Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคบุคลิกภาพผิดปกต…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1.1 ความหมายของโรคบุคลิกภาพผิดปกต
กลุ่ม A
มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็น
กลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ
หวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท (paranoid, schizoid andpersonality disorders)
กลุ่ม B
มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้
(dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้
บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว (antisocial, borderline, histrionic,
and narcissistic personality disorders)
กลุ่ม c
มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful)
เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ
หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ำคิดย้ำทำ (avoidant, dependent and obsessive-compulsive personality disorders)
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
1) ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2) หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซ้ำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น
3) หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
4) หงุดหงิดและก้วร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
7) ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดีทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
1) พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
2) สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
3) สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเองไม่แน่นอน
4) แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อนทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
5) มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
6) มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
7) มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
8) มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ระเบิดอารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย
9) เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำการรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
1) ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
2) ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
3) รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับหรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
4) ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็นเพราะขาดความสามารถหรือขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ มากกว่าขาดพลังหรือแรงจูงใจที่จะคิดที่จะทำ
5) ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุข
สบาย
6) รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่มี
ความสามารถพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
7) เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหา
สัมพันธภาพใหม่ทันท
8) ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
2.1 สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะ
ประจำตัวเด็กแต่ละคนหรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
ประสาทชีววิทยา (neurobiology) การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง เช่น โรคลมชัก, การอักเสบของสมอง arteriosclerotic brain disease, senile dementia
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
1) มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ กล่าวคือ เด็กไม่สามารถที่จะเติบโตตามขั้นของ
พัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ หรือการมีปม (fixation) เกิดขึ้นในขั้นของพัฒนาการบางขั้น เช่น Oedipus complex
2) โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง กล่าวคือ ego ไม่
สามารถที่จะทำหน้าที่ประสานความต้องการของ id และ superego ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการเรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต ดังนั้น เด็กจึงพัฒนาพฤติกรมการแสดงออกที่ผิดปกติโดยการเลียนแบบหรือรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมี
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสำคัญในแต่ละช่วงวัย
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นประสบการณ์ในวัยเด็กที่อาจส่งเสริม
พฤติกรรมและบุคลิภาพที่ผิดปกติ เช่น ปล่อยตามใจ ทอดทิ้ง ทารุณกรรม เข้มงวด ลงโทษ
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก เมื่อเด็กประพฤติผิดไปจากสิ่งที่พ่อแม่กะเกณฑ์ไว้ก็จะตำหนิหรือลงโทษเด็กโดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลจากเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวและประพฤติตรงกันข้ามกับที่พ่อแม่ต้องการ
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะ
ที่ผิดปกติเหล่านั้นได้
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง มีการศึกษาในบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่าบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ
2.2 การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบำบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
จิตบำบัด (psychotherapy)
2) จิตบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
1) จิตบำบัตรายบุคคล (individual therapy)
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวล
การให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า และการให้ยาต้านโรคจิตเพื่อลดอาการรุนแรงและช่วยให้
ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายต้องอาศัยความระมัดระวังสูงและ
พิจารณาเป็นรายบุคคล ดังนั้น ยาจึงไม่ใช่ตัวเลือกแรกและไม่ใช่ตัวเลือกหลักของการบำบัดรักษผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
พันธภาพทางสังคม (social relationships) จะทำให้ทราบถึงสัมพันธภาพในครอบครัว ที่
ทำงาน เพื่อน ความแน่นแฟ้นของสัมพันธภาพ และความยากง่ายในการคบเพื่อน
ลักษณะเฉพาะ (character) อุปนิสัย เช่น บุคลิกภาพลักษณะเคร่งครัดหรือเถรตรง (strict or
rigid) การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ความไวต่อการรับรู้ (sensitive) ขี้สงสัยหรือความริษยา (suspicious orjealous) เป็นตัน
อารมณ์ทั่วไป (habitual mood) ความคงทนของอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์และ
สภาพอารมณ์ในขณะนี้ เช่น กลัว กังวล เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เฉยชา โกรธ เป็นต้น
การเลี้ยงดูในวัยด็ก ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต
การจัดการแก้ไขปัญหาและการใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต เช่น การโทษตนเอง โทษผู้อื่น การเก็บกด การอ้างเหตุผล การแยกตัว เป็นต้น
เจตคติและมาตรฐาน (attitudes and standards) การซักถามถึงความเชื่อทางศาสนา
