Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยคลอดด้วยเครื่องสูญญากาศ (Vacuum Extraction) - Coggle Diagram
การช่วยคลอดด้วยเครื่องสูญญากาศ
(Vacuum Extraction)
ทำหน้าที่
เสริมแรงจากการหดรัดตัวของมดลูกร่วมกับแรงเบ่งตามธรรมชาติของผู้คลอด
ข้อบ่งชี้
ด้านมารดา
เบ่งคลอดเป็นเวลานานจนหมดแรงร่วมกับมีภาวะขาดสารน้ำและสารอาหาร
Prolonged Second stage of labour สำหรับทารกท่า Occipito-posterior และOccipito-transverse (Occipito-lateral )
มารดาเป็นโรคบางอย่าง (Maternal Disease) เช่น โรคหัวใจ วัณโรค ความดันโลหิตขณะตั้งครรภ์ Previous scar ที่มดลูก และ Myasthenia gravis เป็นต้น
มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ (Complication of Pregnancy) เช่นPlacenta previa
Pelvic disproportion ในรายที่มี Relative disproportion และให้เป็นเพียง Trial เท่านั้น
ด้านทารก
ทารกอยู่ในภาวะFetal distress
ข้อบ่งห้าม
ทารกท่าผิดปกติ เช่นท่า Face Transverse presentation เพราะไม่มีมีที่ให้วางถ้วยสูญญากาศ
Cephalopelvic disproportion อย่างชัดเจน
Fetal distress แต่ถ้าปากมดลูกเปิดไม่หมดหรือศีรษะเด็กยังอยู่สูง หรือ Fetal distress มาก
Premature labor เพราะจะเกิดอันตรายต่อศีรษะทารก
Posterior position
Prolapsed cord
ขั้นตอนของวิธีการช่วยคลอด
ก่อนทำ
พิจารณาถึงภาวะเหมาะสมต่อการใช้เครื่องสุญญากาศ ดังนี้คือ
1.1 ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว (ประมาณ 10 ชม.) และคลำไม่ได้ขอบปากมดลูกมาก
1.2 ถุงน้ำแตกแล้ว
1.3 ต้องทราบท่าเด็ก
1.4 ต้องทราบระดับส่วนนำ โดยศีรษะเด็กควรอยู่ต่ำอย่างน้อยส่วนหัวต้องอยู่ระดับ +2
1.5 ต้องไม่ใช่ Obstructed labour คือศีรษะเด็กโตกว่าช่องเชิงกรานมารดา (Absolute CPD)ไม่มีก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
1.6 มดลูกมีการหดรัดตัวดี
การเตรียมผู้ป่วย
จัดให้มารดานอนในท่า dorsal Lithotomy เพื่อสะดวกต่อการช่วยคลอด
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ปูผ้าที่สะอาดปราศจากเชื้อ 4 ผืน และทำให้ติดกันหรืออาจใช้ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางแทนผ้าผืนบนและล่าง แล้วปูผ้าอีก 2 ผืนด้วยด้านข้างหน้าขา
สวนปัสสาวะ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
การพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพมารดาทุก 30 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรก ต่อมาวัดทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าสัญญาณชีพจะส่ม่ำเสมอ แล้วจึงวัดสัญญาณชีพปกติ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
2.ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดให้ใส่ผ้าอนามัยซับเลือดและบันทึกจำนวนเลือดที่ออกเพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอด
3.สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีให้คลึงมดลูกทันทีจนกว่าจะหดรัดตัวและหยุดคลึงเมื่อมดลูกหดรัดตัวดีแล้ว หลังจากครบ 24 ชั่วโมงให้วัดความสูงของมดลูกเพื่อประเมินการเข้าอู่ของมดลูก
4.ดูแลกระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้มารดาถ่ายปัสสาวะภายใน 2 – 3 ชั่วโมงแรกหลังคลอดและให้ถ่ายปัสสาวะเป็นระยะๆใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อมิให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
5.สังเกตลักษณะสี และกลิ่นของน้ำคาวปลา เพื่อประเมินการติดเชื้อ
6.ดูแลความสุขสบายทั่วๆไปของมารดาภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเพื่อให้มารดารู้สึกสบายและพักผ่อนได้เต็มที่
7.ตรวจดูแผลฝีเย็บและอบแผลฝีเย็บ เพื่อให้การไหลเวียนของโลหิตดี ทำให้แผลฝีเย็บแห้งและติดดี
8.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตรให้เร็วที่สุดในระยะหลังคลอด โดยให้มารดามีโอกาสสัมผัสบุตรโอบกอดบุตรตามความเหมาะสมกับสภาพของมารดา
9.เปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุย ซักถามเกี่ยวกับประสบการณ์การคลอดของมารดาเพื่อให้มารดาเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการคลอดตามความเป็นจริงซึ่งจะช่วยให้มารดาลดความวิตกกังวล
10.ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตร เช่นเดียวกับรายที่คลอดปกติ