Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.10 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคอารมณ์สองขั้ว…
บทที่ 5.10 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคอารมณ์สองขั้ว Cyclothymia
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายช่วง hypomania สลับกับ depressive episode แต่ยังไม่รุนแรงจนเข้าเกณฑ์การวินิจฉัย อารมณ์ของผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนไปมาระหว่างอารมณ์ดีและอารมณ์เศร้า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอาการด้าน depression เป็นส่วนใหญ่ ระยะเวลาที่เป็นในแต่ละด้านจะค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับ bipolar disorder
การดำเนินโรค
พบเริ่มเป็นในอายุน้อย ประมาณ 1 ใน 3 เปลี่ยนเป็น bipolar II ในช่วงหลังของโรค
การรักษา
แนวทางการรักษา เช่นเดียวกับผู้ป่วย bipolar disorder
การพยาบาลผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว
1. การประเมินภาวะสุขภาพ
จากผู้ป่วย โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ ประวัติสุขภาพ การปฏิสัมพันธ์ การตรวจสภาพจิต และการตรวจร่างกาย
จากญาติและบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ และการสังเกต
จากเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ โดยการสัมภาษณ์ และร่วมประชุมปรึกษา
จากหลักฐานเอกสารต่างๆ ได้แก่ ทะเบียนประวัติการเจ็บป่วย การบันทึกของพยาบาล ผลการตรวจทางจิตวิทยา เป็นต้น
2. การวินิจฉัยการพยาบาล
เช่น
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเอง เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้อื่นและสิ่งของเนื่องจากมีอารมณ์แปรปรวน
การพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากนอนไม่หลับ
การวางแผนการพยาบาล
นำข้อวินิจฉัยการพยาบาลมาจัดลำดับความสาคัญร่วมกับผู้ป่วยและทีมสุขภาพ พร้อมกับกาหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ กิจกรรมการพยาบาลเพื่อตอบสนองต่อปัญหาของผู้ป่วยตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลและเกณฑ์การประเมินผล พยาบาลควรวางแผนการพยาบาลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสาหรับแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย
การปฏิบัติการพยาบาล
1 การบำบัดทางด้านร่างกาย (psysical therapy)
การรักษาด้วยยา ประกอบด้วย - ยาควบคุมอารมณ์ (mood-stabilizing drugs) ยาที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้มี 3 ชนิด คือ lithium carbonate, valproate, carbamazepine - ยาด้านโรคจิต (antipsychotic drugs) นิยมใช้ยาชนิดที่มีฤทธิ์ทาให้ง่วงมาก เช่น chlorpromazine, thioridazine, perphenazine เป็นต้น ยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า (antidepressant drugs) ยาที่ถูกนามาใช้ในกลุ่มนี้ คือ nortriptyline และ imipramine
พยาบาลจึงควรแนะนาการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมสาหรับผู้ป่วย ประกอบด้วย
การรับประทานยาอย่างสม่าเสมอเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยให้สามารถควบคุมอาการได้ดีและป้องกันอาการกาเริบ
การรักษาความสม่าเสมอในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันที่สาคัญที่สุดคือเรื่องการนอน พบว่าการอดนอนทาให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์แกว่ง หงุดหงิด จึงควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการนอนดึก หรือดื่มแอลกอฮอล์
ช่วงที่มีอาการแมเนีย หลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่สาคัญๆ หาวิธีควบคุมการใช้เงินอย่างเหมาะสม เช่น ฝากเงินไว้กับคนที่สามารถไว้วางใจ หลักเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ให้คนใกล้ชิดคอยเตือนเมื่อเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
ช่วงที่มีอาการซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการตัดสินใจสาคัญๆ เช่น การลาออกจากงาน การหย่าร้าง อย่ากดดันตัวเองให้ทาสิ่งต่างๆให้ได้เหมือนเดิม เพราะเป็นช่วงที่ยังต้องการคนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเองมากเกินไปยิ่งทาให้รู้สึกแย่ที่ทาไม่ได้ตามความคาดหวัง ความเข้าใจจากคนใกล้ชิดญาติ และผู้ดูแลมีส่วนสาคัญช่วยให้ผู้ป่วยเกิดกาลังใจในการรักษา รวมทั้งมีส่วนสาคัญในการสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกลับเป็นซ้าหรือไม่
การรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy:ECT)
การจากัดพฤติกรรม (setting limit)
2 การบำบัดด้านจิตสังคม (psychosocial therapy)
การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (cognitive Behavioral Therapy) ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ที่จะปรับความคิดและพฤติกรรมไปในทางบวกหรือทางที่เหมาะสม
การบำบัดด้วยสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคม (Interpersonal and Social Rhythm Therapy) ช่วยให้ผู้ป่วยแก้ไขปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและคงไว้ซึ่งการดาเนินชีวิตประจาวันปกติ
การบำบัดที่มุ่งเน้นการปรับภาวะสุขภาพและภายในครอบครัว (Family Focused Therapy) โดยการสอนให้สมาชิกครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและวิธีจัดการกับอาการของโรค การจัดการเพื่อก้าวผ่านปัญหาและ การปรับปรุงการสื่อสาร
การสอน (education) ควรสอนให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเข้าใจเรื่องโรคอาการการจัดการกับอาการของโรค การจัดการความเครียด การจัดการอารมณ์ การเผชิญปัญหาและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการกำเริบ
การจัดการการดำเนินชีวิต (lifestyle management) เป็นการควบคุมการดาเนินชีวิตประจาวันทาได้โดยการจัดตารางกิจกรรมในแต่ละวัน
