Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ
ภาวะเพ้อ (Delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน เป็ นกลุ่มอาการ ( syndrome) ไม่ใช่โรค เกิดจาก หลายสาเหตุและถือเป็ นภาวะฉุกเฉิน ที่มีลักษณะความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ การรู้สึกตัว(consciousness) เกิดการเปลี่ยนแปลงของการรู้คิดและการรับรู้ (cognitive function) อาการทางจิตที่พบบ่อยคือความผิดปกติของ อารมณ์และพฤติกรรม
ลักษณะอาการ
A. มีความบกพร่องของสมาธิความสนใจ ( Attention) และระดับความรู้สึกตัว ( consciousness) B. การเปลี่ยนแปลงในข้อ A. เกิดขึ ้นในระยะเวลาสั ้นๆ แบบเฉียบพลัน อาการขึ ้นๆลงๆ ในระหว่างวัน C. ตรวจพบความผิดปกติความคิด การรับรู้ ( cognitive function )เช่น ความจ าภาษา การรับประสาท สัมผัส การรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง (Disorientation)
D. อาการต่างๆข้างต้นไม่สามารถอธิบายได้จากโรคอื่นในกลุ่ม Neurocognitive disorder หรือจากภาวะ coma
E. มีหลักฐานจากประวัติการเจ็บป่ วย การตรวจร่างกาย และการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ ว่าอาการ ต่างๆเป็ นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของอาการทางกาย การใช้ยา สารเสพติด ได้รับสารพิษ หรือจาก หลายสาเหตุร่วมกัน
จากเกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5 ข้างต้น
ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิอย่างมาก ไม่สามารถให้ความสนใจ จดจ่อการงานหรือกิจกรรมเรื่องใดๆได้เป็ น เวลานาน คิดเลขง่ายๆ ไม่ได้
กระแสความคิดไม่ติดต่อกัน ขาดตอน ท าให้มีความผิดปกติของการพูด พูดจาสับสน งุนงง ความจ า บกพร่อง โดยเฉพาะความจ าระยะสั ้น จ าเรื่องราวใหม่ๆไม่ได้ คิดไม่เป็ นระบบ
สติสัมปชัญญะ การรู้สึกตัวผิดปกติ สลึมสลือ งุนงง สับสน หงุดหงิด เอะอะวุ่นวายรุนแรง
สติสัมปชัญญะเลือนราง ไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย ไม่สามารถตั ้งสติให้จดจ่ออยู่เรื่องใดได้
มีอาการรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง ที่เรียกว่า Disorientation
มีปัญหาการสื่อสารพูดไม่รู้เรื่อง พูดสับสนไม่ต่อเนื่อง (incoherence) พูดเสียงดัง อ้อแอ้ รัว เร็ว
การรับรู้ผิดปกติ ( Perception disorder) และความคิดผิดปกติ (Thinking disorder) มีอาการประสาทหลอน (Hallucination)พบบ่อยคือเห็นภาพหลอนที่ไม่มีอยู่จริง (visual hallucination) หูแว่ว (auditory hallucination)ส่วนอาการสัมผัสหลอน (tactile hallucination)
ความผิดปกติของการนอน การตื่น ตื่นกลางคืน นอนกลางวัน การนอนมีลักษณะหลับๆตื่นๆเป็ นช่วง สั ้นๆ ไม่ต่อเนื่อง
การเคลื่อนไหวหรือการท ากิจกรรมผิดปกติ เคลื่อนไหวมากขึ ้น เดินวุ่นวาย นั่งไม่ได้ หรือเคลื่อนไหว ลดลง คืออยู่เฉยๆไม่ยอมท าอะไร นอนตลอดเวลา อาการมักจะรุนแรงมากขึ ้นในช่วงกลางคืนหรือ เช้ามืด เรียกว่า sundowning syndrome
Alcoholic withdrawal delirium เป็ นภาวะที่เกิดจากการดื่มสุราในปริมาณสูงๆ เป็ นระยะเวลานาน และดื่มน้อยลงหรือหยุดดื่มทันที อาการจะปรากฏหลังการหยุดดื่ม 48 ชม. หรือมีอาการภายใน 7 วัน จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ตื่นเต้น อยู่นิ่งไม่ได้ ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการประสาทหลอนทางตาหรือทาง หู มีอาการสั่น งุนงง สับสน กระสับกระส่าย พูดเพ้อเจ้อไม่ติดต่อกัน
สาเหตุของภาวะเพ้อ
Metabolic imbalance จาก dehydration, hypoxia, hypoglycemia, electrolyte imbalance, hepatic - renal disease เป็นต้น
Substance abuse toxicity & withdrawal syndromes เช่น อาการ delirium tremens พบในผู้ป่ วยโรค พิษสุราเรื ้อรัง ( Alcoholism ) ช่วงขาดสุรา หรือผู้ที่ติดสารเสพติด
การติดเชื ้อในร่างกาย เช่น ปอดบวม ไข้ไทฟอยด์ มาลาเรีย การติดเชื ้อที่สมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื ้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะโลหิตเป็ นพิษ เป็ นต้น
การทำผ่าตัด เส้นเลือดในสมองแตก การอุดตัน หรือเนื้องอกในสมอง
ระบบประสาทสมองผิดปกติ เกิดการชัก ภาวะเลือดไปเลี ้ยงสมองน้อยกว่าปกติ การบาดเจ็บที่ศีรษะ บาดเจ็บที่สมอง
