Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.2 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิต…
บทที่ 5.2
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิต บุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความหมายของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
บุคคลที่มีปัญหาทางเพศย่อมกระทบต่อวิถีการดําเนินชีวิตปกติ ทําให้บุคคลเกิดความทุกข์ ความเครียดและเกิดปัญหาสัมพันธภาพได้ ซึ่งบทนี้จะกล่าวถึงความผิดปกติทางเพศ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ความผิดปกติในกลุ่มความ
บกพร่องในหน้าที่ทางเพศ ภาวะความไม่พึงพอใจทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
บุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
มีลักษณะอาการและอาการแสดง 10 ประเภทซึ่งลักษณะอาการและอาการแสดงประเภทที่ 1-7 ต้องมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
1) ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
2) ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(erectile disorder)
3) ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder)
4) ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง ( female sexual interest/arousal disorders)
5) การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเ มื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
1 more item...
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
เป็นภาวะของความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจ ที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของเพศที่จิตใจต้องการเป็นกับเพศกําเนิด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในเด็ก (gender dysphoria in children) อย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับมีลักษณะอาการและอาการแสดงอีก 5 อย่าง ได้แก่ ดังต่อไปนี้
เด็กผู้ชายจะชอบอย่างมากในการแต่งตัวคล้ายผู้หญิง หรือแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิง
มีความชอบอย่างมากในการแสดงบทบาทของเพศตรงข้ามในการละเล่นต่างๆ
มีความชอบอย่างมากในการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นของเพศตรงข้าม
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีเพื่อนเล่นเป็นเพศตรงข้าม
เด็กผู้ชายจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้ชาย และหลีกเลี่ยงการละเล่นที่รุนแรง ส่วนเด็กผู้หญิงจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้หญิง
มีความไม่ชอบอย่างมากในอวัยวะเพศของตน
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิ (primary sex characteristics)และทุติยภูมิ(secondary sex characteristics) ที่เหมือนกับเพศที่ต้องการ
2) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ (gender dysphoria in adolescents and adult) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีการแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
มีความไม่สอดคล้องกันอย่างชัดเจนของเพศที่ต้องการเป็นกับลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
มีความต้องการอย่างมากที่จะกําจัดลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพราะมีความไม่สอดคล้องกันอย่างมากกับเพศที่ต้องการเป็น
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิของเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกําหนดมา
มีความต้อการอย่างมากที่จะเป็นเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกําหนดมา
มีความต้องการอย่างมากที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติกับตนเหมือนที่ปฏิบัติกับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกําหนดมา
มีความต้อการอย่างมากที่จะทําให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนมีความรู้สึกและการแสดงออกแบบเดียวกับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกําหนดมา
3) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิฉัย (other specified gender dysphoria)
4) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified gender dysphoria)
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
เป็นความผิดปกติที่บุคคลมีจินตนาการ อารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ใช่วิธีปกติที่คนทั่วไปกระทํา โดยมีลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริตแต่ละประเภท อย่างน้อย 6 เดือน
โดยอาจแสดงออกผ่านทางการจินตนาการ การแสดงออกของอารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ
1) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมาจากการแอบดูผู้อื่นเปลือยกายหรือมีเพศสัพันธ์(voyeuristic disorder) โดยที่บุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เปิดเผยอวัยวะเพศของตนให้บุคคลแปลกหน้าดู(exhibitionistic disorder)
3) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้สัมผัสและเสียดสีกับผู้อื่นโดยที่เขาไม่ยินยอม(frotteuristic disorder)
4) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ถูกดี ผูกมัด หรือได้รับความเจ็บปวดทรมานด้วยวิธีต่างๆ (sexual masochism disorder)
1 more item...