3 ด้านการบาบัดรักษาพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติทางจิต สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติคือการให้ความเข้าใจ เป็นมิตร และให้กาลังใจที่เหมาะสม กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดการรับรู้ภาวะอาการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ ความคิดความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วยในขณะนั้น ร่วมกับผู้ป่วยค้นหาแนวทางควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แนะนาให้ผู้ป่วยรู้จักแหล่งให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่เคารพ เพื่อน เพื่อนบ้าน ญาติสนิท แหล่งบริการทางสังคมต่างๆ มุ่งเน้นการบาบัดเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักการควบคุมจัดการอารมณ์ของตนเอง
4 ด้านการฟื้นฟูสภาพ
การติดตามการได้รับยาและการดูแลตนเองที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง อาจส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ในชุมชนให้มีการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างสม่าเสมอ ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมดูแล สร้างครอบครัวที่อบอุ่นและเข้าใจกัน ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะวิกฤติด้วยตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่จนเกิดความรู้สึกมั่นใจที่จะเผชิญชีวิตในสังคมปกติได้ และให้แรงเสริมด้วยการชื่นชมพฤติกรรมการแก้ปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในตัวผู้ป่วย
เสี่ยงต่อการทาร้ายตนเองซ้าเนื่องจากมองตนเองในแง่ลบและมีประวัติทาร้ายตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดการทาร้ายตนเอง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีพฤติกรรมทาร้ายตนเองซ้าภายใน 1 สัปดาห์
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยท่าทีที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจผู้ป่วย และมีความสม่าเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไว้วางใจ มั่นใจได้ที่จะระบายความคับข้องใจออกมา
ประเมินความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองจากสีหน้าท่าทาง การแสดงทางคาพูด อารมณ์ การเคลื่อนไหว เพื่อวางแผนการพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมและปลอดภัย จัดเก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นเครื่องมือในการทาร้ายตนเองหรือผู้อื่น เช่นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสาย ยางยืด ของแหลมคม น้ายาเคมี เป็นต้น
ฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการทาร้ายตนเองสูง มีการดูแลและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทุก 15 นาที จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน มีการติดตามผู้ป่วยเสมอ เมื่อผู้ป่วยไปทากิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันการทาร้ายตนเอง
จัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดง่ายๆและเห็นผลสาเร็จในระยะเวลาอันสั้น เช่น กลุ่มวาดภาพกลุ่มอ่านหนังสือพิมพ์กลุ่มประดิษฐ์สิ่งของเป็นต้น เพื่อช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่สามารถทากิจกรรมต่างๆได้สาเร็จ
ให้แรงเสริมทางบวกเช่นการชื่นชมให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยทากิจกรรมต่างๆได้สาเร็จเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยคงพฤติกรรมที่ดีนั้นไว้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาพร้อมสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาช่วยในการควบคุมอารมณ์แบบสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อรายงานอาการเก็บแพทย์และลงบันทึกเพื่อรายงานความก้าวหน้าทางการพยาบาล
การประเมินผล
หลังจากได้รับการบำบัดตามแผนการพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2 ผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสขึ้นควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ ไม่มีพฤติกรรมทาร้ายตนเองมีสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างมากขึ้น
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้อื่นเนื่องจากควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองไม่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคคลรอบข้างและผู้ป่วยปลอดภัย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้ภายใน 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยบอกความรู้สึกหรือความต้องการของตนเองได้และมีวิธีการระบายอารมณ์ที่เหมาะสมภายใน 2 สัปดาห์
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยท่าทีที่เป็นมิตร อบอุ่น เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกวางใจ กล้าที่จะระบาย ความคับข้องใจ
ประเมินความเสี่ยงของการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวจากอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เพื่อ วางแผนให้การพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดสิ่งกระตุ้นและรบกวนผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวและ จัดเก็บสิ่งของที่ผู้ป่วยอาจใช้เป็นอุปกรณ์ในการท าร้ายผู้อื่น เช่น อุปกรณ์ของมีคมต่างๆ เพื่อป้องกันเหตุ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมก้าวร้าว
จัดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากให้ผู้ป่วย เช่น กลุ่มกีฬา กลุ่มนันทนาการ เพื่อช่วยให้ได้ระบาย พลังงานส่วนเกินออกมาในลักษณะสร้างสรรค์
การให้แรงเสริมทางบวก เช่น การชื่นชมเมื่อผู้ป่วยคงพฤติกรรมที่ดีนั้นไว้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อให้ยาช่วยในการควบคุมอารมณ์ของผู้ป่วย รวมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อรายงานอาการแก่แพทย์ และลงบันทึกเพื่อรายงานความก้าวหน้า ทางการพยาบาล
การประเมินผล
ภายหลังให้การพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2 ผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใสขึ้น ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้สามารถสื่อสารบอกความต้องการได้ มีการระบายอารมณ์ที่เหมาะสมโดยการพูดคุยระบายความรู้สึกกับพยาบาล ไม่มีพฤติกรรมหงุดหงิด ก้าวร้าว หรือทาร้ายผู้อื่น มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดีขึ้น
ตัวอย่างข้อวินิจฉัย
นางสาวพาทินธิดา ขำหินตั้ง รหัส 180101128