมีการปฏิเสธการมีน้ําหนักตัวปกติ
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
• ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านพันธุกรรมส่งผลทําให้บุคคลมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
• ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารทั้ง 2 กลุ่ม มีการตอบสนองกับการรักษด้วยยาต้านเศร้า(antidepressant drugs) ซึ่งยาไม่ได้ชวยให้ความผิดปกติของการรับประทานอาหารหาย แต่จะช่วยลดอาการแสดงของโรคลง
จากการศึกษาพบว่าความผิดปกติของการรับประทานอาหารกับโรคซึมเศร้า (depression disorder) มีความสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง(neurotransmitters)มีความส้มพันธ์กับความผิดปกติของระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
• พัฒนาการของจิตใจ เนื่องจากโรคนี้มักพบมากในกลุ่มวัยรุ่น จึงมีการสันนิษฐานว่าการพัฒนาการของจิตใจน่าจะเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดความผิดปกติของการการรับประทานอาหาร
ซิกมันด์ฟรอยด์(Sigmund Freud) ผู้เขียนทถษฎีจิตวิเคราะห์(psychoanalytic theories) อธิบายว่า บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า เกิดจากความพยายามยับยั้งแรงขับทางเพศในระดับจิตใต้สํานึกของตนเองที่เพิ่มขึ้นในระยะวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะปาก (oral stage) วัยรุ่นจึงให้ความหมายความพึงพอใจจากการรับประทานอาหารเหมือนกับว่าเป็นความพึงพอใจทางเพศ
• บุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานลักษณะเจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสําเร็จสูง ทําทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist) และบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ค่อยแสดงอารมณ์
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะหันเหความสนใจของการมีคุณค่าในตนเองมาที่น้ําหนักและรูปร่างแทน มีการมองภาพตนเองบิดเบือนมองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไปทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วน ปฏิเสธว่าไม่หิว แยกแยะความหิวไม่ได้
• ลักษณะการเลี้ยงดู พบว่า มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป(overprotection) เจ้าระเบียบและกลัวการพลัดพรากมากผิดปกติ หรือครอบครัวที่บิดามีลักษณะเข้มงวดในกฎระเบียบมาก
บุคคลนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสิ่งใดได้เลยรวมทั้งการรับประทานอาหาร อาจแสดงอาการเก็บกดด้านจิตใจจึงใช้วิธีการควบคุมน้ําหนักและการรับประทานอาหารอย่างจริงจัง เพื่อแสดงว่าตนเองมีความสามารถในการควบคุมบางอย่างได้ใช้การปฏิเสธอาหารเพื่อแสดงอํานาจต่อต้านความต้องการของพ่อแม่
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
• สัมพันธภาพในครอบครัว บุคคลที่มีลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ค่อยดีมีความขัดแยังเกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือครอบครัวที่เกิดการหย่าร้างจากงานวิจัยพบว่าบุคคลหล่นี้จะมีความเสี่ยงที่จะทําให้เกิดควาผิดปกติของของการรับประทานอาหารได้สูงกว่าครอบครัวที่สัมพันธภาพในครอบครัวดี
• สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจดี ทําให้บุคคลต้องใช้ความสวยงามและรูปร่างของตนเองในการประกอบอาชีพ เช่น ดารา, นักแสดง,นางแบบ และนายแบบ เป็นต้น
การบําบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การบําบัดรักษาทางกาย
อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า มากกว่าร้อยละ 15 จะมีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์มาตราฐาน จึงต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอไม่ว่าจะทางปาก
ทางสายให้อหาร หรือทางหลอดเลือดดํา โดยระยะแรกจะเริ่มให้สารอาหารประมาณ 1,000-1,600 kcal/day และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 3,000-4,000 kcal/day เป้าหมายของการเพิ่มน้ําหนักประมาณ 1-1.4 กิโลกรัม/สัปดาห์ในกรณีที่รับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และ 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ในกรณีที่รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก
นอกจากการขาดสารอาหารปัญหาสําคัญอีกอย่าง คือ การขาดความสมดุลของสารน้ําโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปแตสซียมที่มีระดับต่ํากว่าปกติ ซึ่งผลข้างเคียงนี้จะสัมพันธ์กับพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
2) การบําบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน(fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline)และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
• ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน(risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
• ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrolacetate ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซียเนอร์โวซ่า
3) จิตบําบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
เป็นการรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
4) การบําบัดความคิด (cognitive therapy)
การบําบัดด้านความคิดจึงมีเป้าหมาย เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่องรูปร่างและน้ําหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง ช่วยให้รับรู้สิ่งเร้าจากภายในร่างกาย
5) พฤติกรรมบําบัด (behavioral therapy)
6) ครอบครัวบําบัด (family therapy)
เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบําบัด คือ พยายามให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
7) กลุ่มบําบัด (group therapy)
การทํากลุ่มบําบัดเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารรู้สึกปลอดภัยและรู้สึว่าตนเองไม่ได้แตกต่างไปจากบุคคลอื่น
8) โภชนาการบําบัด (nutrition therapy)
นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม
สําหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
9) อาชีวบําบัต (occupational therapy)
นักอาชีวบําบัดช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการ
รับประทานอาหาร ได้เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (laboratorytest)
1) การตรวจ CBC เพื่อประเมินความผิดปกติของเม็ดเลือด ในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารอาจพบภาวะซีด (anemia) เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก และวิตามินบี 12 ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ํา(leucopenia) เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ํา (neutropenia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ํา (thrombocytopenia)
2) การตรวจ blood chemistry test เพื่อประเมินความผิดปกติของสารอิเล็กโดรไลท์(electrolyte) ซึ่งในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารอาจพบภาวะโซเดียมต่ํากว่าปกติ(hyponatremia) ภาวะโปแทสเซียมต่ํากว่าปกติ (hypokalemia)ประเมินระดับน้ําตาลในกระแสเลือด อาจพบระดับน้ําตาลในกระแสเลือดต่ํา(hypoglycemia) และการทํางานของไตอาจพบระดับยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือดสูงกว่ปกติ (blood urea nitrogen)
3) การตรวจต่อมไร้ท่อ เพื่อประเมินระดับโกรทฮอร์โมน (GH) ในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารอาจพบระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดต่ํา(hypoestrogenic) ฮอร์โมนฟอลลิเคิล สติมูเลติง(FSH) และฮอรโมนลูทิไนชิง (LH) ลดลงอย่างมาก ทําให้มีภาวะขาดประจําเดือน (amenorrhea)