มาตรฐานศีลธรรม เจตคติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือความเจ็บปวย
การใช้เวลาว่าง (use of leisure) จะช่วยบอกถึงการชอบอยู่คนเดียวหรือชอบเข้าสังคม
การกระทำเป็นนิสัย (habits) ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมีพฤติกรรมบงการผู้อื่น
สูญเสียพลังอำนาจเนื่องจากความต้องการของตนเองไม่ได้รับการตอบสนอง/รับรู้ความมีคุณค่าในตนเองต่ำ
ตัวอย่างการวินิจฉัยการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependentpersonality disorders)
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการอยู่ตามลำพัง/ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่ตนเองเผชิญอยู่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องมีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากกลัวการถูกปฏิเสธ/กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา/ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เนื่องจากการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
การทำหน้าที่รับผิดชอบตามบทบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีพฤติกรรมและ/หรือความคิดซ้ำ ๆ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
1) บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, and borderline
personality disorders)
สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติด้วยความชัดเจน มุ่งเน้นสัมพันธภาพเพื่อการ
บำบัดและตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม รักษาไว้ซึ่งกฎกติกาและความยุติธรรม เพื่อให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพ
ผิดปกติปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสัมพันรกาพและกฎเกณฑ์ทางสังคมได้เหมาะสม
ให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติได้พูตระบายความรู้สึก พยาบาลควรให้การยอมรับ เข้าใจ
ความรู้สึก และการแสดงออก มุ่งเน้นลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น บงการผู้อื่น ก้าวร้าวรุแรง เป็นต้น
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายตนเองและผู้อื่นหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น
จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย จำกัดสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธในการทำ
ร้ายผู้อื่นหรือตัวองได้ หากบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ต้องจำกัดพฤติกรรมด้วยการผูกยืด
หรือใช้ห้องแยกในการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการสงบลงควรอธิบายชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลของการจำกัดพฤติกรรม
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา และติดตามผลข้างเคียงจากยา
ช่วยให้บุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกติมีความเข้าใจ ไวต่อความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง
ฝึกทักษะการจัดการและควบคุมพฤติกรรมทางอารมณ์ที่มากเกินไปหรือพฤติกรรมด้านลบ
เช่น ความโกรธ ความรู้สึกหุนหันพลันแล่น หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น โดยอาจจะใช้วิธีเดินออกจากห้องเมื่อมี
ความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้น หรือเลือกไปอยู่ในสถานที่สงบเงียบจนกระทั่งความรู้สึกหุนหันพลันแล่นที่เป็นอันตรายหายไป
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมการสร้างสรรค์กับผู้อื่น
สนับสนุนการรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
บุคคลที่มีบุคลิภาพแบบต่อต้านสังคม ควรให้การเสริมแรงทางบวกมากกว่าการลงโทษ เพราะ
จะเป็นการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าในตัวเองและคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และควรระมัดระวังการเสริมแรง ที่ทำ
ให้บุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการหรือพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่นนั้นมีพฤติกรรมดังกล่าวคงอยู่
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง โดยพยาบาลเป็นผู้ให้ข้อมูล
และแนะนำเทคนิคการผ่อนคลายความครียดต่าง ๆ ให้ เช่น การออกกำลังกาย การหายใจอย่างถูกวิธี การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นตัน
เปิดโอกาสให้ครอบครัวระบายความคิดและความรู้สึกต่อการดูแลบุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกติ
ให้ความรู้เรื่องโรค การบำบัดรักษา และการดูแลรวมทั้งให้ความรู้ครอบครัวในการประเมินพฤติกรรมของบุคคลที่มี
บุคลิกภาพผิดปกติ เมื่อสังกตว่ามีพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกดิเพื่อเตรียมพร้อมในกรดูแลเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
แนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
2) บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังการกระทำในสิ่งที่บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลัวที่จะทำ
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความกลัวหรือความวิตกกังวลของตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยเริ่มจากคนจำนวนน้อยก่อน เมื่อบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติเริ่มมีความมั่นใจจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรง มีภาวะตื่นตระหนก ต้องจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่
ปลอดภัย เงียบสงบ เพื่อลดสิ่งกระตุ้นและลดความวิตกกังวลที่มีของผู้ป่วย
สอนและให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ทักษะทางสังคม การ
สื่อสาร การปฏิเสธ การกล้าแสดงออก การบริหารเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการแสดงออกและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม
ให้บุคคลที่บุคลิกภาพผิดปกติเลือกวิธีการคลายครียดที่เหมาะสมกับตนเองโดยพยาบาลเป็น
ผู้ให้ข้อมูลและแนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่าง ๆ ให้ เช่น การออกกำลังกาย การหายใจอย่างถูกวิธี การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ให้การเสริมแรงทางบวก เมื่อบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติสามารถทำตามเป้าหมายระยะสั้นที่กำหดไว้ได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา และติดตามผลข้างเคียงจากยา
เปิดโอกาสให้ครอบครัวระบายความคิดและความรู้สึกในการดูแลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
ให้ความรู้เรื่องครอบครัวเกี่ยวกับโรค การบำบัดรักษา และการดูแล ส่งเสริมให้ครอบครัวมี
ส่วนร่วมในการดูแล เพื่อเตรียมพร้มในการดูแลเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน และแนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้กำลังใจบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกต
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
ไม่มีการทำร้ายบุคคลอื่น
ไม่มีการทำลายสิ่งของ
ไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
ไม่มีความเชื่อที่มาจากอาการหลงผิด ควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม