Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.4 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 5.4
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช บุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมายของกลุ่มโรคอาการทางกาย
กลุ่มโรคอาการทางกาย (somatic symptom and related disorders) บุคคลที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่างและมีความรุนแรงมากเกินจริงก่อนอายุ 30 ปีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นซ้ํา ๆ เรื้อรังนานหลายปี
โดยไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือหากตรวจพบความผิดปกติทางร่างกายก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้นที่เกิดขึ้นได้
1) มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตําแหน่งพร้อมกัน เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดข้อแขนขา ปวดท้องขณะมีประจําเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
2) มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ เช่นคลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียน ท้องเดิน
3) อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ เช่น เฉื่อยชาทางเพศ ประจําเดือนมาไม่สม่ําเสมอ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
4) อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 เช่น การทรงตัว แขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาต กลืนอาหารลําบาก พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น หูหนวก ชัก เป็นต้น
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตนเองป่วยเกือบตลอดชีวิตต้องมาหาแพทย์เป็นประจําแต่ผู้ป่วยก็ไม่ใคร่จะสนใจว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางร่างกายใด
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง
มักไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์บ่อยๆ แต่ผู้ป่วยก็คิดว่าไม่ได้ช่วยให้อาการของตนดีขึ้น ส่งผลทําให้มีอารมณ์เศร้า ไม่พอใจการรักษา และต้องการเปลี่ยนผู้รักษาไปหาคนใหม่ (doctor shopping)
สาเหตุ
โรค somatization disorder
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention) การรู้คิดและเข้าใจ(cognition) ทําให้ผู้ป่วยมีการรับรู้(perception) ความรู้สึกในร่างกายและมีการแปลความรู้สึกในร่างกายผิดไปจากคนปกติ
พันธุกรรม พบ อัตราการเกิดโรคนี้เท่ากับ 29 ต่อ 10 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคในแฝดจากไข่ใบเดียวกันกับแฝดไข่คนละใบ
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์มองว่า อาการแสดงทางร่างกายเป็นการสื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ ในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องทํา
ทฤษฎีการเรียนรู้มองว่าอาการแสดงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เป็นการรับแบบอย่างมาจากพ่อแม่การอบรมสั่งสอน หรือเกิดจากวัฒนธรรมประเพณีบ้างอย่างที่สนับสนุน
โรค hypochondriasis ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงในการเกิด hypochondriasis
1) ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
2) มีประวัติถูกกระทําทารุณในวัยเด็ก
3) มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็กหรือเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทการเป็นผู้ป่วยในการแก้ปัญหาชีวิต
4) มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกติโดยผู้ป่วยจะขยายการรู้สึกความผิดปกติในการทํางานของอวัยวะภายในร่างกายมากกว่าคนทั่วไปและมักแปลไปในทางเลวร้าย
การบําบัดรักษาของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบําบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไปส่วนใหญ่แพทย์ที่ทําการบําบัดรักษา
มักจะเป็นแพทย์ประจําเพียงคนเดียว และมีการนัดพบแพทย์อย่างสม่ําเสมอต่อเนื่องมีช่วงระยะเวลาในการนัดพบไม่ห่างยาวนานมากนัก
โรค hypochondriasis
โดยทั่วไปในผู้ป่วยโรคนี้การบําบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยจิตบําบัดอาจเป็นจิตบําบัดแบกลุ่ม ส่วนจิตบําบัดแบบอื่น ๆ เช่น จิตบําบัดเชิงลึก พฤติกรรมบําบัด การบําบัดความคิดและพฤติกรรม หรือแม้แต่การสะกดจิตก็อาจเป็นประโยชน์สําหรับผู้ป่วยในบางราย
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
1) การประเมินสภาพ (assessment)
ด้านร่างกาย
ส่วนมากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย มักจะได้รับการตรวจร่างกายทั่วไปอย่างถี่ถ้วน
ด้านจิตใจ
ควรมุ่งเน้นทางด้านอารมณ์และความคิดเป็นสําคัญ
ด้านสังคม
ประเมินแรงกดดันที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆมากขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด (therapeutic relationship) กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจพยาบาลมีการยอมรับและตระหนักว่า อาการทางร่างกายของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเป็นจริงสําหรับผู้ป่วย
ให้เวลาผู้ป่วยได้พูดระบายความในใจได้อย่างอิสระ ตั้งใจรับฟัง ใส่ใจกับคําพูด และการกระทําที่ผู้ป่วยแสดงออกมาโดยไม่นําตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของผู้ป่วย
พยาบาลควรหลีกเลี่ยงการให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่เป็นพยาธิสภาพของผู้ป่วยอาการ ด้วยการเพิกเฉยต่ออาการผู้ป่วยแต่ให้ความสนใจในตัวผู้ป่วย
ส่งเสริมความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วย
ดูแลให้จัดสภาพแวดล้อมที่เน้นความปลอดภัยเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการบําบัดทางจิตสังคม