Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 4.4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1.1 ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มีพฤติกรรมซ้ําๆ
ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ลักษณะภายนอกของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป แต่เด็กจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป
โดยจะแสดงอาการต่างๆ ก่อนอายุ 36 เดือนแต่จะไม่ชัดเจน และจะค่อยๆปรากฏอาการให้เห็นในระยะต้นๆ ของการพัฒนาการในวัยเด็กตอนต้น
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม
ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับ
บุคคลอื่นได้, ไม่มีการสบสายตา, ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้ากิริยาท่าทางที่ประกอบการเข้าสังคม, ไม่สามารถแสดงความสนใจมีอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ไม่สามารถผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบวัจนภาษา
กับอวัจนภาษาหรือมีความบกพร่องในการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษากายในการสื่อสาร, ไม่มีการแสดงออกทางสี
หน้าท่าทางหรือการใช้น้ําเสียง, ไม่มีการสบสายตา, ไม่ชี้บอก, ไม่หันตามเสียงเรียกจากบุคคลอื่น
รวมทั้งมีความผิดปกติในการเปล่งออกเสียงพูด, การใช้คําพูดหรือการใช้ภาษาที่ไม่มีบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้
ร้อยละ 50 ของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมจะมีพัฒนาการพูดช้า, ไม่มีพัฒนาการด้านการพูดหรือพัฒนาการพูดหยุดชะงัก ในรายที่พูดได้ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือชักชวนสนทนาโต้ตอบกับบุคคลอื่นได้ก่อน
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ
มีความผิดปกติในการเข้าหาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์บุคคลอื่น, ไม่สามารถเลียนแบบการกระทําของผู้อื่นได้, ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือการมีกลุ่มเพื่อน, มีความยากลําบากในการเล่นตามจินตนาการหรือการเล่นบทบาทสมมติเล่นไม่เป็น ชอบเล่นคนเดียว
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จํากัดซ้ําๆ (stereotyped) ที่ไม่มีประโยชน์และไม่สามารถหยุดหรือยืดหยุ่นพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างน้อย 2 ข้อ
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ํา (mannerism) เช่น การสะบัดมือ การหมุนตัว การหมุนต้นคอการโยกตัว ใช้วัตถุให้มีการเคลื่อนไหวซ้ําๆ หรือใช้คําพูดซ้ําๆ
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจําวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆ ซ้ําๆ ไม่มีความยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จํากัดในขอบเขตที่จํากัดหรือเฉพาะเจาะจง
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็นต้น) มากหรือน้อยกว่าบุคคลทั่วไป
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในคู่ฝาแฝดแท้ (ไข่ใบเดียวกัน) ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมสเปกตรัมแล้วแฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 แต่สําหรับในคู่ฝาแฝดเทียม (ไข่คนละใบ) จะมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมลดลง ร้อยละ 30
2) ปัจจัยทางสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle) มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขนาดเซลล์สมองที่มีขนาดเล็ก หรือใหญ่กว่าปกติ
ร้อยละ 32 ของเด็กภาวะออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรค
ลมชักแบบ grandmal seizure และมีความผิดปกติของคลื่นสมองจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองถึงร้อยละ 10 – 80 โดยไม่มีรูปแบบของความผิดปกติของคลื่นสมองที่เฉพาะเจาะจง
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน(serotonin)
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่ที่มีอายุมาก
เด็กที่คลอดก่อนกําหนด
อายุครรภ์น้อยกว่า 33 สัปดาห์
น้ําหนักแรกเกิดต่ํากว่าเกณฑ์มาตราฐาน
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก (immunological incompatibility)
เลือดออกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ติดเชื้อหัดเยอรมัน
ได้รับสารตะกั่ว
การบําบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
มีเป้าหมายที่สําคัญ คือ “เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม และด้านการสื่อสารที่ดีขึ้น และลดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์”
1) การรักษาทางยา
ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อการรักษาให้หายขาดจากภาวะออทิซึมสปกตรัมโดยตรง แต่เป็นการนํายามาใช้บรรเทาอาการบางอย่างทีเกิดร่วมกับภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ยา methylphenidate ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
ยา haloperidol กับ risperidone ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวายก้าวร้าว พฤติกรรมทําร้ายตนเองหรือผู้อื่น
ยา fluoxetine ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ําๆ
ยา lorazepam ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
ด้วยการทําอรรถบําบัด (speech therapy) ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารเป็นสําคัญ
ให้เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าให้มีพัฒนาการกลับมาใกล้เคียงกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติมากที่สุด และลดรูปแบบการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
สิ่งสําคัญเพื่อการบําบัดทางด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองของเด็กจะมีส่วนสําคัญในการกระตุ้นให้เด็กฝึกการสื่อสารผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ ผ่านการเล่นและผ่านการทํากิจวัตรประจําวันร่วมกัน
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
โดยฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม สบสายตา
บุคคลอื่นเวลาต้องการสื่อสาร กระตุ้นความเข้าใจในอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น
4) พฤติกรรมบําบัด(behavioral therapy)
มีเป้าหมาย คือ “การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม การ
หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และการสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ”
โดยมีเทคนิคทางพฤติกรรมบําบัดทั้งการให้แรงเสริมทางบวก การให้แรงเสริมทางลบ การให้รางวัล และการลงโทษ
5) การบําบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
มีเป้าหมายหลักคือ “เพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งมักเป็นโรคร่วมในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม”
6) ศิลปะบําบัด (art therapy)
เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาการด้านอารมณ์ และทักษะด้านอื่นๆ โดยศิลปะจะช่วยพัฒนาด้านจิตใจ เสริมสร้างสมาธิ สร้างจินตนาการและการสื่อสารผ่านงานศิลปะ
7) ดนตรีบําบัด (music therapy)
เพื่อพัฒนาทักษะที่จําเป็นนการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ฝึกการแสงออกทางด้านอารมณ์ทางสังคม ส่งเสริมการสื่อสารโดยการใช้ภาษาทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาให้ดียิ่งขึ้นด้วย
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
โดยการจัดโปรแกรมการศึกษาแบบรายบุคคล ( individualization education program) จําเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความสามารถ ความบกพร่อง และความสนใจของเด็กแต่ละคน
9) การให้คําแนะนําครอบครัว ซึ่งมีส่วนสําคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้เด็ก
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation) ไม่เพียงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะ
พื้นฐานเฉพาะทางอาชีพเท่านั้น ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในทักษะที่จําเป็นในการทํางานในอนาคตให้เด็ก
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การประเมินสภาพ (assessment)
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ4-18 ปี
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
การฝึกกิจวัตรประจําวัน ให้เด็กรู้จักทํากิจวัตรประจําวัน
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย
ฝึกทักษะทางสังคม
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม
การเพิกเฉยหรือทําเป็นไมใส่ใจกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องใช้ความอดทนและกระทําอย่างสม่ําเสมอ
การแยกให้อยู่ตามลําพังชั่วคราว (time out)