Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว - Coggle Diagram
บุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความหมาย
ความโกรธ (anger) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล เป็นประสบการณ์ของความรู้สึกทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ที่ต่อเนื่องกันจากความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไปจนถึงความรู้สึกไม่พอใจที่รุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ด้านร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) :ได้รับการกระตุ้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง
ระดับสารอีพิเนฟริน (epinephrine), นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ทำให้ปวดศีรษะแบบไมแกรนหรืออาจมีผลกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร
ด้านจิตใจและอารมณ
ความก้าวร้าว (aggression)
ปฏิกิริยาทางคำพูดหรือการกระทำที่โต้ตอบความรู้สึกโกรธ
หรือผิดหวังอย่างรุนแรง มุ่งที่จะให้เกิดผลต่อบุคคลและสิ่งอื่นๆรอบตัว
พูดประชดประชัน ขู่ตะคอก พูดคำหยาบคาย ทะเลาะวิวาท ใช้น้ำเสียง ถ้อยคำในการโต้ตอบที่รุนแรงออกแรงกระแทกกระทั้นสิ่งของให้เสียงดัง
ใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
แบบเคลื่อนย้ายอารมณ์ไปยังบุคคลหรือสิ่งของที่ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดอามรณ์โกรธ (displacement)
ความไม่เป็นมิตร (hostility)
ปฏิกิริยาที่แสดงความเป็นปรปักษ์ และมีความประสงค์ร้ายเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามหรือขาดพลังอำนาจ ซึ่งอาจแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาหรือซ่อนเร้น
การเฉยเมยไม่พูดไม่ทักทาย บึ้งตึง เคร่งครึม คิ้วขมวด ตาขวาง ถลึงตาจ้องมอง
ใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
แบบเคลื่อนย้ายอารมณ์ไปยังบุคคลหรือสิ่งของที่ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดอามรณ์โกรธ (displacement)
การกระทำที่รุนแรง (violence)
ปฏิริยาของพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกด้วยการลงมือกระทำการทำร้ายหรือทำลายโดยตรง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่นหรือทรัพย์สินได
การทำลายข้าวของ การทำร้ายร่างกาย การฆ่าผู้อื่น การฆ่าตนเอง
ใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น (projection)
แยกตัว (withdrawal)
ออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์โกรธ เป็นการแสดงอารมณ์แบบไม่ตรงไปตรงมา
(passive expression of anger)
เกิดจากการที่บุคคลเก็บกดอารมณ์โกรธไว้ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ และเพิ่มความกดดันเรื่อยๆจนต้องแยกตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์
ใช้กลไกทางจิตแบบปฏิเสธความจริง (denial of reality)
แบบถดถอย (regression)
ซึมเศร้า (depression)
เป็นการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้กับตนเอง ไม่กล้าแสดงออก เนื่องจากกลัวถูกสังคมประณาม กลัวอันตราย และผู้อื่นจะไม่รัก
หันความโกรธเข้าสู่ตนเอง (directed toward the sell)
ใช้กลไกทางจิตแบบโทษตนเอง (introjection)
แบบเก็บกต (repression)
ฝืนทำให้ตรงข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริง (reaction formation)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้อธิบายถึงสัญชาติญาณของมนุษย์ ได้แก่ สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิตและสัญชาติญาณแห่งการตาย
มนุษย์จะแสดงความก้าวร้าวออกมาเพื่อดิ้นร้นต่อสู้ชีวิตซึ่งเป็นการทำงานของจิตใต้สำนึกในการตอบสนองต่อแรงขับของความก้าวร้าว
ภาวะตัวตน (ego) ไม่เข้มแข็งเพียงพอที่สามารถจัดการได้ก็จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและทำร้ายตนเองในที่สุด
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
กลุ่มแนวคิดนี้ได้อธิบายว่าพฤติกรรมที่แสดงออกของอารมณ์โกรธนั้น เป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้ดังใจที่ตนเองคาดหวังหรือกำหนดไว้ และแสดงความโกรธออกมาแล้วส่งผลให้บุคคลนั้นได้รับการตอบสนองเป็นผลลัพธ์
บุคคลนั้นจึงเรียนรู้กลวิธีเหล่านี้ไว้ใช้ในการตอบสนองสถานการณ์เช่นนี้อีก
ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory) อธิบายว่า เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้ายหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศมักมีภาวะเก็บกดและมักแสดงออกถึงพฤติกรรมไม่เป็นมิตรก้าวร้าว และอารมณ์รุนแรงได้
เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู
หรือบุคคลใกล้ชิดได้
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
หรือความกระทบกระเทือนที่สมอง การมีเนื้องอกที่สมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การเจ็บป่วยทั้งแบบฉับพลันและเรื้อรังที่ส่งผลต่อความทุกข์ทรมาน
ความมีคุณค่าในตนเอง หรือกระทบต่อความเป็นตัวตน
สารสื่อประสารในสมอง
อยู่ในระดับผิดปกติ เช่น
สารซีโรโทนิน (serotonin)
สารโดปามีน (dopamine)
สารอีพิฟริน (epinephrine)
นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine)
การพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกาย
ที่มีความเชื่อมโยงจากอารมณ์โกรธ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องมาจากมีอารมณ์โกรธและไม่สามารถระบายอารมณ์โกรธได้อย่างสร้างสรรค์
การแสดงอารมณ์โกรธไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะในการเผชิญปัญหาอย่างสร้างสรรค์
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย เนื่องจากมีภาววะความดันโลหิตสูงที่มีความสัมพันธ์
กับอารมณ์โกรธ
ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากอารมณ์โกรธ
รู้สึกผิดและคิดว่าตนเองด้อยค่าเมื่อมีอารมณ์โกรธ
กิจกรรมทางการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ หรือพฤติกรรมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธ และให้ผู้ป่วยเชื่อมโยงถึงผลที่ตามมาของอารมณ์โกรธที่มาจากพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยที่ผ่านมาทั้งทางบวกและทางลบ โดยพยาบาลควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่แสดงความขัดแย้งจนกว่าอารมณ์โกรธของผู้ป่วยจะลดลง
ประเมินรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยว่ามุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา หรือมุ่งเน้นการการตอบสนองทางอารมณ์เพียงอย่างเดียว
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
จัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมนันทนาการบำบัด ดนตรีบำบัด กลุ่มวาดภาพเพื่อระบายอารมณ์โกรธออกไปหรือจัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ
ส่งเสริมและฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธลดลงและยอมรับว่ามีวิธีการระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์กว่าที่ผู้ป่วยเคยใช้มาก่อน
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดร่วมกับเพื่อนผู้ป่วยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมคิดวิธีการแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์กว่าที่เคยใช้
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผู้ป่วยใช้กลไกการเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม และมีพฤติกรรมที่พึงปารถนาเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาจากอารมณ์โกรธที่เพิ่มมากขึ้น และสัมพันธ์กับอารมณ์โกรธ หากมีอาการและอาการแสดงทางกายที่เพิ่มมากขึ้นและสัมพันธ์กับอารมณ์โกรธ
การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินการใช้กลไกทางจิต ที่อาจจะเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต เช่น บางรายเมื่อมีความโกรธจะเปลี่ยนความรู้สึกกดดันให้เป็นรูปแบบที่สังคมยอมรับได้ (sublimations) หรือเก็บกดความโกรธเอาไว้(repression)หรือบางคนหันความโกรธเข้าหาตนเอง (introjection) ก็อาจทำร้ายตนเอง หรือบางคนหันความโกรธเข้าหาบุคคลอื่น (projection) ก็อาจทำร้ายผู้อื่นได้
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทนของผู้ป่วยแต่ละคนรวมทั้งระดับของการแสดงอารมณ์โกรธต่อสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดความโกรธ
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ เช่น
ความดันโลหิตสูง อัตราหัวใจเต้นเร็ว หน้าแดง มือกำแน่น ตัวแข็งแกร่ง น้ำเสียงเปลี่ยน
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตนที่เกิดขึ้น มองเห็นถึงความรับผิดชอบของตนเองต่อการแสดงอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์โดยไม่รบกวนบุคคลอื่น
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมาก หรือน้อยเพียงใด สังเกตจากการแสดงพฤติกรรมที่มีต่อความโกรธ
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ความสามารถในการปรับตัวเมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธต่อ และการปรับตัวดังกล่าวมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นหรือไม่ หรือเมื่อมีอารมณ์โกรธผู้ป่วยมีความรู้สึกโดดเดี่ยว ไร้ที่พึ่ง หรือมีความต้องการที่เอาชนะผู้อื่น โดยคงยึดอารมณ์โกรธให้คงอยู่เรื่อยไป
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง และผู้อื่นเมื่อบุคคลมีอารมณ์โกรธ โดยการสังเกตจากลักษณะคำพูด และพฤติกรรมว่า บุคคลดังกล่าวใช้คำพูดที่รุนแรง ให้ร้าย ถากถาง กำมือแน่น ขบกราม หรือใช้สายตา มีสายตาที่ไม่เป็นมิตร เป็นต้น
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ หรือมีความเชื่อ หรือปรัชญาของชีวิตที่ยึดถืออย่างไร เพื่อจะช่วยเหลือตนเอง เมื่อเผชิญกับอารมณ์โกรธ
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีวิธีการระบายความรู้สึกโกรธที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยไม่ใช้วิธีการที่รุนแรงในการเผชิญความโกรธ
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธลดลง
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้มากขึ้น หรือสามารสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการของตนได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งประโยชน์ที่สนับสนุน ช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ หรือพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ได้