ภาวะไข้โดยเฉพาะไข้สูงในผู้สูงอายุ หรือผู้ทุโภชนาการ
การขาดวิตามิน ในผู้ที่ติดสุราเรื ้อรัง มักขาดวิตามิน B1 B12
ได้รับสารพิษ ยาฆ่าแมลง พิษจากสารโลหะหนัก ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว ก๊าซพิษจากท่อไอเสียรถยนต์
ความผิดปกติของหลอดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว อวัยวะต่างๆล้มเหลว
สิ่งกระตุ้นทางจิตสังคมที่ท าให้เกิดความเครียดแล้วเกิดอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับติดต่อกันเป็ น เวลานาน ความเจ็บปวด การไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หรือภาวะขาดความรู้สึก(Sensory deprivation) หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่สับสนหรือมีสิ่งเร้ามากเกินไป
การบำบัดรักษาบุคคลที่มีภาวะเพ้อ
การรักษาจำเพาะ
รักษาโรคหรือภาวะผิดปกติที่เป็ นสาเหตุ เป็ นการรักษาที่ดีที่สุด เมื่อสาเหตุหมดไป อาการจะดีขึ ้น ผู้ป่ วย จะหายเป็ นปกติภายใน 3-7 วัน หยุดการใช้ยาที่ไม่จ าเป็ นทุกชนิด ยาอาจท าให้ผู้ป่ วยมีภาวะเพ้อ เช่น ยา รักษาโรคกระเพาะกลุ่ม H2-blocker
การรักษาโดยใช้ยา ผู้ป่ วยที่มีอาการอันตรายต่อสภาวะร่างกาย หรือก่อให้เกิดความทุกข์ให้ผู้ป่ วย เช่น เห็นภาพหลอนที่ท าให้ผู้ป่ วยกลัว ลนลาน นอนไม่ได้
กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ
การประเมินผู้ป่วย
1 ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง สับสน ช่วงกลางคืน พลบค ่า เช้ามืด
2 ความจ า สูญเสียความจ าระยะสั ้น
3 การรู้เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง
4 อารมณ์ ขึ ้นๆลงๆ ไม่แน่นอน ตื่นเต้นตกใจ ถูกกระตุ้นง่าย
5 การรับรู้บกพร่อง มีหูแว่ว เห็นภาพหลอนซึ่งพบได้มาก เห็นภาพลวง แปลเหตุการณ์ผิด ดึงสาย น ้าเกลือ วิ่งหนี หวาดกลัว
6 การควบคุมอารมณ์บกพร่อง การตัดสินใจบกพร่อง มีความวิตกกังวล ตื่นกลัว ซึมเศร้า เฉยเมย บาง คนรื่นเริงวุ่นวายมากเกิน
7 สติปัญญาบกพร่อง คิดแก้ปัญหาไม่เหมาะสม ตอบค าถามไม่ได้
8 อาการทางกายที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบต่างๆบกพร่อง เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อ ออก ม่านตาขยาย ความดันโลหิตสูง หายใจล าบาก บวม ตาตัวเหลือง
9 ประเมินการใช้ยา และการได้รับสารพิษ สารเสพติด
การวินิจฉัยการพยาบาล
1 เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุและบาดเจ็บเนื่องจากการรับรู้แปรปรวน
2 การตัดสินใจและดูแลตัวเองบกพร่องเนื่องจากพร่องทางกระบวนการทางสมองและสติปัญญา
3 การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากสมองเสียหน้าที่
4 แบบแผนการนอนแปรปรวน
5 กระบวนการคิดและการรับรู้บกพร่อง
3.การปฏิบัติการพยาบาล
1 ป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บโดยจ ากัดบริเวณผู้ป่ วยให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ยกข้างเตียงขึ ้น ทุกครั ้ง ถ้าจ าเป็ นอาจต้องผูกมัดผู้ป่ วยไว้
2 ผู้ป่ วยที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ มีแนวโน้มเป็ นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น พยาบาลต้องจ ากัด พฤติกรรมให้ผู้ป่ วยสงบโดยเร็ว โดยเรียกชื่อผู้ป่ วยให้ผู้ป่ วยพูดระบายอารมณ์และบอกว่าพยาบาลจะช่วยเหลือ ผู้ป่ วยอย่างไรบ้างถ้าจ าเป็ นต้องใช้ยา PRN ก็ต้องบอกให้ผู้ป่ วยร่วมมือ
3 ผู้ป่ วยที่วุ่นวายมากอาจไม่ได้รับประทานอาหารและไม่ได้พักผ่อนพยาบาลต้องดูแลเรื่องนี ้โดยให้ ยา PRN ที่ท าให้ผู้ป่ วยได้พักหรือรายงานแพทย์เพื่อให้สารน ้าทางหลอดเลือดด า
4 ถ้าผู้ป่ วยได้ยินเสียงหรือเห็นภาพหลอนแล้วมีความหวาดกลัว พยาบาลไม่ควรโต้แย้งเรื่องเสียง หรือภาพหลอนนั ้นแต่ต้องใส่ใจในความรู้สึกของผู้ป่ วยและให้ความมั่นใจว่าผู้ป่ วยจะปลอดภัยโดยบอกผู้ป่ วยว่า “ดิฉันเข้าใจว่าคุณกลัวมากใช่ไหมคะ ดิฉันจะอยู่เป็ นเพื่อนและช่วยเหลือคุณให้ปลอดภัย”
5 ลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่ วยโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน
6.อธิบายให้ความรู้แก่ญาติ/ผู้ดูแล ให้เข้าใจอาการผิดปกติ และ การบ าบัดรักษาพยาบาลของทีม เพื่อให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการบ าบัดรักษาพยาบาล