Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะการสอนสำหรับครู ทักษะการกระตุ้นให้คิด - Coggle Diagram
ทักษะการสอนสำหรับครู ทักษะการกระตุ้นให้คิด
จุดมุ่งหมายของทักษะกระตุ้นความคิด
เพื่อให้ผู้ฝึกรู้วิธีในการส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียน
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อันจะช่วยเป็นแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
เพื่อให้ผู้สอนตระหนักถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
เพื่อฝึกให้ผู้สอนและผู้เรียนมีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
เพื่อให้ผู้สอนรู้จักแบบของการคิดและพฤติกรรมของการคิดชนิดต่างๆที่จะสามารถนําไปฝึก ปฏิบัติรวมทั้งฝึกให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ด้วย
ประเภทของแบบการคิด
การคิดแบบวิเคราะห์ คือ การคิดที่อาศัยข้อเท็จจริงรายละเอียดที่ปรากฏในสิ่งเร้าเป็นเกณฑ์ หรือรับรู้ในส่วนย่อยมากกว่าในส่วนร่วม
ความคล้ายคลึงกันทางด้านกายภาพ เช่น สี ลวดลาย ขนาดหรือรูปร่างเหมือนกัน
การแสดงอาการเหมือนกัน เช่น กําลังเดิน นั่ง นอน หรือเดินเหมือนกัน
การมีสิ่งที่เหมือนกัน เช่น มีกระเป๋าหูขาดเหมือนกัน
การแบ่งกลุ่มตามเพศ หรือ อายุ เช่น ผู้ชาย ผู้หญิง หรือเด็ก
การมีโครงสร้างเหมือนกัน เช่น ทําด้วยไม้ หรือทําด้วยเหล็กเหมือนกัน
การคิดแบบจําแนกประเภท คือ การคิดที่พยายามจัดสิ่งเร้าออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตาม ประสบการณ์ของตน โดยไม่คํานึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
การมีหน้าที่ การใช้หรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกัน เช่น ใช้ฝาครอบป้องกันแมลงวันใช้สําหรับ แข่งขัน
การใช้ชื่อรวมสิ่งต่างๆที่เป็นพวกเดียวกัน เช่น สิ่งมีชีวิต อาวุธ เครื่องกีฬา
ความคล้ายคลึงของคุณสมบัติบางประการ เช่น ขึ้นจากดิน คนสร้างขึ้น หรือมีเครื่องยนต์ เหมือนกัน เป็นการอ้างถึงคุณสมบัติที่มองไม่เห็นในสิ่งเร้า
การคิดแบบโยงความสัมพันธ์ คือ การคิดที่พยายามโยงสิ่งเร้าต่างๆให้สัมพันธ์กัน
การสร้างเรื่องให้สิ่งต่างๆเกี่ยวข้องกัน เช่น เอาลังใส่ท้ายรถลากไป เป็นต้น
การเปรียบเทียบระหว่างสิ่งต่างๆ เช่น สิ่งหนึ่งต่างไปจากสิ่งหนึ่ง หรือดีกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
การรวมสิ่งเร้าที่มีหน้าที่ร่วมกันหรือต้องใช้ร่วมกัน เช่น เก้าอี้คู่กับโต๊ะ มีขวดต้องมีแก้วน้ํา
การคิดแบบสังเคราะห์ คือ ความสามารถในการรวมส่วนย่อยเข้าเป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวใหญ่ อันเดียวกัน ที่มีรูปแบบหรือหน้าที่ใหม่กว่าเดิม
จัดลําดับเรื่องราวต่างๆ
สร้างแบบแผนหรือโครงการขึ้นตามแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดรูปสิ่งต่าง ๆ ขึ้นตามแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคิดแบบวิจารณญาณ คือ ความสามารถในการใช้ปัญญาตัดสินหรือชี้ขาดเรื่องราวต่างๆ หรือความสามารถในการไล่เลียงหาเหตุผลเพื่อสรุปเป็นข้อยุติตามวิธีการวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมการคิด
แยกความจริงออกจากความคิดเห็นได้
สรุปจากข้อมูลที่ให้ไว้อย่างถูกต้อง
บอกได้ว่าข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังการสรุปคืออะไร
บอกได้ถึงข้อจํากัดของข้อมูล
รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
การสร้างความคิดรวบยอด (Concept Attainment) ผู้คิดคือ Jerome Bruner มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดแบบอนุมาน มีเหตุผล สามารถพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเองและความสามารถในการวิเคราะห์
การคิดเชิงอุปมาน (Inductive Thinking) ผู้คิดคือ Hilda Taba มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของสมองเพื่อให้มีเหตุผลยิ่งขึ้น
การฝึกการคิดค้นหาคําตอบ (Inquiry Training) ผู้คิดคือ Richard Suchman มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการในการคิดค้นด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การพัฒนาความรู้ (The Developing Intellect) ผู้คิดคือ Jean Piaget มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่กําลังเผชิญอยู่โดยให้เป็นไปตามพัฒนาการของผู้เรียนตามวัย
การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) ผู้คิดคือ Joseph Schwab มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการคิดค้น การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความคิด รวบยอดหรือเข้าใจ วิธีการแก้ปัญหาและสามารถออกแบบการแก้ปัญหา
การคิดค้นทางสังคมศาสตร์ (Social Science Inquiry) ผู้คิดคือ Baron Massialas และ Benjamin Cox มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ และหาทางแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีระบบตามวิธีการสืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแก้ปัญหาและพัฒนา
การคิดค้นทางชีววิทยา (Biological Science Inquiry model) ผู้คิดคือ Joseph Schwab มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ในสาขาวิชาชีววิทยารวมทั้งมีทักษะและความสามารถในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าหาคําตอบได้อย่างมีระบบตามระเบียบวิธีวิจัยทางชีววิทยา
การใช้กลุ่มสืบเสาะหาความรู้ (Group Investigation Model) ผู้คิดคือ Herbert Thelen มี จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านเนื้อหาความรู้และด้านกระบวนการทางสังคม โดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นหลักสําคัญในการสอน รวมทั้งกระบวนการประชาธิปไตยและ พลังกลุ่มเพื่อให้ได้เรียนรู้และทํางานร่วมกัน