Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มกี ารเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของก…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มกี ารเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจติ เวชที่
บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ําหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง ส่งผลทําให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความเข้มงวดกับการพยายามลด หรือควบคุมน้ําหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกําลังกาย และทําให้ตนอาเจียนออก หลังจากรบัประทานอาหาร
พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) และบูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความ วิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา มีความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวกลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อย และไม่คำนึงถึงผลกระทบของร่างกายที่เกิดจากการปฏิเสธอาหาร เป็นความ ผิดปกติทางจิตเวชเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด ซึ่งอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่าสามารถจำแนกเป็น 2 แบบ
แบบที่1 แบบจำกัด (restricting type) คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมากและไม่มีการ ขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
แบบที่2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) คือ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa) เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิด ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภท แป้งและน้ำตาล การบริโภคอาหารแต่ละครั้งจะบริโภคในปริมาณมากในเวลารวดเร็ว เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน
มีการรับประทานอย่างมากป็นระยะๆ ซึ่งช่วงดังล่าวอาจมีลักษณะ 2 ประการ คือ
ลักษณะที่1 มีช่วงของการรับประทานที่รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆ มากกว่าคนทั่วไปจะบริโภคได้ในช่วงเวลาและในสถานการณ์ที่เท่ากันหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลา รับประทานอาหารน้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ลักษณะที่ 2 มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น เช่น รู้สึกว่า ตนเองหยุดการรับประทานไม่ได้หรือควบคุมชนิดหรือปริมาณอาหารไม่ได้
สาเหตุ การบําบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
ด้านพันธุกรรม
ปัจจัยด้านพันธุดรรมส่งผลทําให้บุคคลมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการรับประทานอาหาร คือ บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมี โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ44คู่แฝดท่ีเกิดจากไข่คนละใบ บูมลิเมียเนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านพันธุกรรมส่งผลทำให้บุคคลมีโอกาสเกิดความ ผิดปกติของการรับประทานอาหารคือ บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมี โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 44 คู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 12.5 และบุคคลที่เป็นบูลิมีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 22.9 และคู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละ ใบ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 8.7 แต่ยังไม่ทราบวิธีการถ่ายทอดทางที่ชัดเจน
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง จากการศึกษาพบว่าความผิดปกติของการรับประทานอาหารกับ โรคซึมเศร้า (depression disorder) มีความสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitters) จากผลร ศึกษาปัจจัยทางซวภาพพบว่ มีความส้มพันธ์กับความผิดปกติของระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด ซึ่งพบว่า บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารทั้ง 2 กลุ่ม มีการตอบสนองกับการรักษด้วยยาต้านเศร้า (antidepressant drugs) ซึ่งยาไม่ได้ชวยให้ความผิดปกติของการรับประทานอาหารหาย แต่จะช่วยลดอาการแสดง ของโรคลง จึงเชื่อว่าความผิดปกติของการรับประทานอาหารน่าจะเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความพึงพอใจ
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
พัฒนาการของจิตใจ เนื่องจากโรคนี้มักพบมากในกลุ่มวัยรุ่น จึงมีการสันนิษฐานว่าการ พัฒนาการของจิตใจน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการการรับประทานอาหาร ซิกมันด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ผู้เขียนทถษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theories) อธิบายว่า บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์ โวซ่า เกิดจากความพยายามยับยั้งแรงขับทางเพศในระดับจิตใต้สำนึกของตนเองที่เพิ่มขึ้นในระยะวัยรุ่น
บุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานลักษณะเจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสำเร็จสูง ทำ ทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist) และบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ขาดทักษะในการ ใช้ชีวิตในสังคม มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ (low self-esteem) ขาดความมั่นใจใน ตนเอง (self-doubts) ไม่กล้าตัดสินในในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง มักทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะหันเหความสนใจของการมีคุณค่าในตนเองมาที่น้ำหนักและรูปร่างแทน มีการมองภาพ ตนเองบิดเบือนมองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไปทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วน ปฏิเสธว่าไม่หิว แยกแยะความหิวไม่ได้ ส่งผลให้
บุคคลกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการรับประทานอาหารได้
ลักษณะการเลี้ยงดู พบว่า มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป(overprotection) เจ้า ระเบียบและกลัวการพลัดพรากมากผิดปกติ หรือครอบครัวที่บิดามีลักษณะเข้มงวดในกฎระเบียบมาก หรือไม่ค่อย แสดงออก ย้ำคิดย้ำทำและขาดความชื่อมั่นในตนเอง บุคคลนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสิ่งใดได้เลยรวมทั้ง การรับประทานอาหาร อาจแสดงอาการเก็บกดด้านจิตใจ ขาดความเชื่อมั่นในตนเองไม่สามารถตัดสินใจหรือแก้ไข ปัญหาได้ด้วยตนเอง
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
• สัมพันธภาพในครอบครัว บุคคลที่มีลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ค่อยดีมีความขัดแยัง เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือครอบครัวที่เกิดการหย่าร้าง การทารุณกรรมทางเพศหรือคนในครอบครัวมีปัญหาการติด สุราเรื้อรัง จากงานวิจัยพบว่าบุคคลหล่นี้จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดควาผิดปกติของของการรับประทานอาหารได้สูง กว่าครอบครัวที่สัมพันธภาพในครอบครัวดี
• สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม มีฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจดี ทำให้บุคคลต้องใช้ความสวยงามและรูปร่างของตนเองในการประกอบอาชีพ เช่น ดารา, นักแสดง, นางแบบ และนายแบบ เป็นต้น จะพบว่าบุคคลกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของการรับประทานอาหารได้มากกว่า บุคคลกลุ่มอื่น ๆ และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้กลุ่มวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีการเปรียบเทียบรูปร่างของตนเองกับ มาตรฐานความงามของบุคคลในอุคคติที่สังคมยกย่อง ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกที่ไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง เกิด ความกดดันและแสวงหาวิธีการลดความอ้วนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การอดอาหารอย่างรุนแรง การใช้ยาลดความอ้วน ยา ระบาย รวมไปถึงการล้วงคอให้อาเจียน นำไปสู่การเกิดความผิดปกติของการรับประทานอาหารแบบเรื้อรังในที่สุด
การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การบำบัดรักษาทางกาย อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการ ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร
2) การบำบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy) ยาที่ใช้รักษาบุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหารมีดังนี้
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน (fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า • ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
• ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน (risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
• ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrolacetate ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
3) จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy) เป็นการรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มี ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยให้บุคคลที่มี ความผิดปกติของการรับประทานอาหารเข้าใจ ยอมรับการเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษาเพิ่มขึ้น การทำ จิตบำบัดยังช่วยรักษาด้านจิตใจของบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารเกิดความรู้สึกล้มหลวจากการไม่ สามารถควบคุมน้ำหนักหรือจำกัดอาหารได้สำเร็จตลอดจนสอนทักษะการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และให้การบำบัด เชิงรุก เช่น เทคนิคการปรับพฤติกรรมเพื่อจัดการกับอาการแสดงที่เกิดขึ้น
4) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะมีความคิดและความเชื่อที่สัมพันธ์กับอาหาร น้ำหนัก มโนทัศน์แห่งตน (self-concept) และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล การบำบัดด้านความคิดจึงมีเป้าหมาย
5) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)ผู้บำบัดจะต้องสังเกตอาการของการรับประทาน อาหาร และอาการแสดงของความผิดปกติของการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด
6) ครอบครัวบำบัด (family therapy) เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบำบัด คือ พยายามให้ ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
7) กลุ่มบำบัด (group therapy) บุคคลที่มีความผิดปกติของการการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากคนอื่น พยายามหลีกเลี่ยงการการรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น
8) โภชนาการบำบัด (nutrition therapy) นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม สำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
9) อาชีวบำบัต (occupational therapy) นักอาชีวบำบัดช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร ได้เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินอาการของบุคคลที่ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เนื่องจากบุคคลมักไม่ยอมรับว่าอาการเหล่านั้นเป็นปัญหา มีความรู้สึกไม่เห็นด้วยกับการบำบัด พยาบาลจึงต้องสร้าง สัพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเป็นประโยชน์ในการวาง แผนการพยาบาลที่เหมาะสม
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
การกำหนดข้อวินิจฉัยจะต้องครอบคลุมปัญหาทั้งร่างกายที่เป็นภาระแทรกซ้อนที่เกิดจากพฤติกรรม การนอหารที่ผิดปกติ และปัญหาทางด้านจิตไที่ส่งผลห้กิดพฤติกรมการการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นโรคที่ซับซ้อนที่ต้องการการพยาบาลที่ ครอบคลุมทั้งร่างกาย และจิตสังคม
4) การประเมินผล (evaluation)
ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยให้พยาบาลทราบว่าการพยาบาลที่ให้กับผู้รับบริการเหมาะสม หรือไม่และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามหมายที่วางไว้มีมาจากสาเหตุใด เพื่อนำข้อมูลที่ไต้จาก การประเมินผลไปใช้ในการปรับแผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับผู้รับบริการในแต่ละราย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้ วางแผนไว้โดยจะมีการประเมินผลการพยาบาลด้านต่าง ๆ