Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ความผิดปกติทางจิตเ…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
ความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ความหมายของความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดใน ขณะนั้นๆ สามารถแบ่งเป็น 4 โรคหลัก
โรคของการใช้สารเสพติด(substance use disorder)
เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติจากการ ใช้สารเสพติดอย่างไม่เหมาะสมของผู้เสพสารเสพติดด้วยการใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse) หรือการติด สาร (dependence) นำไปสู่ความบกพร่องหรือทุกข์ทรมานอย่างมีนัยสำคัญทางคลีนิก
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
ผู้เสพสารเสพติดมีรูปแบบการใช้สารที่มีปัญหาการก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตนเอง ต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ ในช่วงใดช่วงหนึ่งใน 12 เดือนที่ผ่านมา โดยอาการยังไม่เข้าได้กับลักษณะของการติดสารเสพ ติด (substance dependence)
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่ เช่น หน้าที่ การงาน การเรียน หรืองานบ้าน
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ขับรถขณะมึนเมา
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารสารเสพติดนั้น ๆ เช่น ถูกจับกุม
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ใน ด้านสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การทะเลาะเบาะแวงระหว่างสามีภรรยาที่เกิดจากผลของการใช้สาร เสพติดนั้น ๆ
การติดสาร (substance dependence)
ผู้เสพสารเสพติดมีรูปแบบการใช้สารที่มีปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตนเอง ต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
การดื้อยา (tolerance) โดยมีลักษณะต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มีการเพิ่มปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆเพื่อให้ได้ผล
อาการขาดยา (withdrawal) โดยมีลักษณะต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดกลุ่มอาการขาดยาซึ่งมีลักษณะเฉพาะตามแต่ละชนิดของสารเสพติดนั้น ๆ
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นหรือติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆแต่ไม่สำเร็จ
เวลาในแต่ละวันหมดไปกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ได้สารเสพติดนั้น ๆมา เพื่อการเสพสาร เสพติดหรือเพื่อฟื้นจากผลของสารเสพติดนั้น ๆ
การใช้สารเสพติดนั้น ๆมีผลทำให้กิจกรรมสำคัญๆ ในด้านสังคม อาชีพ และกิจกรรมส่วนตัว เสื่อมลง
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะทราบว่าสารเสพติดนั้น ๆก่อให้เกิดปัญหาทาง กายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และจิตใจจนเป็นปัญหาทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน และด้านอื่นๆที่สำคัญเช่น มีพฤติกรรม ทางเพศไม่เหมาะสม, มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลังจากการใช้สารนั้นทันทีหรือใช้สารนั้นเมื่อไม่นาน
มีอาการอย่างน้อย 1 อย่างที่เป็นอาการเมาของสารเสพติดนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นทันทีหรือไม่นานหลังจาก ใช้สารเสพติดนั้น ๆ และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิตเวชอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม และจิตใจ จนเป็นปัญหาที่เด่นชัดและมีนัยสำคัญทางคลินิก ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านต่าง ๆ ได้แก่ พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย การตัดสินใจบกพร่อง
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการหยุดหรือลดปริมาณการ ใช้สารเสพติดที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน โดยกลุ่มอาการที่เกิดจะมีลักษณะเป็นไปตามชนิดของสารเสพติด นั้นๆ ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน และด้านอื่นๆที่สำคัญ
มีอาการอย่างน้อย 2 อย่างๆที่เกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถึง 2 ถึง 3 วันหลังหยุดใช้หรือลด ปริมาณการใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆจากที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิต เวชอื่น ๆ จนเป็นปัญหาที่เด่นชัดและมีนัยสำคัญทางคลินิก ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน และ ด้านอื่น ๆ
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด(substance induced mental disorder)
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด(substance induced mental disorder) เป็นโรค ทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด
เป็นโรค ทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด ซึ่งอาการและอาการแสดงจะมีแตกต่างกันไปตามสารเสพติดแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับปริมาณ วิธีที่ใช้ และระยะเวลาที่ใช้ของสารเสพติดนั้น ๆอีกด้วย ในทีนี้จะขอแบ่งสาร เสพติดเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามการออกฤทธิ์ได้แก่
