Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.6 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคย้ำคิดย…
บทที่ 5.6 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคย้ำคิดย้ำทำ
ความหมาย
เป็นการคิดหรือทำเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำๆโดยไม่สามารถหยุดยั้งได้ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งที่คิดหรือทำนั้นไม่สมเหตุสมผลผู้ป่วยจะแสดงอาการย้ำคิดเช่นความปลอดภัยความสะอาดความเป็นระเบียบหรือย้ำทำเช่นการล้างมือการตรวจตราการล็อคกลอนประตูซ้ำๆโดยไม่มีเหตุผลไม่สามารถขัดคืนได้ทำให้รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเครียดวิตกกังวลบางเวลาจะมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย
ย้ำคิด (Obsessions)
1.1มีความหมกมุ่นโดยเกิดขึ้นซ้ำมากระตุ้นหรือมโนภาพจากประสบการณ์ในบางเวลา ระหว่างที่มีอาการซึ่งเป็นสิ่งที่มารบกวนและไม่ต้องการซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวลและมีความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก
1.2ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉยหรือหยุดยั้งความคิดการกระตุ้นหรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิดหรือการกระทำ
ย้ำทำ (Compulsive)
1.1พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆเช่นล้างมือ การออกคำสั่ง การตรวจตราสิ่งของหรือการแสดงออกด้านจิตใจเช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดซ้ำซ้ำๆอย่างเงียบๆ ซึ่งบุคคลจะรู้สึกมีแรงขับที่ปฏิบัติในการตอบสนองต่อการย้ำคิด
1.2พฤติกรรมหรือการแสดงออกด้านจิตใจ เพื่อจะปกป้องหรือลดความกังวล หรือความทุกข์ทรมานใจมากหรือป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว
ข้อสังเกต ในเด็กเล็ก อาจไม่สามารถบอกจุดมุ่งหมาของพฤติกรรมด้
การย้ำคิดหรือการย้ำทำเป็นการกระทำที่ใช้เวลามากเช่นใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันหรือเป็นสาเหตุของการแสดงทางคลินิกด้านทุกข์ทรมานใจมากหรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคมการประกอบอาชีพหรือขอบเขตที่สำคัญของการปฏิบัติหน้าที่
อาการย้ำคิดย้ำทำจะไม่มีอาการทางกายที่เป็นผลจากการได้รับสารเช่นสารเสพติดหรืออาการจากยาบางชนิด
ระบาดวิทยา
พบในประชากรทั่วไปร้อยละ 2-3 โดยพบในเพศชายและเพศหญิงเท่าๆกัน
การดำเนินการของโรค
ผู้ป่วยมักเป็นอาการอยู่นานกว่าจะมารับการรักษาการพยากรณ์โรคพบว่าร้อยละ 20-30 อาการจะดีขึ้นหลังจากรักษาอย่างชัดเจนกลุ่มที่พยากรณ์ลูกไม่ดีได้แก่ผู้ที่คุมอาการย้ําทําไม่ได้มีอาการตั้งแต่เด็กต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วยมีอาการย้ําทําในเรื่องแปลกๆและผู้ที่มีปัญหาบุคลิกภาพร่วมด้วย
การรักษา
1.พฤติกรรมบำบัด
2.การรักษาด้วยยา เช่น Fluoxetine
การพยาบาล
2.ข้อวินิจทางการพยาบาล
การทำหน้าที่ที่รับผิดชอบตามบทบาทที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีพฤติกรรมกระทำซ้ำ ข้อมูลสนับสนุนผู้ป่วยไม่สามารถทำหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ตามปกติ
การปฎิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจเพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
ช่วยให้ผู้ป่วยลดพฤติกรรมซ้ำๆ
2 เมื่อสัมพันธภาพดีขึ้นเริ่มจำกัดเวลาในการทำกิจกรรมที่ทำซ้ำซ้ำหรือใช้เวลานานพร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจลดเวลาอาบน้ำจาก 60 นาทีเป็น 45 นาที อย่างค่อยเป็นค่อยไป
3 ให้แรงเสริมทางด้านบวกเมื่อไปทำได้สำเร็จเพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าของผู้ป่วย
4 แสดงความเห็นใจผู้ป่วยและตระหนักถึงความจำเป็นของการกระทำซ้ำโดยใช้เวลานาน
1ระยะแรกของการบำบัดควรจัดตารางกิจกรรมและให้เวลาในการทำกิจกรรมซ้ำๆไม่บังคับให้ผู้ป่วยหยุดการทำกิจกรรมที่ใช้เวลานาน
ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่นอาหารการพักผ่อนและการแต่งตัวเพราะผู้ป่วยหมกมุ่นอยู่กับ การย้ำคิดย้ำทำ
สอนและให้คำปรึกษา
2 เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียดและการออกกำลังกายเพื่อลดระดับความวิตกกังวลของตนเอง ช่วยลดการตอบสนองที่ผิดปกติได้
3 การจัดกิจกรรมหรืองานให้ผู้ป่วยทำเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับการย้ำคิดย้ำทำ
1 ให้ความรู้เพื่อการดูแลตนเองเช่นความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกมากับความรู้สึกวิตกกังวลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตนเอง
1.การประเมินผู้ป่วย
ทางความคิด มีอาการย้ำคิดผู้ป่วยบอกว่าพยายามจะหยุดคิด แต่ยิ่งทำให้ตึงเครียดมากขึ้น
ทางอารมณ์ ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกกังวลมากที่มีอาการย้ำคิดทั้งๆที่ไม่ต้องการจะคิดผู้ป่วยอาจมีอารมณ์เศร้า
ทางร่งกาย อาจจะมีผิวหนังแห้งเนื่องจากทำความสะอาดบ่อยหรือนางนอนไม่หลับได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากผู้ป่วยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการย้ำคิดย้ำทำ