Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เศษกระดูกหลุดอยู่ในข้อเข่าloose body knee👩⚕️, 152471954_4141999349157003…
เศษกระดูกหลุดอยู่ในข้อเข่าloose body knee👩⚕️
🩺การวินิจฉัย🩺
การซักประวัติ
คือการสอบถามอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย เช่น ระยะเวลาที่รู้สึกปวด อาการปวด นอกจากนั้นแพทย์จะสอบถามถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลถึงอาการปวดเข่า เช่น ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
แพทย์ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเข่าและคาดคะเนตำแหน่งของการบาดเจ็บจากการ หมุนเข่า ยืดเข่า และการใช้แรงกดลงไปบนเข่า ในบางครั้งแพทย์อาจให้ผู้ป่วยลองเดิน ยืน หรือนั่งยอง ๆ เพื่อตรวจสอบการทำงานของเข่า
เอกซเรย์ (X-Ray)
คือการใช้รังสีเอกซ์สร้างภาพ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
คือการใช้รังสีเอ็กซ์สร้างภาพ 3 มิติของเข่าที่มีอาการเจ็บ โดยภาพที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแสดงถึง เนื้อเยื่ออ่อน เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ที่มีความละเอียดมากกว่าการใช้วิธีเอกซเรย์
อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
คือการใช้คลื่นเสียงเพื่อแสดงโครงสร้างของเนื้อเยื่ออ่อนภายในเข่า
การใช้เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
คือการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อสร้างภาพส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเข่า สามารถแสดงรายละเอียดเนื้อเยื่ออ่อนได้ชัดเจนกว่าวิธีอื่น ซึ่งมักถูกนำมาใช้ตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระดูก
การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (Arthroscopy)
คือเทคนิคการผ่าตัดแบบหนึ่ง โดยแพทย์จะสร้างแผลเล็ก ๆ บริเวณเข่าและสอดท่อขนาดเล็กที่มีกล้องเข้าไป เพื่อตรวจสอบภายในข้อเข่า
การเจาะระบายน้ำในข้อ (Joint Aspiration)
คือการใช้กระบอกฉีดยาดูดของเหลวภายในเข่าออกมา เพื่อลดอาการบวม โดยแพทย์จะนำของเหลวมาตรวจสอบการอักเสบ หรือการติดเชื้อภายในเข่า
ความหมายความเสื่อมโทรมของกระดูกหรืออุบัติเหตุ อาจส่งผลให้กระดูกหรือกระดูกอ่อนบริเวณเข่าเกิดการแตกหัก และหลุดลอยอยู่ในช่องข้อเข่า โดยปกติเศษกระดูกจะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากไม่ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ซึ่งถ้าเกิดขึ้น อาจส่งผลให้ปวดเข่า และเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก
การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่สำคัญของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ากระดูกอ่อนผิวข้อ(articular cartilage) จะเปลี่ยนลักษณะจากเรียบขาวและใส เป็นสีเหลือง และขุ่น บางส่วนจะนิ่ม(chondro malacia) ผิวไม่เรียบและมีรอยแตก แต่จะมีบางส่วนที่เนื้อกระดูกยังปกติ เมื่ออาการเสื่อมของข้อมีมากขึ้นผิวกระดูกอ่อนจะร่อนลอกหลุดเป็นแผ่น (laking) หรือแตกเป็นริ้ว (fibrillation) ระยะนี้จะพบว่ามีเศษกระดูกอ่อนหลุดอยู่ในสารน้ำเลี้ยงข้อ (synovial fluid) และทำให้เกิดการอักเสบของข้อ นอกจากนี้จะพบกระดูกบริเวณใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) มีการเปลี่ยนแปลงร่วมด้วย โดยมีลักษณะแข็ง (sclerosis) เพิ่มมากขึ้นมองเห็นทึบแสงในภาพรังสี หรืออาจมีการงอกของกระดูก (spur) เกิดขึ้นด้วย78 ดังนั้น หากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สามารถซ่อมแซมได้ทัน หรือไม่สามารถหยุดยั้งปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเสื่อมจะพบลักษณะของถุงน้ำเกิดในชั้นกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ (subchondral bone cyst) ซึ่งเป็นผลมาจากการคั่งของสารน้ำในข้อหรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในตัวกระดูกเองเกิดเป็นช่องและมีน้ำขังอยู่ภายในเมื่อมีจำนวนน้ำมากขึ้นจะทำให้มีแรงดันมาก เซาะกระดูกอ่อนผิวข้อออกมาติดต่อกับช่องได้
การรักษาอาการปวดเข่า
การใช้ยา แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวด และรักษาโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่ออาการปวดเข่า เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์
