Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สาเหตุ
3) การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาจนำมาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช โดยทั่วไปการแก้ปัญหามีลักษณะ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) และแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลควรใช้การแก้ปัญหาทั้งสองลักษณะควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
1) เหตุการณ์วิกฤต (Negative Events) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตสำหรับบุคคล
ความหมาย
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือใช้วิธีการแก้ไขปัญหามาใช้ลดความตึงเครียดนั้นในลักษณะเดิม ๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน
ทำให้บุคคลเสียความสมดุลของชีวิตไป เกิดความตึงเครียด คับข้องใจอย่างมาก และมีความวิตกกังวลสูง เป็นเหตุให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์แบ่งได้เป็น 3 ชนิด
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change) เช่น การที่เด็กต้องพลัดพรากจากผู้ปกครองไปเข้าโรงเรียน, การต้องออกจากครอบครัวของบิดามารดาไปสร้างครอบครัวของตนเอง, การเกษียณอายุ เป็นต้น หากบุคคลได้เตรียมการและรับมือล่วงหน้า หรือได้รับการเลี้ยงดูที่ช่วยให้มีพัฒนาการชีวิตเป็นไปอย่างเหมาะสมมีการเจริญตามวุฒิ บุคคลนั้นก็จะสามารถเผชิญและผ่านพ้นกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยดีไม่เกิดปัญหาถึงขั้นภาวะวิกฤตขึ้น
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย ทำลายล้าง และเกิดความตึงเครียดอย่างรุนแรงต่อตัวบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งบุคคลหรือชุมชนนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เช่น ไฟไหม้บ้าน อุทกภัย แผ่นดินไหว ซึนามิ การเกิดสงคราม เป็นต้น
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล เช่น การเสียคนรักจากอุบัติเหตุ การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การสอบตก การถูกให้ออกจากงาน
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ในการจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือมีปัญหาเกิดขึ้นปัญหาอย่างได้ผล บุคคลก็จะเข้าสู่ “ระยะวิกฤต (crisis stage)” ซึ่งแบ่งย่อยๆได้เป็น 4 ระยะดังนี้
ระยะวิกฤต (crisis stage)
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน เป็นระยะที่บุคคลยังคงใช้ความพยายามที่จะจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น มีอาการและอาการแสดงในลักษณะ ดังนี้
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา หรือช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่หรือต้องการให้บุคคลอื่นช่วยเหลือ จ
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness) ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและหากมีภาวะซึมเศร้ามีมากในระดับสูงจนอาจถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายในที่สุด
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีกต่อไป (intolerable level) นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกำหนดตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage) มีความเครียด (stress) ความวิตกกังวล (anxiety) มากขึ้นจากการที่ตนเองใช้วิธีการจัดแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ผล มีอาการและอาการแสดงในลักษณะ ดังนี้
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame) ที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก วิงเวียน
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) นั้นได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกังวล (final stress and anxiety) มากขึ้น มีอาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤตในลักษณะต่างๆที่รุนแรงขึ้น
ภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์ หลังจากบุคคลประสบภาวะวิกฤต เมื่อบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตสามารถปรับตัว หรือบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตสามารถหาวิธีการจัดการกับเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ด้วยตนเองได้สำเร็จอย่างถูกวิธีจนระดับความกังวลและความเครียดลดลงเรียกระยะนี้ว่า “ระยะหลังเกิดวิกฤต (post – crisis stage)”
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
1) การประเมินภาวะสุขภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติสุขภาพ ข้อมูลที่ควรให้ความสำคัญ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนอง
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหา
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม