Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคจิตเภท - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคจิตเภท
โรคจิตเภท
เกิดขึ้นจากความผิดปกติหลายอย่างเเบบค่อยเป็นค่อยไป ได้เเก่ ความผิดปกติของความคิด การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์ เเละการสื่อสาร
ลักษณะอาการ
กลุ่มอาการด้านบวก (positive symptoms)
เเสดงออกทางความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสารเเละการเเสดงพฤติกรรม เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน หวาดระเเวง พูดไม่รู้เรื่อง ทำท่าทางเเปลกๆ เปลือยกายในที่สาธารณะ กินเศษขยะ คลุ้มคลั่ง เอะอะโวยวาย ก้าวร้าว ทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้คน
กลุ่มอาการด้านลบ(negative symptoms)
เเสดงออกทางสีหน้าเเละอารมณ์ ได้เเก่ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ไม่พูด เเยกตัวเอง ขาดความสนใจเเละขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว สัมพันธภาพไม่ดี ความคิดเชิงนามธรรมเสียไป
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
พันธุกรรม(genetics)
ลูกที่บิดาหรือมารดาเป็นจิตเภท เเละพี่น้องฝาเเฝดไข่ใบเดียวกันป่วยเป็นจิตเภท
สารชีวเคมีในสมอง(biochemical factors)
เช่น dopamine, serotonin
กายภาพของสมองที่ผิดปกติ
พบว่า ส่วนของ lateral ventricles ขยายใหญ่กว่าปกติ และ cortical สองด้านไม่เท่ากัน มีสภาพเหี่ยวลีบเล็กลง
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
- ความขัดเเย้งภายในจิตใจ
การใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสมครอบครัวที่มีการแสดงอารมณ์ต่อกันสูง เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ การจู้จี้ ไม่เป็นมิตร เป็นต้น
- กระบวนการพัฒนาการและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ลักษณะการเลี้ยงดูในวัยเด็ก
-
ความเครียด
มีเเนวโน้มจะป่วยอยู่เเล้วสามารถเเสดงอาการทางจิตได้
- สภาพสังคมเเละวัฒนธรรม
เศรษฐานะต่ำ สภาพชีวิตขาดแคลน ขาดสารอาหาร การตั้งครรภ์ที่ไม่มีคุณภาพ
การบำบัดรักษา
การรักษาเเบบผู้ป่วยใน
เป็นอันตรายต่อตนเองเเละบุคคลอื่นหรือสังคม
มีอาการข้างเคียงของยารุนเเรงที่ต้องดูเเลใกล้ชิด
ไม่รวมมือในการรักษา ไม่สามารถดูเเลตนเองได้
มีพฤติกรรมวุ่นวายอย่างมาก มีอาการทางจิตรุนเเรง
การรักษาด้วยยา
เป็นการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อควบคุมอาการเเละลดการกำเริบ ต้องกินยาต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์
เเบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะเฉียบพลัน(acute phase) เพื่อช่วยลดอาการทางจิต คำนึงถึงความปลอดภัย ยาต้านโรคจิตที่ใช้(ทั้งกลุ่มเก่ากลุ่มใหม่)
ยาเม็ด เช่น chlorpromazine (CPZ),perphenazine,haloperidol,melleril,clozapine,risperidone,olanzapine
ยาฉีด เช่น fluphenazine decanoate, haloperidol decanoate เป็นต้น
2.ระยะควบคุมอาการให้คงที่(stabilization phase) เพื่อควบคุมอาการเเละลดโอกาสที่อาการจะรุนเเรงขึ้น หลังจากอาการสงบเเล้วต้องได้รับยาขนาดเดิมต่อเนื่องอีก 6 เดือน
3.ระยะคงที่(maintainable phase) เพื่อป้องกันการกำเริบเเละส่งเสริมการฟื้นฟูทางจิตเวช โดยเเพทย์จะให้ยาขนาดต่ำต่อเนื่องที่จะควบคุมอาการได้
การรักษาด้วยไฟฟ้า(ECT)
กรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองด้วยยาเเละมีอาการรุนเเรงมาก หรือชนิด catatonic มีภาวะซึมเศร้าหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
การรักษาทางจิตใจเเละสังคม
ทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคงที่เเละอาการทางจิตทุเลาลง รูปแบการรักษา เช่น นิเวศน์บำบัด(milieu therapy) กลุ่มบำบัด(group therapy) การให้ความรู้/คำเเนะนำเกี่ยวกับโรค
การพยาบาล
ความคิดผิดปกติ
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เข้าใจเเละยอมรับความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าผู้ป่วยคิดเเละรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นจริงด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
รับฟังเรื่องที่ผู้ป่วยเล่าโดยไม่กล่าวคำขัดเเย้ง ไม่ตัดสิน คล้อยตาม ท้าทาย ล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์.
ผู้ป่วยที่หลงผิดมาก มีอาการคลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ พยาบาลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเเละอันตรายที่เกิดขึ้น
~ เเยกบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ห่างไกลจากผู้ป่วย
~ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายหรือเป็นอาวุธให้ห่างไกลจากผู้ป่วย
~ ลดสิ่งกระตุ้นความรุนเเรง เช่น เสียงดัง ความวุ่นวาย
~ เรียกชื่อผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ นุ่มนวล สถามความรู้สึก เช่น กลัว หวาดวิตกหรือโกรธ
~ ทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยเเละให้ทราบว่าความคิดนั้นเกิดขึ้นจริงเเละพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ
~ พยายามอย่าเเตะต้องตัวผู้ป่วย ใช้ท่าทาง สายตา เเละคำพูดเเสดงความเป็นมิตรเเทน
~ ฉีดยากลุ่มต้านโรคจิต(Neuroleptic drugs) ตามแผนการรักษาเพื่อสงบอาการคล้มุคลั่ง ก้าวร้าว ยาที่ใช้ ได้แก่ Haldol 5 mg. IM หรือ Chlorpromazine 50 mg. IM
ผู้ป่วยที่สื่อสารเเบบคลอบคลุมเครือ พยาบาลต้องสอบถามขอความกระจ่าง
ผู้ป่วยพูดวกวนบอกรายละเอียดที่ไม่สัมพันธ์กัน พยาบาลต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าผู้ป่วยกำลังจะบอกอะไร
สนทนากับผู้ป่วยในบริบทของความเป็นจริง เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยจากความหลงผิดโดยกระนั้นให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เล่นไพ่ ทำงานศิลปะ ทำอาหาร วาดรูป อ่านหนังสือพิมพ์ นันทนาการ และกลุ่มบำบัดในหอผ้ปู่วย
แนะนาวิธีการที่จะลดความวิตกกงัวลเกี่ยวกับความคิดผิดปกติ เช่น พูดคุยกับเพื่อนที่ไว้ใจฝึกการหยดุความคิดให้คิดเหตผุลที่เป็นจริงหักล้างความคิดที่ผิดปกติ คิดเชิงบวกเพื่อแทนที่ความคิดที่ให้ร้ายตนเอง
สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นและการดูเเลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
~ ความรู้เรื่องโรคและการรับประทานยาตอ่เนื่องตามแผนการรักษา
~ อาหาร การพักผ่อน งดสุรา บุหรี่ สารเสพติด ออกกำลังกาย
การรับรู้ผิดปกติ(ประสาทหลอน)
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบบัด เข้าใจและยอมรับ พฤติกรรมของผู้ป่วยว่าทุกอย่างเป็นจริงด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
รับฟังเรื่องท่ีผู้ป่วยเล่าโดยไม่กล่าวคำขัดแย้ง ไม่ตัดสิน ไม่คล้อยตาม ท้าทาย ล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์
ผู้ป่วยที่หลงผิดมาก มีอาการคลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ พยาบาลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเเละอันตรายที่เกิดขึ้น
~ เเยกบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ห่างไกลจากผู้ป่วย
~ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายหรือเป็นอาวุธให้ห่างไกลจากผู้ป่วย
~ ลดสิ่งกระตุ้นความรุนเเรง เช่น เสียงดัง ความวุ่นวาย
~ เรียกชื่อผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ นุ่มนวล สถามความรู้สึก เช่น กลัว หวาดวิตกหรือโกรธ
~ ทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยเเละให้ทราบว่าความคิดนั้นเกิดขึ้นจริงเเละพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ
~ พยายามอย่าเเตะต้องตัวผู้ป่วย ใช้ท่าทาง สายตา เเละคำพูดเเสดงความเป็นมิตรเเทน
~ ฉีดยากลุ่มต้านโรคจิต(Neuroleptic drugs) ตามแผนการรักษาเพื่อสงบอาการคล้มุคลั่ง ก้าวร้าว ยาที่ใช้ ได้แก่ Haldol 5 mg. IM หรือ Chlorpromazine 50 mg. IM
ไม่โต้เถียง หรือพยายามที่จะเเก้ไขความเชื่อของผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยกำลังได้ยินเสียงสั่งพยาบาลไม่ควร พูดว่าผู้ป่วยได้ยินไปเองแต่ควรพูดว่า พยาบาลไม่ได้ยินเสียงนั้น และใช้คำพูดแทนเสียงนั้นว่า “เสียงที่คุณได้ยิน” “เสียงที่พูดกับคุณ”
สอบถามผู้ป่วยว่าเมื่อเกิดอาการประสาทหลอนผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
แสดงให้ผ้ปู่วยรับรู้ว่าพยาบาลใส่ใจในความรู้สึกของผู้ป่วยและผลกระทบของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย พยาบาลควรบอกว่า พยาบาลทราบดีว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรและพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยเสมอ
การบอกความจริง(Present reality)ในกรณีที่ผู้ป่วย สามารถยอมรับความจริงนั้นได้ พร้อมทั้งพยาบาลแสดงให้ผ้ปู่วยทราบว่า พยาบาลยอมรับความรู้สึกของผ้ปู่วย
ผู้ป่วยที่ insight ดี ยอมรับการเจ็บป่วยพยาบาลอาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้วิธีการเผชิญต่ออาการประสาทหลอน ดังนี้
~ พูดขับไล่เสียงเเว่ว ภาพหลอน
~ หลับตาไม่ให้เห็นภาพหลอน หรือเดินออกไปจากสิ่งที่เห็น
~ อ่านหนังสือ เปิดเพลงเสียงดังๆเพื่อกลบเกลื่อนเสียงเเว่ว
~ สูดหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆ
~ ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนตชความสนใจ เช่น ดูทีวี วาดภาพ
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยร่วมกล่มกิจกรรมบำบัดกัยผู้ป่วยคนอื่นๆ เช่น การดูเเลตนเองเมื่อประสาทหลอน ดูเเลตนเองเรื่องยา กลุ่มนันทนาการ กลุ่มความรู้เรื่องโรค
ชักชวนให้ผูป่วยได้พูดคุยมีสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอื่น เมื่อมีเวลาว่าง โดยการพยาบาลเป็นผู้นำสนทนา เริ่มจากกลุ่มเล็กก่อน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดยาเอง.
