Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน, นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย…
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ความหมายของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์
ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
ลงมือกระทําการทําร้าย ทําลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ตนเอง ผู้อื่น และสิ่งของ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคคลหรือสิ่งของที่ถูกกระทําได้รับความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเสียหาย
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผนล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี หรือเป็นการฆ่า ตัวตาย หรือการทําร้ายตนเอง ท่ีเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ หรือเป็นการกระทําที่เป็นผลมาจากอาการโรคจิต (psychosis) เช่น ประสาทหลอน
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
กลุ่มอาการทางสมองเฉียบพลัน (acute brain syndrome) อาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ บุคคล กระวนกระวาย
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม วิงเวียน ใจสั่น นิ้วมือจีบยืดเกร็ง (carpopedal spasm)
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทางกายหลายอย่างร่วมด้วยอาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็ว
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
อาการมึนเมา พฤติกรรมก้าวร้าว เหงื่ออกมาก ชีพจรเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกสบายผิดปกติ กระวนกระวายหงุดหงิด โกรธง่าย ไม่สบาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ม่านตาหด พูดไม่ชัด
สาเหตุ
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
สาเหตุจากโรคทางจิต
สาเหตุจากความผิดปกติทางกาย
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
สาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดพฤติกรรม
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท ติดสุราหรือยาเสพติด บุคลิกภาพผิดปกติ
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
central nervous system disorder ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมอง ชัก
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี การเสียสมดุลของเกลือแร่หรือ
สมดุลกรด-ด่าง และภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำ
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ต่ำหรือสูงกว่าปกติ
ภาวะฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำกว่าปกติ
Systemiclinesอาการพิษจากการดื่มสุราและสารเสพติด และอาการขาดสุราและสารเสพติด
การติดเชื้อ ระบบควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ
ยาท่ีเป็นสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลั่ง เช่น antihistamine, atropine, thiazine,
clozapine, tricyclic antidepressant, barbiturates, benzodiazepine
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
แม้ยังไม่ทราบสาเหตุท่ีแน่ชัดแต่ผู้ป่วยมักจะเร่ิม
ต้นมีการหายใจที่ผิดปกติ เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดและอารมณ์ท่วมท้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
พันธุกรรม พบว่า ญาติสนิทของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนท่ัวไป
ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีเหตุการณ์สําคัญในชีวิต เช่น การสูญเสีย
การพรากจากบุคคลอันเป็นท่ีรักหรือการมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะมีอาการนี้ครั้งแรก
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า
การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกังวล (alprazolam) และยารักษาอาการซึมเศร้า (imipramine) สามารถลดความรุนแรงของอาการ
แพนิคได้
การบําบัดรักษาของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
ป้องกันพฤติกรรมรุนแรง
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีเป็นมิตร จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุดและปลอดภัย เปิดโอกสให้ผู้ป่วยระบายอารมณ์ ความรู้สึก
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง
1) การแยกหรือจํากัดบริเวณ (seclusion)
2) การผูกมัด (physical restraints)
3) การใช้ยาควบคุมอาการ (medication)
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำ
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
การบําบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidol ในการรักษาผู้ป่วย delirium ที่มีอาการวุ่นวาย และนิยมใช้ benzodiazepine แทน antipsychotic drug ในการรักษาอาการ delirium
จาก alcohol withdrawal
การบําบัดด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การผูกยึด การส่งเสริมการรับรู้
สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ควรให้ป่วยอยู่ในที่ที่แสงสว่างเพียงพอ มีเสียงบ้างพอสมควร เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้ว ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงพฤติกรรมแปลกๆว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และอาการดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ อธิบายภาวะ delirium ให้ครอบครัวทราบ เพื่อลดความกังวลของครอบครัว
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าอาการที่เกิดขึ้นน้ันไม่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเพื่อ
ลดระดับความกังวลและกลัวของผู้ป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็ว
กว่าปกติหรือหายใจถี่
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย
ช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่มของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย
ใช้หลัn therapeutic communication
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดอาการ
ให้ยาตามแผนการรักษา
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย
6) อาการพิษ จากสารเสพติด และอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) สัญญาณประสาท (neuro signs) จนกว่าผู้ป่วยจะดี ขึ้น หมดภาวะพิษจากสารเสพติดและอาการขาตสารเสพติด
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway)
เฝ้าระวังอันตรายจากพฤติกรรมรุนแรง เอะอะ ก้าวร้าว เพ้อ หรือมีอาการประสาทหลอน
ให้การรักษาทางกาย เช่น ให้สารน้ํา เกลือแร่
ใช้ยา antidote เช่น narcane (narloxone) ในรายที่ได้สารพวกฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น (เฮโรอีน) เกินขนาด
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ชัก เช่น ให้ valium ฉีดเข้าหลอดเลือดดําช้าๆ และอาจให้ยาซ้ำได้ ถ้าจําเป็นผู้ป่วยอาจได้รับยากันชักฉีดเข้ากล้ามหรือชนิดรับประทานต่อไป
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียมาก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ท้องเสียและให้การบําบัดดูแลอาการทางกายอื่นๆ เซ่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน
ให้การปรึกษาเพื่อประคับประคองผู้ป่วยในการปรับตัวกับปัญหาในปัจจุบัน
ส่งปรึกษาจิตแพทยเ์พื่อรักษาภาวะติดสารเสพติด และอาการทางจิต เนื่องจากการใช้สารเสพติด และ/หรือปรึกษาแพทย์ทางอายุรศาสตร์เพื่อรักษาโรคแทรกซ้อนทางกาย
การพยาบาล
1) การจําแนกผู้ป่วย (triage)
2) ให้การพยาบาลบําบัดดูแลระยะแรก (initial intervention) ตามความรุนแรงของปัญหาที่ประเมิน ได้เพื่อจัดการให้ผู้ป่วยปลอดภัยและอาการสงบลง (stabilize patient)
3) การประเมินและบําบัดต่อเนื่อง
4) การจําหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบําบัดอื่น
นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย รหัส 180101041 พยบ.ปี 3