Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคพฤติกรรมเกเร
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
1.1 ความหมายโรคพฤติกรรมเกเร
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม โดยจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ด้วยการมีพฤติกรรมกรรม ก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
อาการและอาการแสดงมักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี โดยมีอาการสำคัญ คือ มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ห
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
2.1 สาเหตุของโรคพฤติกรรมเกเร
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) น้อย พบว่าผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ามักเป็นโรคพฤติกรรมเกเรได้ง่ายกว่า
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะมีระดับของ dopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5-hydroxyindoleacetic acid) ซึ่งสัมพันธ์กับความก้าวร้าวและความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมก้าวร้าว
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
สติปัญญาในระดับต่ำและมีผลการเรียนไม่ดี
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD)
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) จะทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament)
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อน
2.2 การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
การรักษาทางกาย
การรักษาทางยา
• พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics
โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)จะรักษาโดยให้ยา lithium
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง (organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
• เด็กมีอาการหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายอารมณ์ขึ้นๆลงๆ จะรักษาโดยให้ยาพวก selective serotonin reuptake inhibitors
การรักษาทางจิต
• การให้คำปรึกษารายบุคคล
• ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม (social and learning skills)
• การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ
การรักษาทางสังคม
• การบำบัดครอบครัว
• การอบรมพ่อแม่ (parenting program)
การรักษาทางอารมณ์ เช่น การบำบัดในเรื่อง anger management หรือดนตรีบำบัดในกรณีที่เด็กมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงไม่สามารถควบคุมตนเองได้
การบำบัดทางจิตวิญญาณ เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง มีจุดมุ่งหมายหรือมีความหวังในชีวิต มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
การพยาบาลโรคพฤติกรรมเกเร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์พ่อแม่และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องควรมีการแจ้งให้เด็กทราบด้วย
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก
มีการประเมินทุกมิติทั้งทางกาย วาจา จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การรู้คิด และสังคม
ประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา
พ่อแม่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีการจัดการกับพฤติกรมที่เป็นปัญหานั้นอย่างไร
เด็กมีความวิตกกังวล ก้าวร้ว รู้สึกโกรธ และรู้สึกไม่เป็นมิตรต่อบุคคลต่างๆ มากน้อยเพียงใด
ความสามารถของเด็กในการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ
ประเมินครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับความขัดแย้งในชีวิตสมรสของพ่อแม่
ประเมินว่าเด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD)
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและ/หรือบุคคลอื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้
มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวซึ่งเป็นตัวแบบของเด็กมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ
มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจกครอบครัวมีวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบ
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับเด็กและครอบครัว
สื่อสารกับเด็กและครอบครัวให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving skills training)
สอนให้เด็กรู้จักประเมินการตอบสนองต่างๆ หลังจากที่เด็กมีความขัดแย้งกับบุคคลอื่น
ฝึกทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management)
ดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการอบรมพ่อแม่และฝึกปฏิบัติในการเลี้ยงดูลูกที่เรียกว่า parenting program
ฝึกให้พ่อแม่ตั้งความหวังกับลูกอย่างเหมาะสม
ฝึกให้พ่อแม่สามารถเข้าใจ และแปลความหมายของพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอย่างถูกต้อง
ฝึกให้พ่อแม่สามารถใช้เทคนิกในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก
ฝึกให้พ่อแม่กำหนดขอบเขตพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ยอมรับไว้อย่างชัดเจน และมีการลงโทษที่สมเหตุสมผล
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการสนับสนุนทางอารมณ์ เป็นกำลังซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
ส่งเสริมให้ภายในครอบครัวมีเสรีภาพในการแสดงออกทางอารมณ์ ไม่ควรใช้
บังคับหรือทำให้เด็กต้องเก็บกดสิ่งต่างๆ ไว้ตลอดเวลา
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เด็กสามารถสื่อสารได้ตามความต้องการอย่างเปิดเผยชัดเจนตรงไปตรงมา
ส่งเสริมดูแลให้ครอบครัวได้รับการบำบัดด้วย ครอบครัวบำบัดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ สมารถปรับตัวต่อความเครียดที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคพฤติกรรมเกเร จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีเพียงใด รวมทั้งเด็กมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ พ่อแม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
บอกและอธิบายความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1.1ความหมายเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความบกพร่องทางสติปัญญา (deficits in intellectual function) เช่น การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน ความคิดนามธรรม การตัดสินใจ
ความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive function) ส่งผลให้บุคคลมีพัฒนาการที่ไม่หมาะสม ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและรับผิดชอบต่อสังคมได้
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัวดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะของพัฒนาการ
1) มีพัฒนาการล่าซ้ำ
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม
4) มีลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่ง ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม
ความบกพร่องในการทำหน้าที่ 3 ด้านได้แก่ ความคิด (conceptual domain) สังคม (social domain) และการปฏิบัติ (practical domain) สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเป็น 4 ระดับความรุนแรง
1) บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (mild intellectual disability) ระดับ IQ 50-69
2) บกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (moderate intellectual disability) ระดับ IQ 35-49
3) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (severe intellectual disability) ระดับ IQ 20-34
4) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรงมาก (profound intellectual disability) ระดับ IQ < 20
สาเหตุ การบำบัดรักษาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
2.1 สาเหตุของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
ดาวน์ซินโดรม (down syndrome)
กลุ่มอาการฟลาจิลเอกซ์ (flaggy X syndrome)
เฟนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria)
2) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่า ในระหว่างการตั้งครรภ์ถ้ามารดามีการใช้แอลกอฮอล์ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ
ระยะคลอด พบว่า การคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กระบวนการคลอดนานผิดปกติ สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ระยะหลังคลอด พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่เกิดในวัยเด็ก เช่น โรคไอกรน โรคอีสุกอีใส โรคหัด อาจนำไปสภาวะเยื่อทหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) และสมองอักเสบ (encephalitis)
3) ปัจจัยทางจิตสังคม พบว่า เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ครอบครัวแตกแยกและผู้เลี้ยงดูมีความผิดปกติทางจิต เช่น ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด ส่งผลให้ด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
2.2 การบำบัดรักษาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การรักษาโรคทางกาย ที่เป็นสาเหตุและความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น อาการชักหัวใจพิการแต่กำเนิด
กายภาพบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพื่อแก้ไขการเดินการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ช่วยลดการยึดติดของข้อต่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด
กิจกรรมบำบัด เป็นการบำบัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในดำเนินชีวิต
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน
อรรถบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร โดยฝึกเด็กให้ใช้กล้ามเนื้อในการพูด การเปล่งเสียง และการออกสียงที่ถูกต้อง การฝึกพูดต้องกระทำในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา การจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เป็นการฝึกอาชีพให้กับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งจะต้องเป็นงานที่ไม่ซับซ้อน
การให้คำแนะนำครอบครัว เน้นการให้ข้อมูลในเรื่อง สาเหตุ แนวทางการรักษา และการพยากรณ์โรค รวมถึงข้อมูลหน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาและความช่วยหลือในด้านต่าง ๆ
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
3.1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญ เช่น อายุของมารดา ภาวะสุขภาพของมารดา การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการได้รับยาอื่น ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์
การประเมินด้านร่างกาย (physical assessment)
การประเมินพัฒนาการ (developmental assessment) เป็นการตรวจหรือทดสอบ พัฒนาการทั้ง 5 ด้านประกอบด้วย การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญาการใช้ภาษา การเข้าใจภาษา และการช่วยเหลือตนเองและสังคม
3.2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
• ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้เนื่องจากพัฒนาการด้านการใช้ภาษาล่าช้า
• เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอยู่ไม่นิ่งและการทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้ออ่อนแรง
• มีความกพร่องในการช่วยเหลือตนเองที่เหมาะสมตามวัยเนื่องจากพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า
3.3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
กิจกรรมการพยาบาลต่อตัวเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ลักษณะที่ 1 การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้หลักพัฒนาการตามวัยปกติ
ลักษณะที่ 2 การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่มีปัญหาทางจิตเวช
นิเวศบำบัด โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัว
การปรับพฤติกรรม มี 2 แนวทาง คือ การเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสม ด้วยการให้แรงเสริมทางบวก
่
• การทำจิตบำบัด เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามักเผชิญภาวะทางจิตสังคมที่เลวร้าย
ลักษณะที่ 3 ด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาควรได้รับการศึกษตามความสามารถอย่างเหมาะสมตมวัย
• อายุ 0-6 ปี ส่งเสริมพัฒนาการ
• อายุ 7-14 ปี ให้การศึกษภาคพิเศษ
• อายุ 15-19 ปี ฝึกอาชีพ
การช่วยเหลือครอบครัว ในระยะที่พ่อแม่มีความรู้สึกสูญเสีย เศร้าโศก ในการมีลูกที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ช่วยประคับประคองจิตใจของพ่อแม่
ช่วยให้พ่อแม่ยอมรับลูกและมีความหวัง
ให้คำปรึกษาพ่อแม่
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพทั้งในระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ระยะก่อนตั้งครรภ์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ
รับการตรวจครรภ์สม่ำเสมอ ได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์
ระยะคลอด หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการทำคลอดในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
ระหลังคลอด เด็กจำป็นต้องได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว พ่อ แม่ ต้องมีความพร้อมในการเลี้ยงดูได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ในระยะขวบปีแรกเพราะนมแม่มีภูมิคุ้มกันโรคและสารอาหารที่มีคุณค่าต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
โรคซนสมาธิสั้น
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
1.1 ความหมายโรคซนสมาธิสั้น
โรคซน-สมาธิสั้น (attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD)
อาการซนไม่อยู่นิ่ง หมายถึง การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
อาการหุนหันพลันแล่น ขาดการคิดไตร่ตรอง ขาดความสุขุมรอบคอบ
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น ไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ และ/หรือ อาการซนไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น หลายๆ อาการเริ่มปรากฎก่อนอายุ 12 ขวบ
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป แต่สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับการเรียน งานบ้าน หรือทำงานต่างๆ ตามหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
ม้กมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซน ไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่ายนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยุ่งวุ่นวาย เสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
มักจะขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
2.1 สาเหตุของโรคซนสมาธิสั้น
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
พันธุกรรม
กายวิภาค สรีรวิทยา ของระบบประสาท
สารเคมีของระบบประสาท (neurochemical factors)
2) ปัจจัยก่อนคลอด
การที่หญิงตั้งครรภ์ 3เดือนแรก (first trimester) มีการติดเชื้อ มีการเสพสุรา ยาเสพติด และ/หรือสูบบุหรี่ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity) หรือการที่เด็กขาด oxygen ระหว่างคลอด ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เด็กมีอาการของ ADHD
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
การที่เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ (prolonged emotional deprivation) เหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียด (stressful psychic events) การที่ครอบครัวของเด็กขาดความสมดุลในครอบครัว
4) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การที่เด็กมีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ (encephalitis)
5) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอารมณ์ของเด็ก ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบคร้ว มาตราฐานของสังคมในเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติและการกระทำ
2.2 การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
การรักษาด้วยยา psychostimulants ผู้ใหญ่ที่มีอาการ ADHD
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants)
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics)
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม (behavioral/psychosocial intervention)
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD (parent management training)
• การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD เพื่อพ่อแม่จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็กและมีความรู้ความมั่นใจในการดูแลแก้ไขปรับพฤติกรรมของเด็ก
• สอนเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก โดยที่ไม่ไปลดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
• แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก เนื่องจากเด็ก ADHD มักจะลืมและไม่ใส่ใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งให้
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กโดยลดสิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นหรือเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้น้อยที่สุด เช่น การจัดมุมทำการบ้านให้เด็กให้เป็นบริเวณที่เงียบสงบ พ่อแม่ประกบตัวต่อตัวเวลาสอนการบ้านเด็ก
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการออกคำสั่งกับเด็กอย่างสั้นๆ และควรให้เด็กการทวนซ้ำ เวลาพูดกับเด็กควรมีการสบสาย (eye contact) กับเด็กด้วย
• ให้คำแนะนำพ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านในการพยายามควบคุมอารมณ์
การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียน
• ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
• ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
• ผลการเรียนป็นอย่างไร
• มีพฤติกรมอะไรบ้างที่ทั้งพ่อแม่ คุณครูและ/หรือตัวเด็กเองมองว่าเป็นปัญหา
• ผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ของโรคที่มีต่อการเรียนและสัมพันภาพที่มีกับเพื่อนและครูมีอะไรบ้าง
• ความรู้ความเข้าใจของคุณครูเกี่ยวกับโรค
การประเมินที่โรงพยาบาล
• การจำแนกและการสำรวจเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
• ประเมินตัวเด็กว่ามีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยหรือไม่
• ประเมินระยะเวลาที่เด็กเริ่มมีอาการของโรค รูปแบบของอาการต่างๆ ในปัจจุบัน (pattern of the current symptoms)
• ประเมินว่ามีปัจัยใดที่ทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
• ประเมินการรักษาที่เด็กได้รับมาก่อนหน้านี้
• ประเมินว่าอะไรที่ทำให้พ่อแม่พาเด็กมารับการรักษา
• ประเมินประวัติอดีตในเรื่องเกี่ยวกับอาการของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์
• การประเมินเกี่ยวกับรูปแบบการรับประทานอาหาร กรนอน และการทากิจกรรมต่างๆ
• ประเมินรูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่(parenting style)
• ความมั่นคงของสมาชิกในครอบครัว (stability of membership) ในทุกๆด้าน
• เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเด็ก
• ประเมินว่าเด็กมีภาวะโรคร่วมหรือไม่
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
วิธีการเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่และเด็ก และคุณครู เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและประสานความร่วมมืออันดีระหว่างโรงพยาบาล บ้าน และโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาของเด็ก
ให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูเกี่ยวกับโรค การดูแลเด็ก การปฏิบัติต่อเด็ก การวางระเบียบวินัยให้แก่เด็ก แผนการบำบัดรักษา รวมถึงยาการออกฤทธิ์ของยาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการต่างๆ เหล่านั้น ฯลฯ
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ความคาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู ทีมสหสาขาวิชาชีพ และสื่อสารกับเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่คาดหวังที่ได้กำหนดไว้ว่าต้องการให้เด็กทำพฤติกรรมอะไรบ้าง
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งทัศนคติจากพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู และตัวเด็กเอง
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคซนสมาธิสั้น จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีเพียงใด รวมทั้งเด็กมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กและปรับพฤติกรรมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1.1 ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในหลายบริบท
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (stereotyped)
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ (mannerism)
ยึดติดกับสิ่งเดิม
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
สาเหตุ การบำบัดรักษาของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
2.1 สาเหตุของของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
2) ปัจจัยทางสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle)
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
อายุครรภ์น้อยกว่า 33 สัปดาห์
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก (immunological incompatibility) ทำเกิดการเซลล์ประสาทของทารก
ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอด
1)ปัจจัยทางพันธุกรรม
2.2 การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การรักษาทางยา
ยา methylphenidate ที่ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ
ยา haloperidol กับ risperidone ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด
ยา fluoxetine ที่ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
ยา lorazepam ที่ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
4) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
5) การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
6) ศิลปะบำบัด (art therapy)
7) ดนตรีบำบัด (music therapy)
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
9) การให้คำแนะนำครอบครัว
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation)
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินทางร่างกาย
• การตรวจร่างกาย
• ผลการตรวจอื่นๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบทางจิตวิทยา
การสังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะการเล่นของเด็ก
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 4-18 ปี
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
มีความบกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เนื่องจากมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารซ้ำซาก
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
• เด็กทำพฤติกรรมใดแล้วได้ผลที่เด็กพอใจก็จะมีแนวโน้มที่เด็กจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
• เด็กเรียนรู้จากตัวอย่างหรือตัวแบบ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้เด็กมี
พฤติกรรมใด ผู้ใหญ่ก็ควรแสดงพฤติกรรมนั้นเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี
การเพิกเฉยหรือทำเป็นไมใส่ใจกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว
• พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น ๆ
พยายามพาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นหรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเด็กวัยเดียวก้นเมื่อมีโอกาส
ให้แรงเสริมเสริมทางบวก
• พฤติกรรมไม่สบตา
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการมองแบบไร้จุดหมาย
ฝึกให้เด็กสบตาคนอื่น โดยใช้กิจกรรมการเล่นในการฝึกทักษะ
• พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง
ฝึกให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน
ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จพยายามลุกเดิน ให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ พร้อมบอกว่า "นั่งลง" เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัลเพื่อเป็นการเสริมแรง
พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย
ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ
สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก
• อารมณ์ฉุนเฉียว
เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียวให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อมบอกเด็กว่า "ลุกขึ้น" ออกแรงดึงเล็กน้อย
• พฤติกรรมก้าวร้าว
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวให้จับมือเด็กไว้ด้วยสีหน้าเรียบเฉย
ไม่ตำหนิ ดุด่า ประชดประชัน เนื่องจากเด็กอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการให้เด็กทำ แต่ต้องบอกสิ่งที่เด็กควรทำ
ไม่ลงโทษรุนแรงเพื่อให้เด็กหยุด
• พฤติกรรมจำกัด ชอบโยกตัว สะบัดมือ
ไม่ด่าทอ ดุด่า ตำหนิ ประชดประชัน หรือลงโทษรุนแรงต่อพฤติกรรมของเด็ก
เบี่ยงเบนพฤติกรรมโดยให้เด็กทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เมื่อเด็กทำได้
• พฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมซ้ำ ๆ
ให้เด็กลองกินอาหารชนิดอื่นก่อนที่จะกินอาหารที่ชอบกินซ้ำ ๆ
ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้ด้วยตนเอง
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
เป็นการประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล เพื่อตรวจสอบว่าภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม เป็นไปดามเป้าหมายที่วางแผนไว้และสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่