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants) เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความพึงพอใจ (pleasure or reward center) ใน สมองส่วน limbic system ซึ่งทำให้สารสื่อประสาทชนิด serotonin, dopamine และ noradrenaline ถูกปล่อย ออกหรือป้องกันไม่ให้สารเหล่านี้ถูกดูดกลับ (reuptake inhibitor) ปริมาณสารสื่อประสาทดังกล่าวในช่องว่างระหว่าง เซลล์ประสาท (synaptic cleft) จึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น ส่งผลจึงเกิดอาการตื่นตัว (arousal) ขยันขันแข็ง (hyperactivity)อารมณ์ดี (elevated mood) พึงพอใจ (peasant) เคลิ้มสุข (euphoria) ความต้องการในการนอน
กลุ่มที่ 2 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดไม่รุนแรงและเป็นที่ยอมรับในสังคม ได้แก่ คาเฟอีน ในเครื่องดื่ม เช่น คาเฟอีน (caffeine) ในกาแฟ, เครื่องดื่มชูกำลัง, นิโคติน (nicotine) ในยาสูบหรือบุหรี่ • ภาวะเมาสาร (substance intoxication)มักเกิดเมื่อบริโภคคาเฟอีน (caffeine) ในเครื่องดื่ม มากกว่า 250 มิลลิกรัม เช่น ดื่มกาแฟที่ชงจากเครื่องกลั่นมากกว่า 2 - 3 แก้ว โดยมักเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ตื่นต้น หงุดหงิด ง่าย
กลุ่มที่3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants) เป็นสารที่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อ limbic system ผ่าน GABA receptor โดยสารในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ผ่าน GABA receptor เป็นหลัก ซึ่งเมื่อ GABA receptor ถูกกระตุ้น ก็จะสั่งผลให้ chloride channel ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาท
(cell membrane) เปิดกว้างและถี่ขึ้น ประจุ chloride(Cl) จึงวิ่งเช้ามาในเชลล์ประสาทมากขึ้น action potential ซึ่งนำกระแสประสาทจึงเกิดน้อยลง ลักษณะดังกล่าวถึงส่งผลให้ สารกลุ่มนี้กดการทำงานของระบบประสาทให้น้อยลง ลดความวิตกกังวล จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่าย ง่วงนอน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดผลข้างเคียง ให้มี อาการหลงลืม (amnesia)
clonic seizure) ได้
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อ serotonin และ glutamate receptor ทำให้ประสาทรับรู้บิดเบือน (perceptual disturbance) ประสาทหลอน หลงผิด และสับสน สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ สาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine, phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
กลุ่มที่ 5 กลุ่มสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์แตกต่างจาก 4 กลุ่มแรก สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ กัญชา (cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna)
สาเหตุ การบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับการนำไปสู่การติดสารเสพติดของบุคคล ดังการศึกษาครอบครัว ผู้ที่ติดโคเคนและผู้ที่ติดแอลกอฮอล์
การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity) การใช้สารอย่างต่อเนื่องจะทำให้มี การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity) เพื่อเร่งกระบวนการทำลายสารเสพติด โดยมีหลักฐาน สนับสนุนจากการตรวจน้ำไขสันหลังของผู้ติดสารเสพติด
2) ปัจจัยทางจิต
มีแรงจูงใจในการอยากลอง พบว่า ผู้ใช้สารเสพติดมักเริ่มตันใช้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมี แรงจูงใจคืออยากลองเพราะเห็นคนอื่นใช้และบอกว่าสนุกสนาน คลายทุกข์ได้ ซึ่งผู้ทดลองเสพสารเสพติดก็มักมาจาก ครอบครัวที่มีปัญหาการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน ขาดความอบอุ่น ขาดระเบียบวินัย มีชีวิตที่สับสน เหงาโดดเดี่ยวและขาด ความยับยั้งชั่งใจ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) กล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหากรใช้สารเสพติดจะมี superego ที่ช่างลงโทษ (harsh superego) และใช้สารนั้นเป็นหนทางที่จะลดความเครียดจากจิตไร้สำนึก (unconscious system) มีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะ oral stage (oral fixation) โดยใช้สารเสพติดช่วยลดความวิตก กังวล
บุคลิกภาพ บุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดพฤติกรรมติดสาร คือ impulsivity, dependency need ที่สูง การควบคุม อารมณ์ที่บกพร่อง กลุ่มอาการ ADHD และบุคลิกภาพแบบ antisocial ตัวอย่างเช่น บุคลิกภาพที่เสี่ยงต่อการติดสุรา (alcoholic-prone personality) มักเป็นคนขี้อาย ดูเงียบ ๆ ค่อนข้าง แยกตัว ไม่ค่อยอดทน
3) ปัจจัยทางสังคม
ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี เด็กหันไปติดเพื่อน ถูกเพื่อนชักจูง
สังคมมีค่านิยมผิดเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด ตัวอย่างเช่น สังคมและวัฒนธรรมบางแห่ง ส่งเสริมให้การดื่มสุราเป็นเรื่องปกติและสังคมยอมรับ
สังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุนิยม ชุมชนแออัดแต่อ่อนแอเพราะต่างคนต่างอยู่ มีกลุ่มอิทธิพล วางตัวอยู่เหนือกฎหมาย มักมีการแพร่ระบาดของสารเสพติดอย่างกว้างขวางและมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
การบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะพิจารณาจากชนิดของสารเสพติด รูปแบบ พฤติกรรมการเสพสาร ความรุนแรงของอาการทางจิต พฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อสังคม ความบกพร่องของพุทธิปัญญา และปัจจัยสนับสนุนทางสังคม
ระบบสมัครใจ หมายถึง การรักษาที่ผู้ป่วยสมัครใจมาขอรับการรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐ โดยตรง
ระบบบังคับรักษา หมายถึง การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องคดียาเสพติดและอยู่ระหว่างรอ พิสูจน์หลักฐานเพื่อส่งดำนินคดีในชั้นศาล กรมคุมประพฤติมีหน้าที่ให้กรดูแลติดตามหรือส่งผู้ป่วยมาบำบัดตามคำสั่ง ศาลให้เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐ เป็นวลา 4 เดือน และติดตามต่อเนื่องอีก 1 ปี
การต้องโทษ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ) หมายถึง การักษาผู้ป่วยที่เป็นนักโทษอยู่ในเรือนจำที่มี ปัญหาเกี่ยวกับติดสารเสพติด จำเป็นต้องรักษาอยู่ในสถานบำบัดพิเศษของเรือนจำนั้น
1) เพื่อให้ผู้ป่วยหยุดใช้สารเสพติดให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ (abstinence from the stance) กล่าวคือ การพยายามลดปริมาณของการใช้สารเสพติดหรือลดความรุนแรงของการติดและให้ผู้ป่วยสามารถควบคุม การใช้ให้น้อยลง หรือเลิกใช้สารอย่างถาวร อย่างไรก็ตามการเลิกใช้สารอย่างถาวรนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามการศึกษาต่าง ๆ พบว่าผู้ป่วยโรคติดสุราหลังรับการรักษาแล้วภายใน 3 เดือนแรกจะกลับไปดื่มใหม่อีก
เป็นจำนวนราวร้อยละ 50 – 80 ในขณะที่สารเสพติดชนิดอื่น ๆ ก็มีอัตราการกลับไปใช้สารซ้ำภายใน 1 ปีอยู่ใน ระดับสูงเช่นเดียวกัน
2) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพทั้งร่างกายจิตใจและสังคมดีขึ้น โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทาง ร่างกาย จิตใจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน
3) เพื่อช่วยผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยเน้นปัจจัย เกื้อหนุนทางสังคมที่เพียงพอ
รูปแบบการบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพมี4 ระยะได้แก่
ระยะแรก (pre-admission) คือ การเตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยใช้เวลา 1 - 7 วัน เป็นระยะที่ ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาครั้งแรกผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการทางคลินิก (clinical assessment)และดูความ พร้อมความเต็มใจในการมารับการรักษา มีการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตโดยละเอียดรวมทั้งการส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติ
ระยะสองการถอนพิษยา (detoxification) คือ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ โดยเริ่ม จากการลดขนาดยาเสพติดลงไปเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยจะได้รับยาที่ออกฤทธิ์เหมือนหรือใกล้เคียงสารเสพติด (Agonist therapy) ออกฤทธิ์จับกับตัวรับสารสื่อประสาทระบบเดียวกับสารเสพติด นำมาใช้ชดเชยแทนสารเสพติด
ระยะสามการรักษาทางจิตสังคมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (psychosocial rehabilitation)คือ นั้น มีความจำเป็นและได้ผลดีมาก เช่น การทำครอบครัวบำบัด หรือ การบำบัดคู่สมรส (family or marital therapy) การทำจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคล (individual supportive psychotherapy) ชุมชนบำบัด (therapeutic community) การทำกลุ่มช่วยเหลือกันเอง (self-help group) พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
1) การประเมินสภาพ (assessment) มีเป้าหมายเช่นเดียวกันการให้การพยาบาลในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มอื่น คือ มีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติสุขภาพ ประเมินสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่เกิดจากการเสพสารเสพติด ฉะนั้นข้อมูลที่ควรรวบรวม
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)ควรครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม และควร มีความสอดคล้องกับระยะของการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดด้วย
ระยะเตรียมการก่อนบำบัด (pre-admission)
ระยะการถอนพิษยา (de toxification)
ระยะติดตามดูแล (after-care)
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
เป้าหมายในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมให้มีสุขภาพทั้ง ร่างกายจิตใจและสังคมดีขึ้น จึงมักเกี่ยวข้องกับความต้องการทางร่างกายหรือสรีระ (physiological needs) และ ความต้องการมั่นคงปลอดภัย (security needs) ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
เป้าหมายในระยะยาว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหยุดใช้สารเสพติดและเลิกใช้สารเสพติดได้ถาวร มักเกี่ยวข้องกับ ความต้องการเคารพนับถือ (esteem need)
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation) จะประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สามารถประเมินได้จากการบอกกล่าวของผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วย หรือจากการสังเกตจากพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดง ให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวก