Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.9 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า, :star…
บทที่ 5.9 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า
ความหมาย
อารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกว่างเปล่า หรือหงุดหงิด ร่วมกับมีอาการทาง กายหรือการเปลี่ยนแปลงของ cognition ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การพยาบาลบำบัดภาวะซึมเศร้า (therapeutices of depression)
การบำบัดด้านจิตใจหรือการทำจิตบำบัด (psychotherapy)
2.1 การบำบัดทางปัญญา (Cognitive Therapy : CT)
2.2 การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy :CBT )
2.3 การทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy : IPT)
2.4 การบำบัดพลวัตแบบย่อสั้น (Brief Dynamic Therapy :BDT)
2.5 การบำบัดโดยการแก้ปัญหา (Problem -Solving Therapy)
2.6 การบ าบัดพฤติกรรมแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน-กลุ่มฝึกทักษะ (Dialectical Behavior Therapy -Based Skills Group : DBT - Based Skills Group)
2.8 การให้ปรึกษา (Counseling)
2.7 การท าจิตบ าบัดแบบจิตวิเคราะห์ระยะสั้น (Short-Term Phychodynamic Psychotherapy Psychodynamic lnterventions / Psychological Interventions)
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (milieu therapy)
3.2 คุณลักษณะของผู้บำบัดเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
3.3 การจัดกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสมสามารถดึงความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า กลับมาอีกครั้ง
3.1 การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นมิตร ปลอดภัย
การบำบัดด้านร่างกาย (physical therapyies)
1.1 การรักษาด้วยยา (medication)
กลุ่มที่1 Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOIs)
กลุ่มที่ 2 Tricyclic and Tetracyclic Antidepressants (TCAs)
กลุ่มที่ 3 Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs)
กลุ่มที่ 4 Newer Antidepressants (NAs)
1.2 การรักษาด้วยไฟฟ้า (eletroconvulsive therapy : ECT )
มุ่งเน้นการปรับภาวะสมดุลของ สารสื่อประสาทสมองโดยใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวบ าบัด ผู้รักษาจะเลือกใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
1) มีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรง จนมีหรืออาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย
2) ไม่สามารถรับประทานยาได้
3) ไม่ตอบสนองต่อการบำบัดรักษาด้วยยา หรือรับประทานยาต้านอารมณ์ซึมเศร้าแล้วไม่ ได้ผลหรือได้ผลน้อย
4) ผู้ที่มีอาการทางจิตรุนแรง เช่น หวาดระแวง หลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น
1.3 การจำกัดพฤติกรรม (setting limit)
เริ่มต้นจากการประเมินภาวะซึมเศร้าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงและคุกคามความ ปลอดภัย ทั้งของผู้ใช้บริการและสิ่งแวดล้อม
อธิบายผู้ใช้บริการเข้าใจถึงความจำเป็นของการจำกัดพฤติกรรม ด้วยท่าทีและบุคลิกภาพสงบ เสียงดังฟังชัด ยืนในระยะห่างพอสมควร
ประเมินศักยภาพของตนเองพร้อมทั้ง ประเมินแหล่งช่วยเหลือที่มีในขณะนั้น
ดำเนินการผูกยึดด้วยเทคนิคที่ปลอดภัย
จากนั้นดูแลอย่างใกล้ชิด เยี่ยม ทุก 30 นาที เพื่อประเมินอาการความรู้สึกความสุขสบายทางด้านร่างกาย และความสามารถในการควบคุมตนเอง
หลังจากอาการสงบและประเมินได้ว่า ผู้ใช้บริการสามารถควบคุมตนเองได้ปลอดภัย ผู้ดูแลควรเลิกผูก ยึดทันที
โรคสำคัญในกลุ่มนี้
1.Disruptive mood dysregulation disorder
2.Major depreesive disorder
3.Persistent depreesive disorder (dysthymia)
4.Premenstrual dysphoric disorder
ปัญหาและแนวทางการพยาบาลโรคซึมเศร้า
ปัญหาที่ 1 มีแนวโน้มทำร้ายตนเองซ้ำเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้า
