Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
1) การจำแนกผู้ป่วย (triage) เป็นกระบวนการประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพแบบองค์รวมอย่างรวดเร็ว จากการสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติ สัมภาษณ์อาการสำคัญ สาเหตุที่นำมาหน่วยฉุกเฉิน ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีต ประวัติทางกฎหมาย และปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการในครั้งนี้
แบ่งระดับความรุนแรงของปัญหาได้ 5 ระดับ คือ
ภาวะที่ต้องได้รับการบำบัดดูแลทันทีทันใด (immediate)
ภาวะฉุกเฉิน (emergency)
ภาวะรีบด่วน (urgent)
ภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent)
ภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent)
2) ให้การพยาบาลบำบัดดูแลระยะแรก (initial intervention) ตามความรุนแรงของปัญหาที่ประเมินได้เพื่อจัดการให้ผู้ป่วยปลอดภัยและอาการสงบลง (stabilize patient) โดยการช่วยเหลือด้านร่างกายให้พันขีดอันตรายก่อนเป็นอันดับแรกในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางกายร่วมด้วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate)
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะรีบด่วน (urgent) ต้องให้การดูแลภายใน 30 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency) ต้องให้การดูแลภายใน 10 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent) ให้การดูแลภายใน 60 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) ให้การดูแลภายใน 120 นาที
3) การประเมินและบำบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention) เมื่อผู้ป่วยอาการสงบ พ้นภาวะที่จะเป็นอันตรายต่อตนองและผู้อื่น พ้นขีดอันตราย ควบคุมตนเองได้มากขึ้น และให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา
การสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคทางกายที่มีปัญหาพฤติกรรมออกจากโรคทางจิตเวช ควรสัมภาษณ์ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิตทั้งในปัจจุบันและอดีต
การตรวจร่างกายซ้ำ โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมที่ผิดปกติในปัจจุบัน การตรวจสัญญาณชีพ การตรวจระบบประสาท (neurological examination)
การตรวจสภาพจิตทั่วไป จากการสังเกตและสื่อสารกับผู้ป่วยรวมทั้งการบำบัดในระยะฉุกเฉินและเร่งด่วนที่ผ่านมา ทำให้ทราบความคิด พฤติกรรม อารมณ์และความสามารถในการสื่อสารของผู้ป่วยพอสมควร
การวินิจฉัยและการวางแผนการบำบัด ผลจากการตรวจร่างกาย รวมทั้งการซักประวัติต่าง ๆ ช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้
4) การจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบำบัดอื่น (discharge or refer patient) เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและมีการประเมินซ้ำแล้ว อาจพิจารณาให้ผู้ปวยกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษาที่หน่วยอื่น
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior) เป็นพฤติกรรมในความพยายามหรือลงมือกระทำการทำร้าย ทำลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ตนเองผู้อืนและสิ่งของ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคคลหรือสิ่งของที่ถูกกระทำได้รับความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเสียหาย
การรู้สติ (level of consciousness): อาจมีภาวะสับสนมีการรับรู้เวลา สถานที่ บุคคล ไม่ถูกต้อง (disorientation) หรือมีอาการหลงผิดระแวงว่าถูกปองร้าย มีความคิดทำร้าย ฆ่า หรือแก้แค้นผู้อื่น
อารมณ์: แสดงความโกรธอย่างรุนแรง ขาดการควบคุมอามณ์ เช่น ใช้คำพูดรุนแรง เสียงดัง หน้าแดง ฉุนเฉียว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือแสดงอารมณ์ไม่สอคล้องกับเหตุการณ์
ลักษณะทั่วไป: มีท่าทางตึงเครียด หน้านิ่งคิ้วขมวด ตาจ้องขมึงไปรอบ ๆ เพื่อหาบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายการทำร้าย ทำลาย มีการคลื่อนไหวเดินไปมาตลอดเหมือนมีความระวนกระวาย ขู่ว่าจะฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่น ทำลาย หรือมีท่าทางหวาดกลัว
เคยมีประวัติมีพฤติกรรมรุนแรง: ทะเลาะวิวาทรุนแรงกับผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินมาไม่นาน หรือมีร่องรอยของการทะเลาะวิวาท เช่น มีรอยแผล, มีรอยซ้ำ
