Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะการสอนสำหรับครู ทักษะการใช้สื่อการสอน - Coggle Diagram
ทักษะการสอนสำหรับครู ทักษะการใช้สื่อการสอน
สื่อกับผู้สอน
การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน ช่วยให้บรรยากาศในการเรียน น่าในใจยิ่งขึ้น ทําให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่ เพียงอย่างเดียว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียน ศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อ การสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเตรียมสื่อการสอน
จัดทําจัดหาสื่อการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบทเรียน ตามแผนการสอนที่เตรียมไว้ เช่น ภาพ บัตรคํา กระเป๋าผนัง วิทยุ แผนภูมิ ฯลฯ
สํารวจวัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะนํามาใช้ก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ มีความชัดเจน ไม่ขาด ไม่ชํารุด อาจจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้ เช่น เติมสีให้เข้มขึ้น ถ้าของเดิมสีอ่อน หรือจางไป
ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อนที่จะใช้จริง เพื่อการใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้องตามขั้นตอน ทําให้ไม่เสียเวลาในขณะสอน
สํารวจและจัดเตรียมห้องเรียนก่อนใช้จริง เพื่อมิให้เกิดความบกพร่องในการใช้อุปกรณ์ เช่น มีโต๊ะสําหรับวางอุปกรณ์ มีสายไฟ มีปล็กไฟ มีที่แขวนจอฉาย เป็นต้น
จัดเรียงลําดับวัสดุอุปกรณ์การใช้ก่อนหลัง เพื่อความคล่องตัวในขณะสอน
หลัการเลือกใช้สื่อการสอน
เลือกใช้สื่อการสอนที่สัมพันธ์กับบทเรียน และตรงเป้าหมายกับเรื่องที่จะสอน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะสอนแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สําคัญของประเทศไทย ก็ต้องเลือกใช้แผนที่ ประเทศไทยที่แสดงอาณาบริเวณที่ปลูกข้าว ไม่ใช่ใช้แผนที่ประเทศไทยแบบทั่วๆ ไป เป็นต้น
สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัด3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน เจนและเป็นจริง
มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
พิจารณาเลือกสื่อในปริมาณที่พอเหมาะที่จะใช้ประกอบการสอนอย่างแท้จริง ไม่มาก จนเกินไป จนทําให้การเรียนการสอนส่วนอื่นบกพร่อง หรือเหลือใช้ในแต่ละชั่วโมงเรียน
เลือกสื่อการสอนที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้เรียน
เลือกใช้สื่อการสอนที่มีสีสันดึงดูดความสนใจผู้เรียน ควรใช้สีที่เย็นตาและสีสดใส เป็นต้น
เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าในใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการ สอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้น ได้ดีเป็นลําดับขั้นตอน
เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กําลังจะเรียนนั้น สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน ยัง มิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิดและควร เป็นสื่อที่ง่ายต่อการนําเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคํา หรือบัตรปัญหา เป็นต้น
ขั้นดําเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสําคัญในการเรียน เพราะ เป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนจะต้องเลือกสื่อให้ ตรงกับเนื้อหาและวิธีการ สอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้ ต้องมีการจัดลําดับขั้นตอนการใช้สื่อ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้นั้นอย่างละเอียดถูกต้องชัดเจน เช่น แผนภูมิ ภาพยนตร์ สไลด์ แผ่นโปร่งใส วีดิโอหรือชุดการ เรียน เป็นต้น
ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียน ได้ทดลองนําความรู้ด้านทฤษฎี หรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยลงมือ ปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเอง มากที่สุด เช่น สมดุแบบฝึกหัด ภาพ บัตรปัญหา เทปบันทึกเสียง หรือชุดการเรียนรายบุคคล เหล่านี้ เป็นต้น
ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอน เพื่อการย้ําเนื้อหาบทเรียนให้ ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วย ขั้นสรุปนี้ควรใช้ระยะเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับขั้นนํา สื่อที่ใช้สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาที่สําคัญทั้งหมดโดยย่อและใช้เวลาน้อย เช่น แผนภูมิ หรือแผ่นโปร่งใส เป็นต้น