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองซ้ำภายใน 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยไม่แสดงอาการซึมเศร้าเบื่อหน่ายสีหน้าแจ่มใสสบตามีความสัมพันธ์ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยท่าทีเป็นมิตรอบอุ่นมั่นคง
ประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมทำร้ายตัวเองประเมินจากสีหน้าท่าทางการแสดงออกทางคำพูด
อารมณ์การเคลื่อนไหวเพื่อวางแผนการพยาบาลให้ได้รับความปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมและปลอดภัยปราศจากสิ่งกระตุ้นและรบกวนจัดเก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็น
เครื่องมือในการทำร้ายตนเองเช่นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสายของที่แตกหักหรือสามารถใช้เป็นอาวุธของแหลม
ของมีคมน้ำยาเคมีเป็นต้น
สนทนาเพื่อการบำบัด (interaction) เพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความซึมเศร้าความทุกข์ความเครียด
และความวิตกกังวลช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักรู้และเข้าใจปัญหาของตนตามสภาพความเป็นจริง
ให้ผู้ป่วยบอกข้อดีของตนเอง
จัดกิจกรรมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและปรับตัวในสังคมได้ เช่น กลุ่มวาดภาพกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองกลุ่ม เสริมสร้างคุณค่าในตนเอง เป็นต้น
มอบหมายงานให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเช่นเช็ดโต๊ะเก็บแก้วน้ำดื่ม
เป็นผู้นำ การออกกำลังกายตอนเช้าเป็นต้นพร้อมให้คำชมเชยเมื่อผู้ป่วยทำได้ตามที่มอบหมายเพื่อให้เกิดกำลังใจ
แนะนำให้ครอบครัวมาเยี่ยมสม่ำเสมอ
ดูแลให้รับประทานอาหารและยาตามแผนการรักษาของแพทย์รวมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและมาลงบันทึกในรายงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการทำร้ายตัวเอง /ไม่ไกลการทำร้ายตนเองซ้ำ
การประเมินผล
หลังจากได้รับการบำบัดตามแผนการรักษาพยาบาลในระยะหนึ่งสัปดาห์แรกผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใสขึ้นมี ความสัมพันธ์กับพยาบาลมากขึ้นพูดทักทายกับพยาบาลพูดคุยล้อเล่นกับเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันได้ไม่พบพฤติกรรม ทำร้ายตนเองสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหลังจากได้รับการบำบัดตามแผนการรักษาในสัปดาห์ที่สองผู้ป่วยมีสีหน้า แจ่มใสขึ้นเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆโดยไม่ต้องกระตุ้นกล้าแสดงออกความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในกลุ่มได้มองเห็น คุณค่าในตนเอง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่าไม่มีใครรักไม่มีค่าแม่กับยายชอบด่าว่า อยากตาย
S: มารดาบอกว่ากินยาเกินขนาด 5 ครั้งครั้งหลังสุด 3 อาทิตย์ก่อนมาโรงพยาบาล
O: สีหน้าไม่แจ่มใสซึมเศร้านั่งก้มหน้าไม่สบตา
ปัญหาที่ 2 ได้รับสารน้ำและอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะซึมเศร้า
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีน้ าหนักเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมต่อ 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้เองโดยไม่ต้องกระตุ้น
ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสารอาหารและคุณค่าของอาหาร
กิจกรรมการพยาบาล
รวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของผู้ป่วย เช่น โรคประจำตัว นิสัยการรับประทานอาหาร ปัญหาแผลในช่องปาก และฟัน เป็นต้น
กระตุ้นให้ผู้ป่วยยังรับประทานอาหารโดยดูแลความสะอาดปากและฟัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการรับประทานอาหารจัดอาหารให้ดูน่ารับประทานชักชวนและกระตุ้นให้รับประทานอาหาร
ดูแลให้รับประทานอาหารตามเวลาครบสามมื้อ
แนะนำให้มารดานำอาหารที่ผู้ป่วยชอบมารับประทาน
ติดตามชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียของของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับ
สังเกตและบันทึกพฤติกรรมจำนวนอาหารและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับในแต่ละวัน
วัตถุประสงค์
ได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การประเมินผล
หลังจากให้การพยาบาลหนึ่งสัปดาห์แรกผู้ป่วยรับประทานได้ 2/3 ถาด
มารดามาเยี่ยมวันเว้นวัน ซื้ออาหารและขนมที่ผู้ป่วยชอบมาให้
ผู้ป่วยรับประทานได้หมดผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ครบ 3มื้อ โดยไม่ต้อง
กระตุ้นชั่งน้ำหนักหนึ่งสัปดาห์จากเดิม 43 กิโลกรัมขึ้นเป็น 43.5 กิโลกรัม
ข้อมูลสนับสนุน
S: - ผู้ป่วยบอกว่า "เบื่ออาหารกินได้มื้อละ 4-5 คำ "
S: -มารดาบอกว่า "กินยาก อยู่บ้านไม่กินเลย”
O: ผู้ป่วยรูปร่างผอมบาง BMI =17.48(น้ าหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานเอเชีย)
ปัญหาที่ 3 แบบแผนการนอนแปรปรวนเนื่องจากมีความวิตกกังวลสูง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงภายใน 1 สัปดาห์และมีสีหน้าสดชื่นแจ่มใสขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและซักถามลักษณะการนอนหลับของผู้ป่วยได้แก่ช่วงเวลาที่เข้านอนระยะเวลาการนอน สังเกตสีหน้าและพฤติกรรมที่พักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น สีหน้าอิดโรยไม่แจ่มใส หาวบ่อย เป็นต้น
จัดสิ่งแวดล้อมในห้องผู้ป่วยให้เหมาะสม เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวนแยกผู้ป่วยที่ส่งเสียงดังหรือ รบกวนผู้ป่วยอื่นให้ออกจากห้องจัดให้มีแสงสว่างเหมาะสมแก่การนอนหลับไม่เปิดไฟสว่างเกินไปและเปิดพัด ลมให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ประเมินและสังเกตการนอนของผู้ป่วยโดยตรวจเยี่ยมทุก 1 ชั่วโมงและจดบันทึกเพื่อวางแผนการ พยาบาลที่เหมาะสม
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความคับข้องใจรวมทั้งค้นหาสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ
ชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการรับไหว้ในโรงพยาบาลเป็นไปเพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมมีการ ประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง
เปิดโอกาสให้มารดาได้อยู่ตามลำพังและพูดคุยกับผู้ป่วยและแนะนำให้มันมาเยี่ยมผู้ป่วยอย่าง สม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งให้รักษาในโรงพยาบาล
ซักถามถึงวิธีการที่ผู้ป่วยใช้ในการแก้ไขปัญหาเมื่อนอนไม่หลับ และแนะนำให้ทดลองปฏิบัติ โดย พยาบาลติดตามประเมินผลซ้ำ หากไม่ได้ผลให้ร่วมกันวางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการหาวิธีการอื่น เช่น วิธีการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การควบคุมการหายใจ เป็นต้น
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายและกิจกรรมในช่วงกลางวัน เช่น เข้ากลุ่มกายบริหาร กลุ่มนันทนาการหรือกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหว เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการผ่อนคลายและพักผ่อนได้ดีใน เวลากลางคืน
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาพร้อมทั้งสังเกตบันทึกการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอน หลับและฤทธิ์ข้างเคียงของยา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการนอนหลับพักผ่อนเพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
การประเมินผล
ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างเวลา 21.00-05.00 น. วันละ (6-8 ชั่วโมง)
สีหน้าสดชื่นแจ่มใสมากขึ้น จากการสนทนาผู้ป่วยรู้สึกสบายใจมากขึ้นกลางคืนหลับได้ดี
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า ตื่นกลางดึกเวลา 02.05 น. แล้วนอนไม่หลับหลับหลับตื่นๆ หลับไม่สนิท
S: ผู้ป่วยบอกว่า นอนเฉยเฉยๆทั้งทั้งที่ไม่หลับไม่กล้าบอกพยาบาล
S: ผู้ป่วยบอกว่ากังวลที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลแม่ยายไม่รัก