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผนล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี : : หรือเป็นการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเองที่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ หรือเป็นการกระทำที่เป็นผลมาจากอาการโรคจิต (psychosis) เช่น ประสาทหลอน เป็นต้น
suicidal intention ความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย
suicide committed suicide การฆ่าตัวตายสำเร็จ
suicidal ideation ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของ suicidal intention
suicidal attempt การพยายามฆ่าตัวตาย
self-injurious or self-harm behavior พฤติกรรมที่ตั้งใจทำร้ายตนเองให้บาดเจ็บ เจ็บปวดหรือส่งผลทำลายร่างกายโดยไม่มี suicidal intention
ลักษณะทั่วไป: สีหน้าเศร้าหมอง ร้องไห้ ไม่สบตา ตามองพื้น คอตก ไหล่ห่อ ไม่ค่อยสนใจดูแลสุขอานามัยตนเอง คิดช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้า ตอบคำถามแบบถามคำตอบคำ
ลักษณะอารมณ์: คนที่คิดฆ่าตัวตายมีหลายอารมณ์ อาจเศร้า โกรธ คับแค้นใจ แต่ส่วนมากจะตกอยู่ในภาวะเศร้ารู้สึกทุกข์ทรมานใจ หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อชีวิต
ความคิด: อาจโทษตนเองคิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดีไม่มีคุณค่า เป็นภาระกับคนอื่น การมีชีวิตอยู่ต่อไปไร้ความหมาย ไม่มีใครต้องการ คิดว่าตนเองมีความผิดบาป ไม่อยากทุกข์ทรมานต่อไปและวางแผนฆ่าตัวตาย
การรับรู้: ผู้มีอาการทางจิตอาจมีอาการประสาทหลอนสั่งให้ทำร้ายตนเอง (command hallucinations for self-harm)
พฤติกรรม: คนที่คิดฆ่าตัวตายอาจจะมีการพยายามทำร้ายตนเองหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเองก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเคยพยายามทำร้ายตนเอง ส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมีการแสดงเจตนาว่าจะฆ่าตัวตายด้วยคำพูด เนื่องจากบางครั้งการพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองนั้นยังอาจมีความลังเลใจ ระหว่างการอยากตายและการมีชีวิตอยู่
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium) เป็นกลุ่มอาการทางสมองเฉียบพลัน (acute brain syndrome) ผู้ป่วยจะเสียการรู้คิด (cognition) ทั้งหมดและมีอาการทาง neuropsychiatric syndrome ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน
มีประวัติใช้สารเสพติด
มีประวัติโรคทางกายรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับวาย ไตวาย หรืออาการป่วยทางกายนำ เช่น มีไข้ ปวดศีษะ ชีพจรเร็ว ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
มีประสาทหลอนทางตาหรือทางผิหนังมากกว่าอาการประสาทหลอนทางหู
อาการเริ่มต้นเป็นอย่างเฉียบพลัน
มีประวัติอาการทาระบบประสาท หมดสติ ชัก อุบัติเหตุทางสมอง
อายุที่เริ่มมีความผิดปกติทางจิตครั้งแรกมากกว่า 45 ปี
การสูญเสียความชำนาญในการจัตวางภาพ (constructional apraxia) เช่น การไม่สามารถวาดรูปหน้าปัดนาฬิกาได้อย่างถูกต้อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มีการหายใจเร็วอย่างมาก ส่งผลให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ (hypocapnia) และเกิดภาวะด่างจากการหายใจ (respiratoryalkalosis) ส่งผลให้เกิดอาการชารอบปากมือ เท้า เกร็ง กระสับกระส่าย ทายใจไม่อิ่ม วิงเวียน อาจหมดสติได้
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม วิงเวียน ใจสั่น นิ้วมือจีบยืดเกร็ง (carpopedal spasm)
ชาบริเวณริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า ผู้ป่วยอาจอ่อนแรงและสุดท้ายอาจหมดสติได้
การมีอาการขึ้นมาทันทีทันใด
ผู้ป่วยอาจจะบอกว่า รู้สึกเหมือนสำลัก หายใจไม่ออก (suffocation) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักจะมีความเครียดทางอารมณ์เป็นปัจจัยกระตุ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders) ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทางกายหลายอย่างร่วมด้วย อาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรง และความรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย ควบคุมตนเองไม่ได้ คิดว่าตนเองเป็นโรคร้ายแรง
