Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคบุคลิกภาพผิดปกต…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นๆ อยู่ โดย บุคลิกภาพที่ผิดปกตินี้จะเริ่มปราฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนตัน แล้วดำเนินต่อไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยมีพฤติกรรม ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวยาก มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการคิด การแสดงออกทางอารมณ์การมีสัมพันธภาพกับ บุคคล หรือการควบคุมตนเอง อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ หรือมีชีวิตที่เข้ากับสังคมไม่ได้บุคลิกภาพที่ผิดปกตินี้ไม่ได้ อาการผิดปกติจากโรคจิตเวชอื่นๆและไม่ได้เกิดจากการเจ็บป่วยทางกาย การใช้ยาหรือสารเสพติด
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็น กลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท (paranoid, schizoid and
personality disorders)
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้ บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว (antisocial, borderline, histrionic, and narcissistic personality disorders)
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ำคิดย้ำทำ (avoidant, dependent and obsessive-compulsive personality disorders)
โรคบุคลิกภาพผิดปกติประกอบด้วยบุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบต่าง ๆหลายแบบ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เฉพาะบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, borderline, and dependent personality disorders)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้องหรือ กระทำการที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ซึ่งบ่งชี้ว่ามีความประพฤติเกเร (conduct disorder) ตั้งแต่อายุ 15 ปีอาการแสดงที่ เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการแสดงของโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว โดยมีอาการแสดงออก อย่างน้อย 3 จาก 7
1) ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2) หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซ้ำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหา ผลประโยชน์จากผู้อื่น
3) หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
4) หงุดหงิดและก้วร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
7) ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดี ทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมอง ภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้ (impulsivity) เริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการดังต่อไปนี้
1) พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
2) สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
3) สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเอง ไม่แน่นอน
4) แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อน ทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
5) มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
6) มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
7) มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
8) มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ระเบิด อารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย
9) เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
จะมีลักษณะของการชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วย ตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้ง อาการแสดงมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงอาการออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญ กับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการ
1) ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
2) ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
3) รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับ หรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
4) ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็น เพราะขาดความสามารถหรือขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ มากกว่าขาดพลังหรือแรงจูงใจที่จะคิดที่จะทำ
5) ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุข สบาย
6) รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่มี ความสามารถพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
7) เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหา สัมพันธภาพใหม่ทันที
8) ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะ ประจำตัวเด็กแต่ละคนหรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่เป็นพื้นทาง อารมณ์ของเด็ก (temperament)
ประสาทชีววิทยา (neurobiology)การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ ของสมอง เช่น โรคลมชัก, การอักเสบของสมอง arteriosclerotic brain disease, senile dementia และ alcoholism อาจทำให้บุคลิกภาพของบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดในขณะหรือหลังจาก การเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ประสาทชีววิทยา (neurobiology)การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ ของสมอง เช่น โรคลมชัก, การอักเสบของสมอง arteriosclerotic brain disease, senile dementia และ alcoholism อาจทำให้บุคลิกภาพของบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดในขณะหรือหลังจาก การเจ็บป่วย
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการ เรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต ดังนั้น เด็กจึงพัฒนาพฤติกรมการแสดงออกที่ผิดปกติโดยการเลียนแบบหรือ ได้รับแรงเสริม (reinforcement) จากบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิตของเขา เช่น เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสำคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสมซึ่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้เป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒทางบุคลิภาพ การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นประสบการณ์ในวัยเด็กที่อาจส่งเสริม พฤติกรรมและบุคลิภาพที่ผิดปกติ เช่น ปล่อยตามใจ ทอดทิ้ง ทารุณกรรม เข้มงวด ลงโทษ เป็นตัน
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะ ที่ผิดปกติเหล่านั้นได้
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง มีการศึกษาในบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่า บุคคล เหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และมีภูมิลำเนาอยู่ใน เมือง บิดามารดามักทะเลาะกันเป็นประจำหรืแยกทางกัน ติดสุราหรือยาเสพติด
การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบำบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
จิตบำบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่ โดย จิตบำบัดที่ใช้อยู่ทำได้ใน 2 สักษณะ ได้แก่
1) จิตบำบัตรายบุคคล (individual therapy)
2) จิตบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
จิตบำบัดเดี่ยวและจิตบำบัดกลุ่มจะเน้นหลักการแก้ปัญหา (problem-solving oriented) ให้ผู้ป่วย พิจาณาและค้นหาพฤติกรมที่เหมาะสม การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายใน จิต โดยเฉพาะในจิตบำบัตกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะช่วยให้ผู้ปวยเข้าใจถึงผลของพฤติกรรมของเขาที่มีต่อสมาชิกในกลุ่ม ทำให้เขาสามารถนำกลับไปใช้ในการปรับตัวกับคนอื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวล การให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าและการให้ยาต้านโรคจิตเพื่อลดอาการรุนแรงและช่วยให้ ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายต้องอาศัยความระมัดระวังสูงและ พิจารณาเป็นรายบุคคล ดังนั้น ยาจึงไม่ใช่ตัวเลือกแรกและไม่ใช่ตัวเลือกหลักของการบำบัดรักษผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพ
ผิดปกติ
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)สามารถทำได้โดยใช้ทักษะการสังเกตอาการทางคลินิก (clinical observation) ร่วมกับการ สัมภาษณ์ประสบการณ์ชีวิต (life experienceintervention) จากผู้ป่วยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัญหาปัจจุบัน เช่น การ เลี้ยงดูในวัยเด็ก ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เหตุการณ์วิกฤตในชีวิต ความสำเร็จ ความล้มเหลว สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม การเผชิญปัญหาและการตัดสิใจแก้ไขปัญหา การ ใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
การวิเคราะห์ข้อมูลของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติจะทำให้พยาบาลทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา หรือมีปัจจัยที่ทำให้ปัญหามีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบอาจมีได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ พฤติกรรม
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)การวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล พยาบาลควรจัดลำดับ ความสำคัญของปัญหาของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ เพื่อแก้ไขปัญหาตามความจำเป็นเร่งด่วนก่อน โดยควรมีการ วางแผนร่วมกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติและบุคคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งการดูแลบุคคลกลุ่มนี้ต้องอาศัยระยะเวลาค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากพฤติกรรมของบุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกติมีความผิดปกติมาเป็นเวลานาน
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติต้องอาศัยระยะเวลา ค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจาก พฤติกรรมของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกตินี้มีมาเป็นระยะเวลายาวนานและมักมีปัญหาเกี่ยวกับภาพพจน์ของตนเอง และสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลุ่มนี้ ควรประเมิน เกี่ยวกับความเข้าใจในปัญหา วิธีการเผชิญกับปัญหา การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ และความ ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวกได้