Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Osteoarthritis of knee Left (โรคข้อเข่าเสื่อมข้างซ้าย) - Coggle Diagram
Osteoarthritis of knee Left (โรคข้อเข่าเสื่อมข้างซ้าย)
โรคข้อเข่าเสื่อม
คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆและจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปพบได้บ่อยในผู้สูงอายุทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวมข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่าเข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัย ส่วนใหญ่เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลังปัญหาปวดเข่าพบได้มากในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าชาย เนื่องจากขนบธรรมเนียมไทยที่ต้องนั่งคุกเข่าพับเพียบขัดสมาธิซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับและเอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดมาก การนั่ง เช่น นั่งนานๆทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดีและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกําลังกายอีก ทั้งต้องทำงานหนักไม่มีการพักประกอบกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้นกล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลงจึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่าย
กลไกการเกิด
ออสติโออารไธรติสจะมีการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกธรรมดา แต่มีการเปลียนแปลงของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยการเสื่อมสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นพยาธิสภาพที่เกิดก่อนและผลที่ตามมา คือ การงอกของกระดูกที่ขอบข้อและตรงที่กระดูกอ่อนกร่อน
เริ่มแรกกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน(chondroitin) ซัลเฟตน้อย เมื่อเทียบกับคอลาเจน(callagen) ของสารพื้น การเสียโปลีย์แซคคาไรด์จากพื้นกระดูกอ่อนทำให้เสียความยึดหยุ่น(polysaccharride)และเมื่อคนไข้เดินลงน้ำหนัก กระดูกอ่อนจะแตกกระดูกอ่อน ซึ่งสภาพปกติจะเรียบและใสจะกลายเป็นทึบต่อมาบริเวณนั้นจะชรุขระและอ่อนตัว กระดูกอ่อนกร่อนและแตกเป็นร่องและเสียไปจนเห็นชั้นกระดูกที่อยู่ชั้นใด้ที่ซึ่งกระดูกอ่อนผิวข้อบางไฟโบรบล้ำสจะออกใต้กระดูกอ่อนและเกิดกระดูกให้ซึ่งเห็นในภาพรังสีเป็นรอยทีบของชั้นใต้กระดูกอ่อนทราบิใต้คอร์เทกซ์หนาด้วย อาจเห็นถุง (Cyst)ชั้นใต้กระดูกอ่อน ซึ่งมีเนื้อเยื่อไฟโบรบล้ำสอยู่การงอกของกระดูกจากเยื่อหุ้มกระดูกเกิดขึ้นที่ข้อเอ็นของข้อ และที่เกาะของเอ็นกล้ามเนื้อทำให้เป็นเดือยหรือสันกระดูกยื่นออกไป เรียกว่าออสตีโอฟัยท์
วิธีการรักษา
รักษาโดยการผ่าตัด
1.การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope)เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจาก การสึกออกมา
2.การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่าเป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแรงที่ลงข้อเข่าให้ดีขึ้นข้อเช่ากระดูกอ่อนจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร จึงจะใช้วิธีนี่ได้
3.การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเซาเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อมซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ ชีวิตได้ดีขึ้นผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยนี้เป็นวิธีล่าสุดในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งต่างจากการผ่าตัดวิธีตั้งเดิมคอแผลผ่าตัดจะมีชนาตเล็กลงจากเดิมแพทย์ต้องเปิดปากแผลยาวประมาณ 8-10 นึ่วแต่วีธีใหม่จะทำให้แผลผ่าตัดยาวเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งคล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อเช่าจะบอบชำน้อยเพราะเลียงการผ่าผ่านกล้ามเนื้อและผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลจากการผ่าตัดน้อยลงชึ่งจะเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยด้วยรวมทั้งแผลเป็นก็จะมีชนาดเล็ก ส่งผลให้ผู้ป่ายใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลงและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น
ผู้ป่วย :ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (total knee arthroplast) ได้รับยาคือ ยา Cafa 2g , Ketoloc 1 gm , Ativan 1 tab , Tranxamic , Mo 0.2 mg
การรักษาทั่วไป
1.ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไปโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
2.บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง(วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
3.ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆการนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป
4.ขณะที่มีอาการปวดควรรับปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อแล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
