Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลท่ีมีภาวะวกฤติ - Coggle Diagram
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลท่ีมีภาวะวกฤติ
ความหมาย
ภาวะวิกฤต (crisis) หรือภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (emotional crisis) หมายถึง ภาวะชั่วคราวที่เกิดข้ึน เมื่อ บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทําให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลง ต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือใช้วิธีการแก้ไขปัญหามาใช้ลดความตึงเครียด นั้นในลักษณะเดิม ๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน ทําให้บุคคลเสียความสมดุลของชีวิตไป เกิดความตึงเครียด คับข้องใจอย่าง มาก และมีความวิตกกังวลสูง เป็นเหตุให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม
ชนิด
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดข้ึนตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change)
ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจเกิด จากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างข้ึนมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย
สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้
อาการ
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน เป็นระยะที่บุคคลยังคงใช้ความพยายามที่จะจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคาม หรือปัญหาท่ีเกิดขึ้น โดยใช้ทักษะการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน เช่น การลองผิดลองถูก (trial and error attempts)
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) นั้นได้รับการกระตุ้นจาก ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ท่ีมาคุกคามหรือปัญหาท่ีเกิดขึ้น
ระยะท่ี 1 เป็นระยะท่ีบุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage) มีความเครียด (stress) ความวิตกกังวล (anxiety) มากขึ้นจากการที่ตนเองใช้วิธกี ารจัดแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขนึ้ แล้วไม่ได้ผล
ระยะที่ 4 เป็นระยะท่ีบุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ท่ีมากข้ึนอีก ต่อไป (intolerable level) นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทําให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกําหนด ตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
การพยาบาล
ระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกต
ระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม เพียงพอเม่ือต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
สาเหตุ
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทําให้เกิด ความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง จะทําให้บุคคลนั้นเกิดความกังวลและความตึงเครียด ตอบสนองต่อ เหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถกู วิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้
3) การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาจนํามาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช เช่น ภาวะ ซึมเศร้า การมีลักษณะถดถอย ความสามารถในการทําหน้าที่ในเชิงสังคมลดลง แต่หากบุคคลนั้นจัดการแก้ไขปัญหา อย่างถูกวิธีนอกจากจะทําให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้สําเร็จแล้ว
1) เหตุการณ์วิกฤต (negative events) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤต สําหรับบุคคล ซึ่งเหตุการณ์วิกฤตในบุคคลหนึ่งอาจไม่เป็นปัญหาสําหรับอีกบุคคลหนึ่ง