Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม
(Dementia)
ลักษณะอาการ
พบความบกพร่องของสมองด้านความคิดและการรับรู้อย่างน้อยหนึ่ง
สมาธิและความสนใจ(attention) ความสามารด้านการบริหารจัดการ (executive function) การเรียนรู้ ความจ า การใช้ภาษาด้าน perceptual motorหรือ social cognition
สูญเสียความสามารถทางสติปัญญา (Deterioration of Intellectual function)
กิจกรรมทั่วไปบกพร่อง (Deterioration of habits)
อารมณ์แปรปรวน (Emotional disability)
อาการทางสมองด้านอื่นๆ สูญเสียความสามารถด้านทิศทาง การตระหนักรู้ความเจ็บป่ วยของตนเอง (insight) ผู้ป่วยไม่ทราบ และไม่ยอมรับความสามารถที่ลดลงของตนเอง
ความหมาย
เป็นกลุ่มอาการที่มีการเสื่อมถอยของการทำงานของสมองด้านความคิด การรับรู้อย่างน้อยหนึ่งด้านโดยมี ความสามารถลดลงจากเดิมที่เคยดีมาก่อน โดยที่ผลการเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย จนไม่สามารถทำหน้าที่การงาน เข้าสังคม เรียนรู้ ตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม
การประเมินผู้ป่วย
1.1 สอบถามจากญาติเกี่ยวกับ ความจำ ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ สภาพอารมณ์ การใช้ภาษา การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล การแสดงพฤติกรรม การใช้ยา ความเจ็บป่วย
1.2 ความสามารถในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การดูแลตนเอง
การปฏิบัติการพยาบาล
1 สอนญาติที่จะเป็ นผู้ดูแลผู้ป่ วย เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล โดยให้ญาติมความเข้าใจอาการของโรคยอมรับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
2 ผู้ป่วยที่เริ่มรู้ว่าตนเองมีอาการหลงลืมจะรู้สึกสูญเสีย ตกใจ เศร้า พยาบาลหรือผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยได้ระบายและพูดถึงความรู้สึก ให้กำลังใจในการแก้ไข เช่น จดสิ่งที่จะต้องทำ การนัดหมาย ความต้องการต่างๆ
3 ผู้ป่วยที่หลงลืม ไม่ควรพูดล้อเลียน ตำหนิให้ผู้ป่วยเสียหน้า ควรแนะนำหรือเตือนอย่างสุภาพ
4 ดูแลสุขอนามัยด้านร่างกายของผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยที่มีปัญหาการสื่อสารจะไม่สามารถบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
5 ดูแลความสะอาดสุขอนามัยส่วนตัว การอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว การขับถ่าย
6 ให้ผู้ป่วยได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
7 หลีกเลี่ยงการบังคับสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง
8 ยอมรับต่อพฤติกรรมแปลกๆของผู้ป่วย ไม่โต้เถียง บังคับให้เปลี่ยนพฤติกรรมหรือล้อเลียนให้ได้อาย
9 จัดให้มีปฏิทินและนาฬิกาตัวโตๆไว้ในที่ที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้โดยง่าย
10 ควรสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคำถามปิด ตอบเพียงสั้นๆ ไม่ต้องให้ผู้ป่วยอธิบายมากมายนัก
11 การสื่อสารด้วยท่าทางจะช่วยเสริมการสื่อสารด้วยคำพูดได้ดียิ่งขึ้น เช่น การยิ้ม การสัมผัสจับมือ เป็นต้น
12 ให้อิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
13 หลีกเลี่ยงการทดสอบความจำหรือความสามารถเพราะจะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวลมากขึ้น
การบำบัดรักษาบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม
การรักษาด้วยยา ยังไม่มียาที่ใช้แก้ไขสาเหตุได้ การให้ยาโดยทั่วไปเป็ นการบรรเทาอาการ ช่วยชะลอความแย่ลงของอาการ ยากลุ่มที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ donepezil, rivastigmine และ galantamine
การรักษาโดยไม่ใช้ยา ไม่มีความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา ซึ่งผู้ป่ วยทุกคนสามารถท าได้ เช่น การออกกำลังกาย ฝึกความคิด ความจำ เล่นเกมต่างๆ ดนตรีบำบัด สัตว์เลี้ยงบำบัด สุคนธบำบัด
3 การดูแลทั่วไป การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนอง การดูแลสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การดูแลฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอาชีพ
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
สมองเสื่อมแบบ Alzheimer
การเสื่อมของเซลล์ประสาทเกิดจาก neurofibrillary tangle (NFT) และ beta amyloid plaque ที่สะสมมากขึ้นจนเซลล์ประสาทตายและการทำงานของสมองส่วนต่างๆผิดปกติ
สมองเสื่อมที่เกิดจากพยาธิสภาพของหลอดเลือด