5.ควรหลีกเลี้ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิและนั่งยองๆ ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรงอย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอรียาบถบ่อยๆและะควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ
การรักษาโดยการใช้ยา
1.ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบพอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
2.ยาแก้อักเสบ steroidเมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อแต่ปัจจุบันความ นิยม ลดลงเนื่องจากผลข้างเคียงโดยเฉพาะยาที่ดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
3.ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้นแต่ต้องระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
4.ยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลข้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
5.การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียมเนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้ มีการดน้ำหล่อเยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อลดอาการปวด แต่การตนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
สาเหตุ
เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเช่ามาก่อน เช่น กระดูกบริวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาดความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นโรคข้ออีกเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ผู้ป่วย :ผู้ป่วยเป็นวัยผู้สูงอายุอายุ 63 ปี มีการเสื่อมสภาพของกระดูกและการสร้าง collagen ลดลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม
มักพบในเพศหญิง อายุ ตั้งแต่ อายุ 45 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
การใช้ข้อเข่าในท่าที่มีแรกระท ากับข้อเขามาก เช่นการใช้งานยืน เดินเกินปกติ การเล่นกีฬา
การได้รับบาดเจ็บ เช่น กระดูกหักในข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด หรือติดเชื้อในข้อเข่า
โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น
อาการ และอาการแสดง
ระยะแรกมักจะมีอาการข้อเข่าฝืด ตึง โดยเฉพาะ ในช่วงที่ตื่นนอน หรือหลังจากพักการใช้งาน
ปวดเข่าโดยเฉพาะท่างอเข่า เวลานั่งกับพื้นจะลุก ยาก นั่งยองๆ นั่งคุกข่า หรือนั่งพับเพียบไม่ค่อยได้
เวลาขึ้น ลงบันได จะมีอาการเจ็บเสี่ยวที่เข่า
เวลาขยับ หรือเคลื่อนไหว จะมีเสียงดังกรอบแกรบ ในข้อเข่า
ในรายที่เป็นมาก ข้อเข่าจะผิดรูป เกิดการโค้งงอ ของข้อเข่า ส่วนใหญ่จะพบว่า มีเข่าโค้งออกนอก หรือเข่าห่างกัน แต่ในบางรายจะมีเข่าโค้งเข้าใน หรือ เขาชนกัน
เข่าบวม เนื่องจากมีของเหลวในข้อเขมากกว่าปกติ โดยเฉพาะถ้ามีการอักเสบ
เดินมีอาการเจ็บ ขัด ลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่
ท่าเดิน ถ้าเป็นที่เข่าข้างเดียวจะเดินคล้ายขาสั้น ข้าง ยาวข้าง เนื่องจากเดินลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ หรือเอนตัวเดิน ถ้าเป็นทั้งสองข้างประกอบกับเข่าโก่ง จะเดินกะเผลกโยนตัวเอนไปมา เดินระยะทางไกลๆ ไม่ไหวบางชนิด ข้อเข่านานๆ
ผู้ป่วย : มีอาการปวดข้อเข่า เข่าฝืดตึง ปวดมากเวลาเดิน มีเสียงดังกรอบแกรบ เวลางอเข่าปวด ไม่สามารถนั่งพับเพียบได้
ภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัด
1.การบาดเจ็บของหลอดเลือด และเส้นประสาท(neurovascular injury) การบาดเจ็บของหลอดเลือด
2.การติดเชื้อภายหลังผ่าตัด
ข้อเข่าติดแข็งภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
กระดูกหัก และข้อเคลื่อน
การเคลื่อนของสะบ้า (patellar subluxation)
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (deep vein thrombosis) มีลิ่มเลือดกระจายตามกระแสเลือด เกิดการอุดตันที่ปอด
ข้อไม่มั่นคง (joint instability)
ข้อเทียมหลวม หรือหลุด
10.อื่นๆ เช่น แผลกดทับ ท้องอึด ปัญหาจิตสังคม เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
หลักการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
วันที่ 1 หลังผ่าตัด เกร็งกระดกข้อเท้าขึ้นลงช้าๆ 10-20 ครั้ง 8-10 รอบต่อวัน เพื่อลดบวมในขา เกร็งกดเข่าแนบพื้น เกร็งค้างไว้ 5-10 วินาที 10-20 ครั้ง 8-10 รอบต่อวัน ลุกนั่งบนเตียง วันที่ 3-4 รอบต่อวัน
วันที่ 2 หลังผ่าตัด ออกกำลังกายเหมื่อนวันที่ 1 งอขาชันเข่าได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้งอข้างไว้ 5-10 วินาที แล้วเหยียดขาตรง ทำ 10-20 ครั้ง 6-8 รอบต่อวัน นั่งห้อยขาข้างเตียง ขาข้างดีมาช่วยประคองขาที่ผ่าตัด งอเข่าที่ผ่าตัดช้าๆให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำ 5-10 ครั้ง 6-8 รอบต่อวัน
วันที่ 3 หลังผ่าตัด ออกกำลังกายเหมื่อนวันที่ 2 เกร็งเข่าเหยียดตรง จากนั้นค่อยๆ ยกขาลอยขึ้นจากพื้น เกร็งค้างไว้ 5-10 ครั้ง 6-8 รอบต่อวัน นั่งบนเก้าอี้ และเหยียดเข่าให้มากสุดเท่าทำได้เกร็งค้าง 5-10 วินาที 5-10 ครั้ง 6-8 รอบต่อวัน ลุกยืนโดยใช้เครื่องช่วยพยุง โดยขาที่ผ่าต้องลงน้ำหนักตามที่แพทย์แนะนำ
วันที่ 4 หลังผ่าตัด ออกกำลังกายเหมื่อนวันที่ 3 หัดเดินโดยใช้เครื่องพยุงให้คล่อง