ผู้ป่วยมีความกลัวอย่างรุนแรง
อาการเกิดทันทีและเป็นมากถึงระดับสูงสุดภายใน 10 นาที ร่วมกับอาการทางกายดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ ได้แก่ ใจสั่น เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวสั่น หอบ หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้แน่นท้อง เวียนศรีษะเป็นลม กลัวตาย ชาเจ็บตามผิวหนัง รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
อาจมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่างเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ได้แก่กลัวจะเป็นอีก, กลัวจะควบคุมตนเองไม่ได้, กล้วเป็นโรคห้วใจหรือกลัวเสียสติ, มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขาดงาน หรือขาดโรงเรียน, อาการที่มีไม่ได้เป็นมาจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal) ที่นำผู้ป่วยเข้ามารับรักษาในแผนกฉุกเฉินที่พบบ่อยในประทศไทย ได้แก่ อาการที่เกิดจากพิษและอาการขาดสุรา แอมเฟตามีน และฝิ่น
1) สุรา (alcohol) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท
อาการพิษสุรา (alcohol intoxication) จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมหรือจิตใจขณะที่มีอาการมึนเมา
อาการขาดสุรา (alcohol withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากดื่มสุราจัดเป็นเวลานานแล้วหยุดหรือลดปริมาณการดื่มลง อาการขาดสุราจะเกิดภายใน 4 - 12 ชั่วโมง แต่บางรายอาจมีอาการหล้งหยุด 2-3 วัน อาการมักเป็นรุนแรงในวันที่ 2
2) แอมเฟตามีน (amphetamine) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท (stimulants)
อาการพิษของแอมเฟตามีน (amphetamine intoxication) อาการสำคัญ คือ รู้สึกสบายผิดปกติ ร่วมกับอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน จนถึงขั้นความรู้สึกตื่นตัวสูง กระวนกระวายหงุดหงิด โกรธง่าย การตัดสินใจเสีย เกิดปัญหาทะเละกับคนอื่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
อาการขาดแอมเฟตามีน (amphetamine withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยขาดแอมเฟตามีนภายใน 2-3 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน หลังหยุดเสพหรือลดปริมาณลงจะเกิดอาการรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย อยากเสพยาอย่างรุนแรง
3) ฝิ่น (opioid) เป็นสารเสพติดประกอบด้วยฝื่นธรรมชาติ (มอร์ฟีน) กึ่งสังเคราะห์ (เฮโรอีน) และสารสังเคราะห์ เช่น โคเดอีน เพธิดีน
อาการพิษจากฝิ่น (opioid intoxication) อาการสำคัญ คือ อารมณ์ร่าเริงในระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นรู้สึกไม่สุขสบาย พลุ่งพล่าน กระวนกระวายหรือเชื่องช้า และมีอาการทางกาย เช่น ม่านตาหด พูดไม่ชัด สมาธิและความจำเสีย
อาการขาดฝิ่น (opioid withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยหยุดเสพหรือลดปริมาณลง ฝิ่นซึ่งมีฤทธิ์สั้นอาการขาดสารจะเกิดภายใน 6-24 ชัวโมง โดยจะเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย อยากเสพฝิ่น รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก หงุดหงิด อยากเสพยาอย่างรุนแรง
1.1 ความหมายของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
จิตเวชฉุกเฉิน (emergency psychiatry) เป็นภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น
2.1 สาเหตุของของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากโรคทางจิต (functional causes) เช่น โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง โรคไบโพล่าร์ที่มีอาการแมเนียจนควบคุมตนเองไม่ได้ โรคจิตเนื่องจากภาวะเครียด (brief reactive psychosis)
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางกาย (organic causes) เช่น พิษจากยา สารเสพติด อาการขาดสารเสพติด โรคลมชัก หรือสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงจากการมีพยาธิสภาพทางสมองทำให้ขาดการควบคุมอารมณ์
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดพฤติกรรม
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorder) เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตเช่น ปัญหาเรื่องความรักและชีวิตสมรส มีปัญหาโรคเรื้อรัง การงาน เศรษฐกิจ แล้วแก้ไขไม่ได้
โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการเศร้ารุนแรงมีอาการไม่สบายต่าง ๆ อย่างมากจะมีความรู้สึกทรมานคิดอยากตาย
โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงจึงเกิดความรู้สึกไร้ค่า เบื่อหน่ายชีวิต สิ้นหวัง หรือพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในโรคจิตเภทที่เกิดจากการมีอารมณ์ซึมเศร้า
ติดสุราหรือยาเสพติด (alcohol dependence or substance dependence) ที่มีอาการซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วยผู้ป่วยจึงมีความรู้สึกด้อยค่า (low self-esteem) คิดฆ่าตัวตายเพราะคิดว่าตนเองไร้ประโยชน์หรือรู้สึกเป็นภาระต่อครอบครัว
บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorder) เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ borderline personality disorder ซึ่งมีความคิดหรือพฤติกรรมที่แสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ มักมีปัญหาในการปรับตัว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดภาวะสับสนเพ้อคลั่ง
central nervous system disorder ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมอง ชัก ภาวะเลือตไปเลี้ยงสมองน้อยผิดปกติ
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี การเสียสมดุลของเกลือแร่หรือสมดุลกรด-ด่าง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ต่ำหรือสูงกว่าปกติ ภาวะฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำกว่าปกติ
systemic lines อาการพิษจากการดื่มสุราและสารเสพติด และอาการขาดสุราและสารเสพติด การติดเชื้อ ระบบควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ
ยาที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลั่ง เช่น antihistamine, atropine, thiazine, clozapine, tricyclic antidepressant, barbiturates, benzodiazepine
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ผู้ป่วยมักจะเริ่มตันมีการหายใจที่ผิดปกติ เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดและอารมณ์ท่วมท้น
จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการสั่น (tremor) ใจสั่น (palpitation) กังวล และเหงื่อออก (sweating)
ผู้ป่วยมักมีแนวโน้มจะเพ่งความสนใจไปที่อาการทางกายที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ทำให้เกิดภาวะ hyperventilation syndrome ขึ้น
สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (excitatory neurotransmitter) จะส่งผลให้ระบบการหายใจใช้กล้ามเนื้อส่วนอกมากกว่ากระบังลม ผลคือทำให้ลมค้างในปอดปริมาณมาก ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ในปริมาตรของการหายใจปกติ
5) อาการแพนิค (panic attack disorders) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดอาการแพนิค
พันธุกรรม พบว่า ญาติสนิทของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสีย การพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือการมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะมีอาการนี้ครั้งแรก
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกังวล (alprazolam) และยารักษาอาการซึมเศร้า (imipramine)
2.2การบำบัดรักษาของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior) การบำบัดช่วยเหลือ
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions) โดยพยาบาลต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าที่เป็นมิตร สงบ พร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่คุกคามผู้ป่วย อยู่ในระยะห่างที่พอเหมาะคืออย่างน้อยประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 ช่วงแขน
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีท่าทีที่จะต่อสู้หรือจะทำร้ายร่างกายผู้อื่น
2) การผูกมัด (physical restraints)
3) การใช้ยาควบคุมอาการ (medication)
1) การแยกหรือจำกัดบริเวณ (seclusion)
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง ภายหลังการควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แล้ว ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการทางจิตรุนแรง และต้องควบคุมอาการในเวลาเร่งด่วน (rapid method)แพทย์จะให้ antipsychotic drugในกลุ่ม high potency สำหรับฉีดเข้ากล้ม ทุก ๆ 30-60 นาที่จนกว่าจะประเมินว่าผู้ป่วยอาการสงบลง