1.1 ความหมายของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ (sexual dysfunctions) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่รบกวนความสามารถของบุคคลในการตอบสนองทางเพศหรือการมีควมสุขทางเพศ
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria) เป็นความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของเพศที่จิตใจต้องการเป็นกับเพศกําเนิดที่เป็นอยู่
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions) เป็นความผิดปกติที่บุคคลมีจินตนาการอารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ใช่วิธีปกติที่คนทั่วไปกระทํา
สาเหตุ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation) ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น การมาจากครอบครัวที่เคร่งครัดในเรื่องเพศ ความวิตกกังวล ความเกลียดชังเพศหญิง ความกลัวการทําให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์ ผู้ชายที่มีประวัติสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (masturbation) ซึ่งมีการกระตุ้นตนเองอย่างมาก อาจเกิดการหลั่งช้าเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดที่มีการกระตุ้นที่น้อยกว่า
2) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder) หากมีความผิดปกติที่เป็นแบบตลอดชีวิต อาจเกิดจากการพยายามควบคุมตนเองที่มาก เกินไป ส่วนความผิดปกติที่เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทางร่างกาย การมีความตึงเครียดในชีวิต
3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder) ได้แก่ พันธุกรรม, การเจ็บป่วยทางร่างกาย ความผิดปกติทางอารมณ์
4) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders) ได้แก่ พันธุกรรม การเจ็บป่วยทางร่างกายและทางจิต อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะหมดประจําเดือน การขาดฮอร์โมนเพศ การขาดสารหล่อลื่น(vaginal lubricant)
5) ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder) พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะหมดประจําเดือน การขาดสารหล่อลื่น การถูกทารุณกรรม ทางเพศและทางร่างกาย การเจ็บป่วยทางกาย
6) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder) พบว่า อายุที่มากขึ้น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การใช้สุรา ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
7) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation) พบว่า ความวิตกกังวล โดยเฉพาะความวิตกกังวลในการเข้าสังคม หรือในสถานการณ์ที่อาจถูกจับได้ว่ามีกิจกรรมทางเพศ
1 more item...
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
1) ปัจจัยทางชีวภาพ การมีระดับของฮอร์โมนของเพศตรงข้ามสูงกว่าปกติตั้งแต่ตั้งครรภ์
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
• ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ลักษณะที่มีมาแต่กําเนิดของด็ก (temperament) เด็กชายบางคนมีลักษณะที่เรียบร้อย ละเอียดอ่อน หรือเด็กหญิงบางคนมีลักษณะที่ห้าว ชอบใช้พลัง อาจทําให้เด็กมีลักษณะหรือการแสดงออกคล้ายเพศตรงข้าม และหากมีการเลี้ยงดูที่สนับสนุนการแสดงออกดังกล่าว ก็อาจทําให้เกิดการพัฒนาลักษณะของเพศตรงข้ามมากขึ้นด้วย
• ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม ทัศนคติของบิดามารดา และลักษณะการเลี้ยงดูก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเอกลักษณ์ทางเพศ การเกลียดชังเพศของเด็ก การไม่ห้ามปรามการแสดงออกของพฤติกรรมที่เป็นเพศตรงข้าม การส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นเพศตรงข้ามให้แก่เด็ก
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
1) ปัจจัยทางชีวภาพ แม้จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรมทางเพศที่วิปริต แต่พบว่าความสัมพันธ์ของความผิดปกติของฮอร์โมน androgenกับการเกิดอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศหรือพบความผิดปกติของสมองส่วน temporal lobe ในผู้ที่มีความผิดปกติในกลุ่มพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) อธิบายถึงความรู้สึกวิตกกังวลต่อการถูกตัดอวัยวะเพศในเด็ก (castration anxiety) ทําให้เด็กหาวัตถุที่เป็นสัญญลักษณ์ของมารดาเพื่อใช้ทดแทนความปลอดภัยของตน
ในส่วนของทฤษฎีการเรียนรู้(leaning theories) มีความเชื่อในเรื่องของการได้รับแรงเสริมที่ไม่เหมาะสมในจังหวะเวลาที่มีความเปราะบาง
แนวคิดทางปัญญา (cognitive theories) มีความเชื่อว่าการมีความคิดที่บิดเบือนไปของบุคคลส่งผลให้เกิดการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การบําบัดรักษาของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
1) ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation) พบหลักฐานค่อนข้างน้อยที่สนับสนุนประสิทธิภาพการรักษาทั้งโดยการใช้ยาและการบําบัดทางจิตสังคมในผู้ที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้มาตลอดชีวิต การรักษาที่ใช้ ได้แก่ การทําจิตบําบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy: CBT) หรือการเพิ่มการกระตุ้นทางเพศด้วยเครื่องกระตุ้น (vibrator)
2) ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(erectile disorder) เน้นที่การหาสาเหตุของความผิดปกติ และจัดการแก้ที่ต้นเหตุ นอกจากนั้นการใช้ยากลุ่มที่ช่วยเพิ่มการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปที่บริเวณอวัยวะเพศก็มีประสิทธิภาพในการเพิ่มการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ เช่น avanafil, sildenafil, vardenafil
3) ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder) ในผู้ที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้มาตลอดชีวิต อาจใช้การบําบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการฝึกการช่วยตนเอง(masturbatory training)สําหรับผู้ป่วยที่มีอาการความผิดปกติกลุ่มนี้เกิดขึ้นในภายหลัง เน้นที่การจัดการกับสาเหตุของปัญหา
4) ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders) เน้นที่การค้นหาสาเหตุที่ทําให้เกิดความผิดปกติ แล้วจัดการที่สาเหตุ
5) การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเ มื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder) เน้นการประเมินร่างกายอย่างครอบคลุมทั้งทางนรีเวชวิทยาและระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะสุขภาพจิต และความสัมพันธภาพกับคู่สมรส
6) การมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder)หลังผู้ป่วยได้รับการประเมินทัศนคติความเชื่อที่มีต่อการแสดงออกถึงความต้องการทางเพศของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ผู้ป่วยจะได้รับการปรับความคาดหวังเกี่ยวกับความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ของคู่ให้สอดคล้องกัน
7) ภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation) ใช้เทคนิการบําบัดเฉพาะที่เรียกว่า start stop techniqueด้วยการให้คู่ช่วยกระตุ้นให้ฝ่ายชายให้เกิดการตื่นตัวทางเพศและเมื่อมีสัญญาณว่าจะเกิดการหลั่ง ให้คู่หยุดการกระตุ้นเพื่อให้ฝ่ายชายฝึกการควบคุมการหลั่งหากมีการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยจะได้รับยารักษาอาการ
ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI
1 more item...
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
เด็กที่มีปัญหา gender dysphoria การรักษาจะประกอบด้วยการรักษาที่ตัวเด็กแบบรายคน การรักษาครอบครัวและการรักษาแบบกลุ่ม ทุกวิธีจะช่วยแนะแนวทางให้เด็กสํารวจ gender identity ของตนเองและgender ที่ตนเองสนใจ
การรักษาผู้ใหญ่ที่เป็น gender dysphoria มีทั้งการทําจิตบําบัด (psychotherapy) เพื่อช่วยสํารวจประเด็นปัญหาทางสุขภาพจิตและการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด
ในการรักษาผู้ป่วย gender dysphoria ด้วยฮอร์โมนที่ตกลงแล้วว่าจะพัฒนา gender roleเป็นเพศชาย อาจรักษาด้วยการฉีด testosteroneสัปดาห์ละครั้ง ทุกสัปดาห์หรือสัปดาห์เว้นสัปดาห์ เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ต้องระวังเรื่องความต้องการทางเพศ (sexual desire) ที่เพิ่มขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย estrogen จะต้องไม่สูบหรี่เพราะทั้ง estrogenกับบุหรี่เมื่อร่วมกันจะทําให้เสี่ยงต่อ blood clot เพิ่มขึ้น
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
1) การบําบัดทางชีวภาพ
ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศที่วิปริตแบบย้ําทํา เช่น voyeuristic, exhibitionistic, frotteuristic, และ pedophilic disordersการรักษด้วยยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs เช่น fluoxetine, sertralineช่วยปรับสภาพอารมณ์และลดความพลุ่งพล่านภายในใจ
การรักษาพฤติกรรมทางเพศที่วิปริตในกลุ่มที่มีความต้องการทางเพศสูงการใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogenic drugs) ได้แค่ medroxyprogesterone acetate (provera) ซึ่งช่วยในการยับยั้งการสังเคราะห์ออร์โมน testosterone
2) การบําบัดทางจิตสังคม
การทําจิตบําบัดแบบอิงการหยั่งรู้ (insight-oriented psychotherapy) ที่ช่วยให้บุคคลเกิดความเข้าใจและยอมรับตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง
การบําบัดการปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT) โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความคิดความเชื่อเรื่องเพศที่ไม่ถูกต้อง
การใช้พฤติกรรมบําบัด (behavioral therapy) เป็นการฝึกการเรียนรู้ใหม่ที่เหมาะสม