การสื่อสารบกพร่อง
เพื่อประเมินว่าการสื่อสารที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกิดขึ้นในลักษณะใดเกิดเเบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
ในการสนทนากับผู้ป่วย ควรจัดสิ่งเเวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้น
พิจารณาว่าผู้ป่วยได้รับยากลุ่มต้านโรคจิต กลุ่มใด มานานเท่าใด
สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคำพูดที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
สื่อสารช้าๆใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลมีหางเสียง
พยายามสำรวจความรู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า ที่เเฝงมากับคำพูดและท่าทางการเเสดงออก
ผู้ป่วยสื่อสารเเล้วพยาบาลควรสอบถามโดยใช้เทคนิคการสนทนา เช่น ดิฉันไม่เข้าใจที่คุณพูดว่า..
ถ้าผู้ปวยพูดออกนอกเรื่อง ต้องดึงผู้ป่วยให้กลับมาอยู่ในหัวข้อที่กำลังสนทนาอยู่ขณะนั้น
มีอาการหวาดระแวง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบบัด เข้าใจและยอมรับ พฤติกรรมของผู้ป่วยว่าทุกอย่างเป็นจริงด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
รับฟังเรื่องท่ีผู้ป่วยเล่าโดยไม่กล่าวคำขัดแย้ง ไม่ตัดสิน ไม่คล้อยตาม ท้าทาย ล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์
พูดคุยทักทายกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการจ้องมอง หัวเราะเเละพูดซุบซิบ
ใช้คำพูดที่ตรงไปตรงมา เข้เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ
สอบถามผู้ป่วยถึงความคิดว่าผู้อื่นปองร้ายและผู้ป่วยมีวิธีการจัดการอย่างไร
ผู้ป่วยระแวงสงสัยว่าอาหารมียาพิษพยาบาลบอกความจริงและอาจชิมอาหารให้ดูหรือให้ผู้ป่วยคนอื่นรับประทานให้ดูว่าไม่มีพิษ
ผู้ป่วยที่มีความคิดหลงผิดหรือประสาทหลอนการสื่อสารกับผู้ป่วยให้ใช้หลักการเดียวกับที่ได้กล่าวไปแล้ว
บอกและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนปฎิบัติการพยาบาลทุกครั้งว่าจะทำอะไร
หากผู้ป่วยกล่าวโทษตำหนิไม่ชอบคนนั้นคนนี้พยาบาลรับฟังเพื่อเป็นข้อมูล ไม่กล่าวแก้ตัวหรือขัดแย้งกับผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่โกรธก้าวร้าว มีแนวโน้มความรุนแรง ต้องระวังพฤติกรรมอันตราย ไม่จัดให้มีสิ่งกระตุ้นและจัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น เล่นกีฬา ทำสวน
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมทำงานร่วมกันและพูดคุยกับผู้ป่วยคนอื่น จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด
ผู้ป่วยอาจต่อต้านว่ากลุ่มไม่ดีไม่น่าสนใจมีแต่คนบ้าพยาบาลต้องอดทนจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ และเมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมได้สำเร็จต้องให้แรงเสริมทันที
จัดให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดร่วมกับผู้อื่นอย่างน้อยหนึ่งถึงสองคน เช่น หมากรุก รัมมี่ อักษรไขว้ ทั้งนี้ต้องไม่มีการแข่งขันหรือพนันต่อกัน
ดูแลให้ได้รับยากลุ่มนิวโรรีบปิดทำให้การรักษา