Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5.4การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชบุคคลที่มีก…
บทที่5.4การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชบุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมายของกลุ่มโรคอาการทางกาย
บุคคลที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย สามารถอธิบายได้จากความเชื่อที่ว่า ร่างกาย จิตใจมีการทำงานสัมพันธ์กัน โดยเมื่อจิตใจมีความเจ็บป่วยก็จะส่งผลเชื่อมโยงให้เกิดปัยหาขึ้นที่ร่างกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่างและมีความรุนแรงมากเกินจริง อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เรื้อรังนานหลายปี โดยไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือหากตรวจพบความผิดปกติทางร่างกายก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้นที่เกิดขึ้นได้ และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากยา สารเสพติด การแสร้งหรือจงใจทำให้เกิดขึ้น
มีอาการของระบบทางเดินอาหาร
อาการทางเพศ
มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตำแหน่งพร้อมกัน เ
อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง
บางครั้งตีความการทำงานตามปกติของร่างกายว่า เป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแม้จะได้รับคำอธิบายหรือมีหลักฐานยืนยันจากแพทย์ว่าไม่ได้การเจ็บป่วยก็ตาม
ผู้ป่วยก็ยังคงกังวลและครุ่นคิดว่าตนเองป่วย เช่น คิดว่าตนเองเป็นโรคปอด เป็นโรคมะเร็ง หัวใจเต้นเร็วแรงต้องเป็นโรคหัวใจ
ผู้ป่วยบางรายแม้จะมีอาการแสดงทางร่างกายร่วมด้วย แต่อาการแสดงที่มีจะมีลักษณะไม่ชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกับพยาธิสภาพของโรค ที่แท้จริง
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงหมกมุ่น แยกตัวจากสังคม ไม่ปฏิบัติงานที่ควรปฏิบัติได้ หรือปฏิบัติตนเป็นคนป่วยตลอด มักไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์บ่อย ๆ แต่ผู้ป่วยก็คิดว่าไม่ได้ช่วยให้อาการของตนดีขึ้น ส่งผลทำให้มีอารมณ์เศร้า ไม่พอใจการรักษา และต้องการเปลี่ยนผู้รักษาไปหาคนใหม่ (doctor shopping)
สาเหตุของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
การทำงานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า
พันธุกรรม
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีการเรียนรู้
โรค hypochondriasis
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด hypochondriasis ดังนี้
1) ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
2) มีประวัติถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก
3) มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็กหรือเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทการเป็นผู้ป่วยในการแก้ปัญหาชีวิต
4) มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกติ
การบำบัดรักษาของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค hypochondriasis
บำบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง หรือหากผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยก็อาจจะได้รับยาที่ตอบสนองต่ออาการของโรคจิตเวชอื่นที่ผู้ป่วยมีร่วมอยู่ด้วย เพื่อจะลดความเครียดและช่วยผู้ป่วยในการปรับตัวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยจิตบำบัดอาจเป็นจิตบำบัดแบกลุ่ม
โรค somatization disorder
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไป ส่วนใหญ่แพทย์ที่ทำการบำบัดรักษา มักจะเป็นแพทย์ประจำเพียงคนเดียว และมีการนัดพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องมีช่วงระยะเวลาในการนัดพบไม่ห่างยาวนานมากนักทั้งนี้เพื่อลดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาทางจิตใจเพราะปฏิเสธปัญหาทางจิตใจ
มีความบกพร่องในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหลายอย่าง
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
มีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการยอมรับปัญหาที่แท้จริงของตนเอง และหาแนวทางในการจัดการปัญหาของตนได้อย่างเหมาะสม
1) การประเมินสภาพ (assessment)
ด้านจิตใจ
ด้านสังคม
ด้านร่างกาย
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
จะประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สามารถประเมินได้จากการบอกกล่าวของผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วยหรือจากการสังเกตของพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวก