Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Electronic fetal monitoring, Name: Supatson Kaewwanta 182311042 - Coggle…
Electronic fetal monitoring
เป็นเครื่องมือทาง Electronic ที่ได้นำมาใช้ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ หัวตรวจมี 2 แบบ คือ
Tocodynamometer หรือ Tocometer จะเป็นส่วนที่วางอยู่บนหน้าท้องมารดาบริเวณยอดมดลูก เพื่อประเมินความรุนแรงของการหดรัดตัวของมดลูก
Ultrasonic Transducer สำหรับฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกจะเป็นส่วนที่วางอยู่บนหน้าท้องบริเวณหัวใจทารก เพื่อประเมินการเต้นของหัวใจและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก
การเต้นของหัวใจทารกและคำต่าง ๆ ที่เป็นสากล
ฺBaseline features ในช่วงที่มดลูกไม่หดรัดตัว
Baseline fetal heart rate ปกติ 110-160 ครั้ง/นาที
Tachycardia > 160 ครั้ง/นาที
Bradycardia < 110 ครั้ง/นาที
Baseline 140 ครั้ง/นาที
Variability คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารกที่มีการเปลี่ยนแปลง
Absent: ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
Minimal: มีการเปลี่ยนแปลง 0 ถึง 5 ครั้งต่อนาที
Moderate: มีการเปลี่ยนแปลง 6 ถึง 25 ครั้งต่อนาที
Marked: มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 25 ครั้งต่อนาที
การที่ Variability ลดลงหรือหายไปเเสดงถึงบางส่วนของสมองหยุดส่งกระเเสไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของหัวใจทารก
Deceleration
Early deceleration
การลดลงของ FHR สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก พบได้ตอนท้ายของการเจ็บครรภ์คลอด
Late deceleration
การลดลงของ FHR สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
การลดลง ถือเป็นความผิดปกติ เชื่อว่าเกิดจากทารก hypoxia
Variable deceleration
การลดลงของ FHR อาจสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกหรือไม่ก็ได้ ไม่นานเกิน 2 นาที
เกิดจากสายสะดือถูกกด พบใน prolapse cord หรือ น้ำคร่ำน้อย
Prolonged deceleration
การลดลงของ FHR นานอย่างน้อย 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาที
การแก้ไข: ตรวจสอบหาการพลัดต่ำของสายสะดือ
แนวทางการดูแลรักษา
จัดท่ามารดา โดยทั่วไปนิยมให้นอนในท่าตะแคงซ้าย
แก้ไขเมื่อมีภาวะ uterine hyperstimulation หยุดการให้ยา oxytocin
ให้ออกซิเจนแก่มารดาผ่านทางหน้ากากในอัตรา 8-10 LPM
ทำการประเมินการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลา
ลักษณะผิดปกติ เกิดต่อเนื่องควรทำการคลอดทารกภายใน 30 นาที
Non-Stress Test (NST) การประเมินการหดรัดตัวของแม่ สัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจลูก
ตั้งครรภ์เกินกำหนด (post term)
ทารกเติบโตช้าในครรภ์ (Intra uterine growth retardation)
มารดาเป็นเบาหวาน
มารดามีประวัติความดันโลหิตจางหรือมีฮีโมโกลบินผิดปกติ
มารดามีอายุมากกว่า 35 ปี
ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง
การแปลผล
Reactive หมายถึง มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานอย่างน้อย 15 วินาที เมื่อทารกเคลื่อนไหวโดยบันทึกการตอบสนองดังกล่าวได้อย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใน 20 วินาที โดยมี baseline 110-160 ครั้ง/นาที
Non-reactive หมายถึง ผลที่ได้จากการทดสอบไม่ครบตามข้อกำหนดของ reactive NST หรือไม่พบทารกเคลื่อนไหว
Suspicious หมายถึง มีการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 2 ครั้ง หรืออัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 15 ครั้ง/นาที และอยู่สั้นกว่า 15 วินาที
Contraction Stress test: CST การทดสอบดูการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ขณะที่มดลูกหดรัดตัว
เพื่อคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงว่ามีเลือดไปเลี้ยงมดลูกและรกพอหรือไม่ ก่อนจะเจ็ยครรภ์คลอด และถ้าให้ตั้งครรภ์ต่อไปทารกจะทนต่อการหดตัวของมดลูก เมื่อเจ็บครรภ์คลอดได้หรือไม่
การติดตามผล CST
Negative: ทารกอยู่ในสภาพปกติ แนะนำนับลูกดิ้นและตรวจซ้ำใน 1 สัปดาห์
Positive: ทารกอยู่ในสภาพพร่องออกซิเจน ช่วยเหลือโดย Intrauterine resuscitation และหยุด Oxytocin ทันที หลังจากนั้น 15-30 นาที ให้ทำ CST ซ้ำ ถ้าผล Positive อีกครั้งควรสิ้นสุดการตั้งครรภ์
Uteroplacental insufficiency
Positive: พบ late deceleration
Negative ; ไม่มี late deceleration/ UC 3 ครั้งใน 10 นาที
Unsatisfactory: เส้นกราฟไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือ UC ไม่ดีพอ
Name: Supatson Kaewwanta 182311042