Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.1 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคความผิด…
บทที่ 5.1 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่ บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความเข้มงวดกับการพยายามลด หรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกำลังกาย และทำให้ตนอาเจียนออก หลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งกลวิธีดังกล่าวส่งผลการพัฒนาการด้านจิตใจ ชีวภาพ จิตสังคมของบุคคลนั้น ความผิดปกติของการกิน (eating disorder) ที่พบได้บ่อยได้แก่ anorexia nervosa และbulimia nervosa
anorexia nervosa
เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความ วิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา กลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อย และไม่คำนึงถึงผลกระทบของร่างกายที่เกิดจากการปฏิเสธอาหาร เป็นความผิดปกติทางจิตเวชเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดสามารถจำแนกเป็น 2 แบบ ได้แก่
แบบจำกัด (restricting type) คือ ไม่มีพฤติกรรมรับประทานมากและไม่มีการขับอาหารออกจากร่างกายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย เช่น ให้ตนเองอาจาเจียน ใช้ยาระบาย ในระยะ 3 เดือนที่ ผ่านมา
bulimia nervosa
ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติเห็นอาหารแล้วเกิดความอยากบริโภคและบริโภคปริมาณมากโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะแป้งและน้ำตาล เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออก เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาระบาย หรือออกกำลังกายอย่างหนักนานหลายชั่วโมง หรืออดอาหาร 2-3 วันและมักจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น รู้สึกเหงา เบื่อ หรือมีปัญหาด้านสัมพันธภาพมาก่อน
อาการและอาการแสดง
bulimia nervosa
ทำให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ใช้ยาสวนถ่ายหรือยาอื่น อดอหารออกกำลังกายอย่างหักโหม
รับประทานมากและชดเชยที่ไม่หมาะสมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งนานติดต่อกัน 3 เดือน
มีการรับประทานอย่างมากป็นระยะๆ ช่วงเวลาสั้นๆครั้งละมากๆ หรือ มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น เช่น รู้สึกว่าตนเองหยุดการรับประทานไม่ได้
มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับเรื่องของน้ำหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก
anorexia nervosa
มีความผิดปกติในการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับน้ำหนักตัวหรือรูปร่างของตน หรือปฏิเสธความรุนแรงของน้ำหนักตัวที่ต่ำ อยู่ในขณะนั้
คิดว่าตนเองปกติแต่ผู้อื่นผิดปกติ ไม่ยอมรับความเป็นจริงทำให้การให้ประวัติในการรักษาของผู้ป่วยไม่ตรง
คิดหมกมุ่นอยู่กับรูปร่างและน้ำหนัก พยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
ขาดประจำเดือนในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง neurotransmitters serotonin
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
• พัฒนาการของจิตใจ พัฒนาการติดอยู่ที่ระยะปาก (oral stage)
• บุคลิกภาพ เจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสำเร็จสูง
• ลักษณะการเลี้ยงดู ปกป้องลูกมากเกินไป เจ้าระเบียบ
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี
ใช้รูปร่างในการประกอบอาชีพ เช่น ดารา
การบำบัดรักษา
พฤติกรรมบำบัด
ครอบครัวบำบัด
การบำบัดความคิด
กลุ่มบำบัด
จิตบำบัดรายบุคคล
โภชนาการบำบัด
ยาต้านเศร้า ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ยากระตุ้นความอยากอาหาร
อาชีวบำบัต
การบำบัดรักษาทางกาย ภาวะแทรกซ้อนตามอาการ
การพยาบาล
1) การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย BMI และตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ ความคิดและการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างและน้ำหนัก พฤติกรรมการลดน้ำหนัก อารมณ์
2) การวินิจฉัย เช่น มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
3) การปฏิบัติทางการพยาบาล
ให้อยู่เป็นเพื่อนและกระตุ้นให้ทำกิจกรรมเพื่อเบียงเบนความรู้สึก
สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้ค้นหาสาเหตุของความเครียดและความรู้สึกผิด เปิดโอกาสให้พูดระบาย
การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ, การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด, การรักษาด้วยยา
4) การประเมินผล
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 kgต่อสัปดาห์หรือBMIอยู่ในช่วง18.5 22.9 kg/m²
รูปแบบการรับประทานอาหารเป็นปกติ