Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์
สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) เกิดขึ้นแบบกระทันหันไม่ได้คาดคิดไว้ แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุลเช่น การสอบตก การเสียคนรักจากอุบัติเหตุ
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change) หากมีการรับมือที่ดีก็จะไม่เกิดปัญหาวิกฤตขึ้น
ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ(disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย เช่น ไฟไหม้บ้าน เเผ่นดินไหว
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
หากมีเหตุการณ์มาคุกคามแล้วเราสามารถเผชิญหน้ากับมันได้ยังแก้ปัญหาได้ดีเรียกว่า “ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (pre – crisis stage)”
หากเจอเหตุการณ์หรือปัญหาเข้ามาคุกคามแล้วไม่สามารถที่จะเผชิญปัญหาได้แก้ปัญหาไม่ได้ บุคคลก็
จะเข้าสู่ “ระยะวิกฤต (crisis stage)”
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
มีความเครียดความวิตกกังวลมากขึ้นหลังจากที่เผชิญหน้าหรือแก้ปัญหาไม่ได้
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame)
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่ โมโหร้าย
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
ยังพยายามที่จะเผชิญหรือแก้ปัญหาที่เจออยู่โดยใช้วิธีการลองผิดลองถูกหรือทักษะวิธีการเผชิญหน้าแบบฉุกเฉิน
รู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง (helplessness)
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่
ระยะที่ 3 เป็นระยะอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerablestate)
มีความเครียดและวิตกกังวลมากขึ้นได้รับแรงกระตุ้นมาจากปัจจัยต่างๆและจะมีอาการ อาการแสดงรุนแรงมากขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นได้อีกต่อไป (intolerablelevel)
ทําให้สูญเสียความสามารถในการกําหนด
ตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
จะกลับมาระยะที่สมดุลภายใน4 – 6 สัปดาห์หลังจาก
ประสบภาวะวิกฤต เมื่อปรับตัวกับสถานการณ์ที่เจอได้แล้วไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แล้วกลับไปอยู่ในจุดก่อนเกิดภาวะวิกฤต หรือ ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤต หรือความเครียด ความกังวลลดลงเรียกระยะนี้ว่า “ระยะหลังเกิดวิกฤต (post – crisis stage)”
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
เหตุการณ์วิกฤต (negativeevents) เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤต ซึ่งเหตุการณ์นั้นขึ้นอยู่ที่ตัวของแต่ละคนบางคนอาจจะไม่มองว่าเป็นเรื่องที่วิกฤตก็ได้เช่นกัน
การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต เกิดจากคนที่มองปัญหาที่เขามาหากมองว่าท้าทายและนำมากดดันกับตนเองก็จะส่งผลเสียทำอาจจะให้จัดการกับเหตุการณ์และปัญหาได้ไม่ถูกวิธี
การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อาจนํามาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า และ ไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาหรือเหตุการณ์เหล่านั้น
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา มีการวางแผนตั้งเป้าหมาย กระทําตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยการมุ่งแก้ไขที่ตนเองหรือปรับสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การประเมินภาวะสุขภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดยสอบถามถึงความรู้สึกและหรือผลกระทบทางลบของเหตุการณ์ที่คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ามีผลกระทบต่อเขาอย่างไร
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ เช่น การนอนหลับ
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหาว่ามีความเหมาะสมหรือส่งผลเสียต่อการดําเนินชีวิตหรือไม่ โดยการสอบถามว่าเคยเป็นแบบนี้มาก่อนไหม
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ต่อเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดยอาจสอบถามว่าหากเวลาที่มีปัญหาจะไปปรึกษาใครบ้าง
การวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤต
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น - เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว -เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม
การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และวัตถุประสงค์การ
พยาบาล
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คําถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้ระบายความรู้สึกออกมา
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการนําบุคคลที่มีภาวะวิกฤตออกมาจากสภาพแวดล้อมเดิม เพื่อลดความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