O: สีหน้าอิดโรยไม่แจ่มใสกังวลคิ้วขมวดเข้าหากัน
ปัญหาที่ 4 แบบแผนการ เผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเนื่องจากบกพร่องทางอารมณ์
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยบอกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้เมื่อมีปัญหาจะพูดคุยปรึกษากับพยาบาลหรือมารดา
ผู้ป่วยและครอบครัวได้วางแผนร่วมกันในการแก้ปัญหามีสัมพันธภาพกับครอบครัวมากขึ้น
ผู้ป่วยบอกแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือในการแก้ปัญหาได้
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบ าบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ปลอดภัยและมั่นใจในการที่จะบอกเล่าความคิด ความรู้สึก มุ่งให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาและความ ต้องการของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความเจ็บป่วย สามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม พยาบาลสร้างสัมพันธภาพด้วยการสนทนาเพื่อการบำบัด สำหรับผู้ป่วยรวมจำนวน 6 ครั้ง
หลีกเลี่ยงคำพูดหรือการกระทำที่แสดงให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไร้ค่าไม่มีศักดิ์ศรี เช่น ทำอะไรก็ได้สักอย่าง
เอาใจใส่ รับฟังเรื่องราวของผู้ป่วยด้วยท่าทางที่จริงใจและเป็นมิตร พูดคุยชี้ให้ผู้ป่วยพูดถึง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ประเมินวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วย รวมทั้งผลของการใช้วิธีการนั้นเพื่อดูความสามารถในการ จัดการปัญหา อภิปรายวิธีการแก้ปัญหาในอดีตเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ โกรธ เสียใจ ผิดหวัง เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยเข้าใจกระบวนการปรับตัวต่อความเศร้าโศก สูญเสีย มองว่าการมีความโกรธ ไม่พอใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับและแก้ไขในทางที่เหมาะสม ไม่ทำร้ายตนเองหรือหลบหนีปัญหา
ช่วยผู้ป่วยวิเคราะห์ความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหาและอภิปรายทางเลือกในการ แก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ฝึกการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการแก้ปัญหาด้วยตนเองให้ สำเร็จด้วยการสอนทักษะการเผชิญปัญหา
ฝึกทักษะให้ผู้ป่วยพูดแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยเทคนิคการสื่อสารที่ เหมาะสม
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดหรือกิจกรรมที่เห็นผลในระยะสั้นและสามารถเห็นผล ของ สำเร็จของงานจากการกระทำของผู้ป่วยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและความภูมิใจในตัวเองมากขึ้น
ให้กำลังใจ โดยการชมเชยเมื่อผู้ป่วยรับผิดชอบเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยไม่ต้องกระตุ้น และสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
สนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยการวิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งร่วมกันและ ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวที่ผิดปกติของผู้ป่วยด้วยการใช้กลไกทางจิตเพื่อลดความกังวลและ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เมื่อสมาชิกครอบครัวเข้าใจจะสามารถวางแผนการดูแลได้ตรงกับปัญหา นำไปสู่การ แก้ปัญหาตามขอบเขตหน้าที่ สมาชิกในครอบครัวสามารถทำหน้าที่ได้ตามบทบาท ทำให้เกิดความเข้าใจและ ดูแลช่วยเหลือกันได้
ให้ข้อมูลแหล่งช่วยเหลือหรือให้การปรึกษา หากไม่สะดวกมาปรึกษาด้วยตนเองก็ใช้วิธีการศึกษา ทางโทรศัพท์ ศูนย์สุขภาพจิตชุมชน Hotline ของโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยสามารถเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม
การประเมินผล
หลังให้การพยาบาล 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพมากขึ้น พูดคุยถึงเรื่องส่วนตัวมากขึ้นยอมรับว่า ตนเองมีศักยภาพเช่นทำงานบ้านได้ดี
