Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
:red_flag:การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงที่เป็น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤต หรือผลกระทบจากภาวะวิกฤติของบุคคล
การประเมินภาวะสุขภาพ
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหาว่ามีความเหมาะสมหรือ ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตหรือไม
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ต่อเหตุการณ์ ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤต เช่น การ เคลื่อนไหว การหลับนอน การรับประทานอาหาร
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดยอาจสอบถามถึงบุคคลใกล้ชิด ที่สำคัญที่เขาสามารถขอคำปรึกษาหรือพึ่งพิงได้ว่ามีใครบ้าง
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดยสอบถามถึงความรู้สึกและหรือผลกระทบทางลบของเหตุการณ์ที่คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤต
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตของชีวิต
การปฎิบัติการพยาบาล
การลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤต
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต แบบหนึ่งต่อหนึ่งตามแบบ แผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
การลดหรือป้องกันอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาภาวะวิกฤต
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤต
ดูแลให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้รับการรักษาพยาบาลอาการและอาการแสดงทางกายที่มี ความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติตามแผนการรักษา
การฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตของชีวิต
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจบุคคลที่มีภาวะวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเขาใช้กลไก การเผชิญปัญหาที่เหมาะสมและมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้น
การส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม เพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
ส่งเสริมสนับสนุนและวางแผนร่วมกันกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ในการแสวงหาความช่วยเหลือ ในการเผชิญกับปัญหาชีวิตที่เหมาะสมจากครอบครัว ญาติ บุคคลสำคัญที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤตไว้วางใจและ สามารถพึ่งพิงได้
การประเมินผลการพยาบาล
ตัวอย่างผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียดหรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล แลวัตถุประสงค์การพยาบาลที่ตั้งไว้
:red_flag:ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame)
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสียใจ
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา หรือช่วยเหลือตนเอง ได้หรือไม่หรือต้องการให้บุคคลอื่นช่วยเหลือ
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness) ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและหากมีภาวะซึมเศร้ามี มากในระดับสูงความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state)
บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตก กังวล (final stress and anxiety) มากขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety)
บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการ กำหนดตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
:red_flag:ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม
ทำให้เกิดความสูญเสียหรือความ เปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change)
ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจ เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย ทำลายล้าง และเกิดความตึงเครียด
สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
:red_flag:สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
เหตุการณ์วิกฤต (Negative Events)
เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะ วิกฤตสำหรับบุคคล ขึ้นอยู่กับการ รับรู้ต่อเหตุการณ์นั้นว่ามีความสำคัญต่อเขาอย่างไร
การแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping)
เป็นวิธีการที่บุคคล พยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping)
เป็นวิธีการที่บุคคลพยายาม จัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้ เกิดความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความกังวลและความตึงเครียด ตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถูกวิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได