Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลท่ีมีความโกรธและความก้าวร้าว…
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลท่ีมีความโกรธและความก้าวร้าว
ความหมาย
ความโกรธ(anger)เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลเป็นประสบการณข์อง ความรู้สึกทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ท่ี ต่อเนื่องกันจากความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไปจนถึงความรู้สึกไม่พอใจท่ีรุนแรงขึ้นไปเร่ือย ๆ เกิดข้ึนเม่ือบุคคลรู้สึกว่าตนเอง ถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย ถูกทําให้ผิดหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ หรือตั้งเป้าหมายไว้ รู้สึกสูญเสียคุณค่า และศักดิ์ศรีในตนเอง บุคคลจะรู้สึกคับข้องใจ วิตกกังวล และมีอารมณ์โกรธตามมาเป็นลําดับ
ลักษณะอาการ
ด้านร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) จะได้รับการกระตุ้นทําให้อัตราการเต้นหัวใจ
และความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง ระดับอีพิเนฟริน (epinephrine), นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine)และระดับน้ําตาลในเลือดสูงขนึ้ นอกจากน้ียังทําให้ปวดศีรษะแบบไมแกรนหรืออาจมีผลกับระบบ ทางเดินอาหาร เช่น มีแผลในกระเพาะอาหารหรือเป็นโรคเก่ียวกับหลอดเลือดหัวใจ
ด้านจิตใจและอารมณ์
การกระทําที่รุนแรง (violence) เป็นปฏิริยาของพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกด้วยการลงมือกระทํา การทําร้ายหรือทําลายโดยตรง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตนเองผู้อื่นหรือทรัพย์สินได้ เช่น การทําลายข้าวของ การทําร้าย ร่างกาย การฆ่าผู้อื่น การฆ่าตนเอง มักจะใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
แยกตัว (withdrawal) ออกจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดอารมณ์โกรธ เป็นการแสดงอารมณ์แบบไม่ ตรงไปตรงมา (passive expression of anger) เกิดจากการที่บุคคลเก็บกดอารมณ์โกรธไว้ ทําให้รู้สึกไม่สบายใจและ เพิ่มความกดดันเร่ือยๆ จนต้องแยกตัวออกจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดอารมณ์ มักจะใช้กลไกทางจิตแบบปฏิเสธความ จริง (denial of reality), แบบถดถอย (regression)
ความก้าวร้าว (aggression) เป็นปฏิกิริยาทางคําพูดหรือการกระทําที่โต้ตอบความรู้สึกโกรธหรือ ผิดหวังอย่างรุนแรง ที่มุ่งจะให้เกิดผลต่อบุคคลและส่ิงอื่นๆรอบตัว เช่น พูดประชดประชัน ขู่ตะคอก พูดคําหยาบคาย ทะเลาะวิวาท ใช้น้ําเสียง ถ้อยคําในการโต้ตอบท่ีรุนแรง ออกแรงกระแทกกระท้ันสิ่งของให้เสียงดัง มักจะใช้กลไกทาง จิตแบบโทษผู้อื่น (projection) แบบเคลื่อนย้ายอารมณ์ไปยังบุคคลหรือสิ่งของที่ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดอามรณ์โกรธ (displacement)
ซึมเศร้า(depression)เป็นการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้กับตนเอง,ไม่กล้าแสดงออกเนื่องจากกลวัถูก สังคมประณาม, กลัวอันตรายและผู้อื่นจะไม่รัก จึงหันความโกรธเข้าสู่ตนเอง (directed toward the sell) และใช้ กลไกทางจิตแบบโทษตนเอง (introjection), แบบเก็บกด (repression) และแบบฝืนทําให้ตรงข้ามกับความรู้สึกที่ แท้จริง (reaction formation)
ความไม่เป็นมิตร (hostility) เป็นปฏิกริ ิยาท่ีแสดงความเป็นปรปักษ์ และมีความประสงค์ร้าย เกิดข้ึน เมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามหรือขาดพลังอํานาจ ซึ่งอาจแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาหรือซ่อนเร้น เช่น การเฉย เมยไม่พูดไม่ทักทาย บึ้งตึง เคร่งครึม คิ้วขมวด ตาขวาง ถลึงตาจ้องมอง มักจะใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อ่ืน (projection) แบบเคลื่อนย้ายอารมณ์ไปยงั บุคคลหรือสิ่งของท่ีไม่ใช่สาเหตุของการเกิดอามรณ์โกรธ (displacement)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทําร้าย หรือถูก
ล่วงละเมิดทางเพศ มักมีภาวะเก็บกดและมักแสดงออกถึงพฤติกรรมไม่เป็นมิตรก้าวร้าว และอารมณ์รุนแรงได้ เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลใกล้ชิดได้
สารซีโรโทนิน (serotonin), สารโดปามีน (dopamine), สารอีพิฟริน (epinephrine) และนอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) อยู่ในระดับผิดปกติ การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
การพยาบาล
ประเมินพน้ื ฐานอารมณ์ดั้งเดิม
ประเมินการใช้กลไกทางจิต ที่อาจจะเป็นผลเสียต่อการดําเนินชีวิต
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณหรือมีความเชื่อ
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมากหรือน้อยเพียงใด
ประเมินความเสี่ยงในการทําร้ายตนเองและผู้อื่นเมื่อบุคคลมีอารมณ์โกรธ