Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
METABOLISM OF NUCLEIC ACID - Coggle Diagram
METABOLISM OF NUCLEIC ACID
การสังเคราะห์ DNA (DNA replication)
เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ได้ดังนี้
นิวคลีโอไทด์ ที่เข้าไปใหม่นี้จะเชื่อมติดกัน โดยการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เชื่อมนิวคลีโอไทด์เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเริ่มจากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’
ดังนั้นจาก DNA ที่เป็นต้นแบบ 1 โมเลกุลจะได้ DNA จากการสังเคราะห์ 2 โมเลกุลโดยแต่ละโมเลกุลประกอบด้วยสายพอลินิวคลีโอไทด์เดิม 1 สาย และสายนิวคลีโอไทด์ ใหม่ 1 สาย ซึ่งมีลำดับนิวคลีโอไทด์เหมือนเดิมทุกประการ
การแยกออกจากกันนี้ก็เพื่อเปิดช่องให้นิวคลีโอไทด์ที่เป็นวัตถุดิบได้เข้าไปจับคู่กับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่มีอยู่แล้วในสายเดิม โดย A คู่กับ T และ C คู่กับ G
เมื่อจะมีการสังเคราะห์ DNA เกิดขึ้น สายพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายของ DNA ต้นแบบจะแยกห่างออกจากกัน โดยพันธะไฮโดรเจน ซึ่งยึดสายทั้งสองสลายตัว เพราะเป็นพันธะที่ไม่แข็งแรง
DNA แต่ละโมเลกุลที่เกิดขึ้น จะประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์เดิม 1 สายและสายพอลินิวคลีโอไทด์ใหม่ 1 สาย กระบวนการสังเคราะห์ DNA นี้เรียกว่า ดีเอ็นเอ เรพลิเคชัน (DNA replication)
การสลาย
เบสเพียวรีน (Catabolism of Purine base)
มีดังนี้
เบส A และ G ถูกสลายโดยเอนไซม์ nucleotidase กลายเป็น Adenosine และ Guanosine ตามลำดับ
Adenosine เปลี่ยนเป็น Inosine ส่วน Guanosine เปลี่ยนเป็น Guanine
Inosine เปลี่ยนเป็น Hypoxanthine แล้วจึงถูกเอนไซม์ Xanthine Oxidase ทำให้เปลี่ยนเป็น Xanthine ส่วน Guanine จะเปลี่ยนเป็น Xanthine เลย
เมื่อเบสทั้งสองกลายเป็น Xanthine แล้ว เอนไซม์ Xanthine Oxidase จะทำการเปลี่ยนให้กลายเป็นกรดยูริก โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะให้ผลการสลายที่แตกต่างกันไป
ปฏิกิริยากู้คืนเพียวรีน(Purine salvage)
เป็นกลไกของร่างกายในการลดปริมาณการสังเคราะห์กรดยูริก
ทำได้โดยนำสาร Guanine และ Hypoxanthine กลับไปสังเคราะห์เบส A และ G ใหม่ เพื่อลดปริมาณกรดยูริก
ถ้ามากเกินไป จะส่งผลดังนี้
เด็กที่ขาดเอนไซม์ HPRT จะเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Lesh-Nyhan syndrome
ถ้ามีกรดยูริกที่มากเกินจะสะสมที่ไตและเป็นโรคเกาท์ มีความผิดปกติทางระบบประสาท บกพร่องทางสติปัญญา ทำร้ายตนเองด้วยการกัดริมฝีปากและเล็บ
ALLOPURINOL
คือยาที่ใช้ลดการสังเคราะห์กรดยูริก เนื่องจากมีฤทธิ์ไปยับยั้งเอนไซม์ Xanthine Oxidase
เบสไพริมิดีน (Catabolism of Pyrimidine base)
มีดังนี้
Cytosine จะเปลี่ยนเป็น Uracil จากนั้น Uracil กับ Thymine จะแตกตัวได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่รวมตัวกับแอมโมเนีย
Thymine จะกลายเป็น succinyl CoA และแตกตัวอีกได้ NADH, FADH2 และ GTP
สารพันธุกรรม
มีสมบัติสำคัญดังนี้
สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่างๆเพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ
ต้อง สามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะพันธุกรรมที่ผิดแปลกไปจาก เดิมและเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆขึ้น
ต้องสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้