Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช บุคคลที่มีกลุ่มโรค…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
บุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคอาการทางกาย
1.1 ความหมายของกลุ่มโรคอาการทางกาย
กลุ่มโรคอาการทางกาย (somatic symptom and related disorders) บุคคลที่มีปัญหาทางด้าน
จิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วย
ทางด้านร่างกาย ซึ่งการแสดงออกของความเจ็บป่วยทางจิตใจผ่านออกมาให้เห็นทางการเจ็บป่วยด้านร่างกายนั้น
สามารถอธิบายได้จากความเชื่อที่ว่า ร่างกาย จิตใจมีการทำงานสัมพันธ์กัน โดยเมื่อจิตใจมีความเจ็บป่วยก็จะส่งผล
เชื่อมโยงให้เกิดปัยหาขึ้นที่ร่างกาย กลุ่มโรคอาการทางกายประกอบด้วยโรคต่าง ๆที่สำคัญหลายโรค แต่ในที่นี้จะขอ
กล่าวถึงเฉพาะโรค somatization disorder, โรค Hyp
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
1) มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตำแหน่งพร้อมกัน เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดข้อ
แขนขา ปวดท้องขณะมีประจำเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
2) มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ เช่นคลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียน ท้องเดิน
3) อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ เช่น เฉื่อยชาทางเพศ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
4) อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 เช่น การ
ทรงตัว แขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาต กลืนอาหารลำบาก พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น หูหนวก ชัก
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่
ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง หรือบางครั้งตีความการทำงานตามปกติของร่างกายว่า เป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแม้
จะได้รับคำอธิบายหรือมีหลักฐานยืนยันจากแพทย์ว่าไม่ได้การเจ็บป่วยก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังคงกังวลและครุ่นคิดว่าตนเอง
ป่วย เช่น คิดว่าตนเองเป็นโรคปอด เป็นโรคมะเร็ง หัวใจเต้นเร็วแรงต้องเป็นโรคหัวใจ
สาเหตุ การบำบัดรักษากลุ่มโรคอาการทางกาย
2.1 สาเหตุของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่า
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention) การรู้คิดและเข้าใจ (cognition) ทำให้
ผู้ป่วยมีการรับรู้ (perception) ความรู้สึกในร่างกายและมีการแปลความรู้สึกในร่างกายผิดไปจากคนปกติ
การทำงานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า (frontal lope) และสมองซีกไม่เด่น (non –dominant hemisphere)
พันธุกรรม พบ อัตราการเกิดโรคนี้เท่ากับ 29 ต่อ 10 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคในแฝด
จากไข่ใบเดียวกันกับแฝดไข่คนละใบ
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายเป็นการสื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ ในการ
หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องทำ
ทฤษฎีการเรียนรู้ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เป็นการรับแบบอย่างมาจากพ่อแม่
การอบรมสั่งสอน
โรค hypochondriasis ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงในการเกิด hypochondriasis
1) ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
2) มีประวัติถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก
3) มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็กหรือเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทการเป็นผู้ป่วยในการแก้ปัญหาชีวิต
4) มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะขยายการรู้สึกความผิดปกติในการทำงานของ
อวัยวะภายในร่างกายมากกว่าคนทั่วไปและมักแปลไปในทางเลวร้าย เช่น เมื่อแน่นท้องผู้ป่วยจะแปลว่าปวดท้อง
รวมทั้งผู้ป่วยจะมีความอดทนต่อความรู้สึกไม่ปกติในร่างกายน้อยกว่าคนทั่วไป
2.2 การบำบัดรักษาของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไป
ส่วนใหญ่แพทย์ที่ทำการบำบัดรักษา มักจะเป็นแพทย์ประจำเพียงคนเดียว และมีการนัดพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ต่อเนื่องมีช่วงระยะเวลาในการนัดพบไม่ห่างยาวนานมากนักทั้งนี้เพื่อลดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งไม่ได้รับความสนใจ
อาการป่วยของตนเองเท่าที่ควร และหลีกเลี่ยงการตรวจพิเศษที่ไม่จำเป็น กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคจิตเวชอื่นร่วมด้วยผู้ป่วย
มักจะได้รับการบำบัดโรคร่วมจิตเวชที่มีด้วยยา พบว่าการบำบัดโดยตรงของโรคนี้ด้วยยามักไม่ได้ผล เนื่องจากผู้ป่วย
โรคนี้มักไม่ร่วมมือในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
โรค hypochondriasis
โดยทั่วไปในผู้ป่วยโรคนี้การบำบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วย
ให้อาการดีขึ้นบ้าง หรือหากผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยก็อาจจะได้รับยาที่ตอบสนองต่ออาการของโรคจิต
เวชอื่นที่ผู้ป่วยมีร่วมอยู่ด้วย เพื่อจะลดความเครียดและช่วยผู้ป่วยในการปรับตัวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ
ดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยจิตบำบัดอาจเป็นจิตบำบัดแบกลุ่ม ส่วนจิต
บำบัดแบบอื่น ๆ เช่น จิตบำบัดเชิงลึก พฤติกรรมบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือแม้แต่การสะกดจิตก็อาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยในบางราย
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
1) การประเมินสภาพ (assessment)
ด้านร่างกาย
ส่วนมากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย มักจะได้รับการตรวจร่างกายทั่วไปอย่างถี่ถ้วน เพื่อความ
ชัดเจนว่าผู้ป่วยไม่มีการเจ็บป่วยทางร่างกายจริง การรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัญหาด้านร่างกายของผู้ป่วยจึงต้อง
ระมัดระวัง และมีการส่งต่อข้อมูลถึงอาการต่าง ๆ กับทีมผู้บำบัดอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้มี
ความใกล้เคียงกับโรคทางร่างกายหลายอย่าง
ด้านสังคม
ประเมินแรงกดดันที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆมากขึ้น เพื่อจะช่วยให้พยาบาลเข้าใจและหา
แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
ด้านจิตใจ
ควรมุ่งเน้นทางด้านอารมณ์และความคิดเป็นสำคัญ เช่น อาการต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้นเขารู้สึก
อย่างไร ซึ่งส่วนมากจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกายจะมีอารมณ์ท้อแท้ ทุกข์ทรมาน รู้สึกว่าช่วยตัวเองไม่ได้
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาทางจิตใจเพราะปฏิเสธปัญหาทางจิตใจ
มีความบกพร่องในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหลายอย่าง
ต้องพึ่งพายาลดอาการปวด
มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือพยายามทำร้ายตนเอง
มีความบกพร่องในวิธีเผชิญปัญหาหรือความไม่สบายใจ
ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามบทบาทหรือแยกตัวจากสังคม
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (therapeutic relationship) กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ โดย
พยาบาลมีการยอมรับและตระหนักว่า อาการทางร่างกายของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเป็นจริงสำหรับผู้ป่วย
ให้เวลาผู้ป่วยได้พูดระบายความในใจได้อย่างอิสระ ตั้งใจรับฟัง ใส่ใจกับคำพูด และการกระทำที่ผู้ป่วย
แสดงออกมาโดยไม่นำตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของผู้ป่วย ระมัดระวังคำพูด และท่าทีในการสนองตอบต่อผู้ป่วย
พยาบาลควรหลีกเลี่ยงการให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่เป็นพยาธิสภาพของผู้ป่วยอาการ ด้วยการ
เพิกเฉยต่ออาการผู้ป่วยแต่ให้ความสนใจในตัวผู้ป่วย เนื่องจากแสดงต่าง ๆในผู้ป่วยแม้ไม่ได้แสดงออกมาอย่างตั้งใจ แต่
ผู้ป่วยอาจใช้อาการที่แสดงออกมาเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือกิจกรรมบ้างอย่าง เช่น การทำงาน การดูแล
ครอบครัว หรืออาจต้องการความสนใจบางอย่าง ต้องการควบคุมผู้อื่น ต้องการควบคุมความขัดแย้งของตนเอง และต้องการพึงพาใครสักคน
ส่งเสริมความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วย และทักษะที่จำเป็น
ตามแต่ละปัญหาที่แท้จริงของของผู้ป่วย เช่น ทักษะการผ่อนคลายเพื่อลดอาการปวดโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด, การ
สื่อสารและการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกายสำหรับญาติ
ดูแลให้จัดสภาพแวดล้อมที่เน้นความปลอดภัยเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย มักมีความรู้สึก
ว่าการเจ็บป่วยของเขาทุกข์ทรมานอาจคิดทำร้ายตนเองได้
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดทางจิตสังคม เช่น กิจกรรมบำบัดที่ให้ผู้ป่วยได้มีโอการระบาความไม่
สบายใจที่มี, การบำบัดด้วยจิตบำบัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อควบคุม ลดระดับอาการและอาการแสดงของโรคร่วมที่ผู้ป่วยมี
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
สามารถบอกวิธีในการเผชิญหรือแก้ปัญหาของตนเองได้
สีหน้าสดชื่นแจ่มใส
นอนหลับพักผ่อนได้
ประกอบกิจวัตรประจำวัน บทบาท และหน้าที่ของตนเองได