การฉีดยา ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดยาเข้าไปที่เข่าโดยตรง กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) มีลักษณะเป็นของเหลวข้นคล้ายของเหลวที่เป็นน้ำหล่อลื่นข้อเข่าในร่างกาย ซึ่งยาจะมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาน 6 เดือน คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบในผู้ป่วย
กายภาพบำบัดรักษา
การผ่าตัด แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปวดเข่าเข้ารับการผ่าตัด แต่โดยส่วนใหญ่อาการปวดเข่าไม่ใช่การบาดเจ็บที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ผู้ป่วยจึงควรศึกษาถึงผลกระทบของการรักษาก่อนการตัดสินใจผ่าตัด โดยการผ่าตัดที่แพทย์อาจเลือกใช้มีดังนี้
การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic Surgery)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การแพทย์ทางเลือก
กลูโคซามีนและคอนดรอยติน (Glucosamine and Chondroitin)
การฝังเข็ม การรับประทานยา
อาการและอาการแสดง
อาการปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานและลดลงหลังจากการพัก
ข้อยึดติด ถ้าเป็นมาก มุมของการเหยียดงอเข่าจะลดลง เคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลำบาก
ข้อบวม อาจพบเป็นๆ หายๆ เกิดจากเยื่อบุข้อ มีการอักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น
มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ
ถ้าเป็นรุนแรง ข้อจะผิดรูป ขาโก่ง
ข้อหลวม รู้สึกไม่มั่นคงเวลายืนหรือเดิน เนื่องจากเอ็นรอบๆ ข้อหย่อน
กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อมีขนาดเล็กลงและไม่มีแรง
ปวดหัวเข่า บ่างครั้งมีหัวเข้าล็อก เดินขัดๆที่หัวเข่ารู้สึกว่าหัวเข้าหลวมเหมือนมีน้ำในหัวเข่า
ปัจจัยเสี่ยง
มักพบในเพศหญิง อายุ ตั้งแต่ อายุ 45 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
การใช้ข้อเข่าในท่าที่มีแรงกระทำกับข้อเข่ามาก เช่น การใช้งานยืน เดินเกินปกติ การเล่นกี่ฬา
การได้รับบาดเจ็บ เช่น กระดูกหักในข้อ เย็นข้อเข่าฉีกขาต หรือติดเชื้อในข้อเข่า
โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น
🙎♀️ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 55ปี น้ำหนัก 51กิโลกรัม หมดประจำเดือนมา 6ปี
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปวดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึก Spinal Block ภายหลังการผ่าตัด
พร่องการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเนื่องจากช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อเนื่องจากมีแผลเปิดสู่ภายนอก
อาจเกิดการพัดตกหกล้ม เนื่องจากบกพร่องการทรงตัว
การพยาบาล
แนะนำให้นั่งเก้าอี้หรือนอนเตียงนอนความสูงระดับสะโพกและในขณะลุกขึ้นนั่งปลายเท้าสัมผัสพื้นพอดีและควรนั่งเก้าอี้ที่มีเบาะแข็งแรงมีที่พักแขนขณะจะนั่งเก้าอี้ให้หัน หลังเข้าหาเก้าอี้มือจับที่พนักพิงเก้าอี้ให้แน่นเมื่อสัมผัสเก้าอี้ได้แล้วให้ค่อยๆหย่อนกันลงพร้อมกับเหยียดขาข้างที่ได้รับการผ่าตัดไปข้างหน้าเล็กน้อยและเมื่อจะลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ก็ให้ทำขั้นตอนสลับกัน แนะนำหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างนั่งยองๆนั่งพับเพียบนั่งขัดสมาธิหรือนั่งเก้าอี้เตี้ย ๆ ดังนั้นในการนั่งถ่ายอุจจาระควรใช้ส้วมชักโครก แนะนำหลีกเลี่ยงการแบกหรือการยกของหนัก ๆ การยืนหรือเดินนาน ๆ การเดินขึ้นลงบันไดหรือพื้นที่ลาดชันการขึ้นลงบันไดสามารถทำได้เมื่องอเข่าได้ 90 องศากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นดีควรมีราวบันไดช่วยจับในการขึ้นลงบันไดไม่ควรขึ้นบันไดที่มีความสูงของขั้นบันไดเกิน 7 นิ้วและควรขึ้นทีละขั้นเมื่อขาแข็งแรงดีแล้วจึงก้าวขึ้นลงบันไดแบบก้าวต่อก้าวได้สำหรับการขึ้นลงบันไดการขึ้นบันไดให้ใช้ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดขึ้นไปก่อนในขณะก้าวลงบันไดให้ใช้ขาข้างที่ทำการผ่าตัดก้าวลงไปก่อนจากนั้นตามด้วยขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด
นางสาวอภิญญา พรมสุริย์ รหัส 61124301106