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้นร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรม เช่นออกกำลังกาย รดน้ำต้นไม้ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่นแจ่มใส รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น
สามารถบอกวิธีการจัดการปัญหาที่เหมาะสมได้
ข้อมูลสนับสนุน
S: - ผู้ป่วยบอกว่า “แม่กับยายด่าว่าอย่างไม่มีเหตุผล ต้องลบออกจากบ้านหรือกินยาให้ตายตายไป”
S: - ผู้ป่วยบอกว่า “เศร้า บางครั้งอยากตายๆไปเลย”
O: - ผู้ป่วยก้มหน้าไม่สบตาขณะพูดคุย
O: - ผู้ป่วยเคยกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด
ปัญหาที่ 5 ผู้ป่วยและครอบครัวขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยและครอบครัวบอกสาเหตุและการรักษาโรคซึมเศร้าได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยแล้วเข้าสู่ระบบการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
วางแผนจำหน่ายผู้ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและความประหยัดตัว ของผู้ป่วยและ ครอบครัว
ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาพยาบาลและการ ปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านดังนี้
2.1 สาเหตุของโรคซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
2.2 ความสำคัญของการรับประทานยาและผลข้างเคียงของยา เน้นให้เห็นความสำคัญของการ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์ตามนัดเพื่อป้องกันการป่วยซ้ำ
2.3 หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจก่อให้เกิดความเครียดเช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การหักโหม ทำงานหนัก การใช้สารเสพติด เป็นต้น
2.4 สอนวิธีการจัดการความเครียดด้วยตนเองเบื้องต้น ได้แก่ การหายใจผ่อนคลายการนวดคลาย เครียดด้วยตนเอง
2.5 ประเมินและให้คำแนะนำแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาเช่นคนในครอบครัวที่ตน ไว้วางใจในการศึกษาศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้านสายด่วนสุขภาพจิต เป็นต้น
2.6 ให้คำแนะนำอาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น นอนไม่หลับปวดศีรษะเกิด ความเครียดที่ไม่สามารถจัดการด้วยตนเองได้เป็นต้น
จัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด วางแผนการจำหน่ายเรื่องการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในการปฏิบัติตัวมากขึ้น
ฝึกให้ผู้ป่วยจัดยารับประทานเอง ก่อนจำหน่าย
แนะนำครอบครัวเรื่องการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยการดูแลและการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยขณะอยู่บ้านการ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการปล่อยซ้ำ เน้นไม่ให้หยุดยาเอง ครอบครัว/ผู้ดูแล ควรช่วยดูแลให้ ผู้ป่วยรับประทานยาตรงเวลา การสังเกตอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วยหากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ผิด ไปจากเดิมให้นำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษารวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลทำให้อาการ ของโรคกำเริบ
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวถูกต้อง
ผู้ป่วยไม่กลับมารับการรักษาในโรงพยาบาลในช่วง 3 เดือนหลังการจำหน่าย
การประเมินผล
ผู้ป่วยและครอบครัวบอกสาเหตุ การรักษา การปฏิบัติตนและอาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัดได้ ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยสอบถามว่า "กลับไปอยู่บ้านต้องทำตัวอย่างไร"
S: ผู้ป่วยถามว่า "พรุ่งนี้จะหายขาดหรือไม่"
S: มารดาสอบถามพยาบาลว่า "พรุ่งนี้จะหายขาดหรือไม่จะกลับไปกินยาเกินขนาดอีกหรือไม่"
O: มารดามีสีหน้าวิตกกังวลเมื่อแพทย์แจ้งว่าจำหน่าย
:star:
นางสาวธาริณี ไหวพริบ รหัส 180101120