Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นและแนวโน้มด้านการจัดบริการ ทางการพยาบาลในยุคสถานการณ์การแพร่ระบาด…
ประเด็นและแนวโน้มด้านการจัดบริการ
ทางการพยาบาลในยุคสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิค-19
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของกลุ่ม
คลื่น 4 ลูก
คลื่นลูกที่ 3
ช่วง 4-9 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งให้อยู่รักษาที่บ้านหรือรับยาผ่านไปรษณีย์ในช่วงก่อนหน้านี้ ต้องกลับมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์หรือรับการรักษา
คลื่นลูกที่ 1
ช่วง 1-3 เดือนแรกที่เริ่มมีโรคระบาดและอาจยาวนานถึง 9 เดือน เป็นช่วงที่สร้างผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล เพราะพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง
คลื่นลูกที่ 4
ช่วง 1-3 ปี หลังมีโรคระบาด เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจซึ่งส่งผลลูกโซ่มายังผลกระทบด้านสุขภาพจิต และการให้บริการในภาวะวิกฤติมาอย่างยาวนานยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์
คลื่นลูกที่ 2
ช่วง 2-4 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่ผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องได้รับการดูแลหลังจากชะลอการพบแพทย์ไปก่อนหน้านี้ และอาจกลับมาสู่หน่วยบริการแบบ ล้นทะลัก
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 1
ช่วงเดือนมีนาคม 2563
พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากจากกรณีสนามมวย และสถานบันเทิง และมีผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องได้รับการดูแลหลังจากชะลอการพบแพทย์ไปก่อนหน้านี้ และอาจกลับมาสู่การรับบริการ
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 2
ศบค. เผยพบบุคลากรทางการแพทย์ ติดเชื้อ "โควิด-19" แล้ว 36 ราย
ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 130 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 25,241 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 83 คน สำหรับ ผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นพ.ปัญญา หาญพาณิชย์พันธุ์ แพทย์เกษียณอายุ นับว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์รายแรก ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 3
ผลสำรวจภาวะจิตใจบุคลากรสาธารณสุข-ปชช. โควิดระบาด
พบบุคลากรมีภาวะเหนื่อยล้าทางอารมรณ์ รู้สึกหมดพลัง หมดหวัง สูญเสีย พลังงานทางจิตใจ รองลงมาเป็นการมองความสัมพันธ์ในที่ทำงานในทางลบ ระแวงง่ายขึ้น และมองความสามารถในการทำงานของตนเองลดลง
ประเด็นปัญหา
การให้บริการพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID -19 ยังไม่มีคุณภาพ
บุคลากรทางสุขภาพ
การเปลี่ยนหน้าที่ของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีจำนวนเพิ่มมาก ซึ่งทำให้ระบบบริการขาดกำลังคนด้านสุขภาพ
การสูญเสียกําลังคนจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือจำเป็นต้องไปดูแลญาติมิตรที่ติดเชื้อ ซึ่งประเทศไทยพบบุคลากรทางด้านสุขภาพติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 3.63 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด
ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น การให้บริการในภาวะวิกฤติมาอย่างยาวนาน ส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอาจมีภาวะเหนื่อยล้าและหมดไฟในการทำงาน ทำให้ศักยภาพในการทำงานลดลง
สถานที่ให้บริการพยาบาล
มีกระแสในด้านลบว่าการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามมีความเสี่ยงต่อคนในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านร่วมกันต่อต้านไม่ให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้น จึงอาจทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยากทำให้ผู้ติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้น หากถึงตอนนั้นทันทีที่โรงพยาบาลธรรมดาเต็ม อาจทำให้สร้างโรงพยาบาลสนามได้ไม่ทันการ
ห้องคลินิกตรวจมีขนาดเล็กและแคบ เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย
จุดคัดกรองไม่ครอบคลุมทุกจุดที่เป็นทางเข้าของโรงพยาบาล
การแยกตัวและการคัดแยกผู้ป่วยไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่หรือทุกหน่วยบริการ
สถานที่ให้การดูแลขั้นแรกเริ่มไม่มีความพร้อมในการประเมินและส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งอาจเพิ่มการแพร่กระจายของโรค
กระบวนการให้บริการพยาบาล
ระบบบริการในพื้นที่ที่มีอยู่อาจไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากจะถูกปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ
ประเทศไทยได้สั่งซื้อวัคซีนจาก 2 บริษัทคือ AstraZeneca และ Sinovac ซึ่งวัคซีน AstraZeneca ที่นำเข้ามามีปัญหาและถูกยกเลิกฉีดวัคซีนชั่วคราวเพื่อดูสถานการณ์จึงส่งผลให้ประเทศไทยมีวัคซีน Sinovac จำนวนไม่มากพอ ยังหาวัคซีนได้ไม่เพียงพอทำให้กระบวนการจัดการในการป้องกันโควิดยังไม่มีคุณภาพ
การให้บริการด้านสุขภาพที่มีเป็นประจำอาจต้องมีการปรับเปลี่ยน
ความจําเป็นที่จะต้องจํากัดจำนวนการให้บริการ เนื่องจากมีผู้ต้องการรับบริการเพิ่มมากขึ้น
แนวทางการแก้ไขหรือแนวโน้มการพัฒนาในเชิงการบริหาร
การเตรียมความพร้อม
จัดอบรมให้ความรู้ให้แก่บุคลากรทางแพทย์
ให้ความรู้นำเสนอสื่อ ในรูปแบบคลิปวีดีโอ PowerPoint แก่บุคลากรในโรงพยาบาล เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และ “3 ล. 1 ส.” คือ ลดสัมผัส เลี่ยงจุดเสี่ยง ดูแลสุขภาพตนเองและสังคม และส่งเสริมการป้องกัน และการให้บริการวัคซีนโควิด 19
การให้บริการวัคซีนโควิด 19
การให้บริการตามมาตรฐานงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การตรวจสอบความพร้อมก่อนให้บริการ
ก่อนฉีดวัคซีน หน่วยบริการต้องตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์การฉีด วัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น
ซักประวัติคัดกรอง
และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโรคและวัคซีน
การฉีดวัคซีน
ตามขนาดและตำแหน่งที่กำหนดด้วยวิธี Sterile technique
หลังการให้บริการ
จัดทำทะเบียนการให้บริการและบันทึกในฐานข้อมูล
การเตรียมพร้อมก่อนการให้บริการวัคซีนโควิด
การจัดเตรียมสถานที่ให้บริการ
ให้มีสถานที่ให้บริการเป็นการเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้มารอรับบริการ โดยยึดหลักการเว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร
การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
โรงพยาบาลจำเป็นต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการฉีดวัคซีน ภายใต้ระบบลูกโซ่ความเย็น และเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการดำเนินงาน
ให้ความรู้และทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังอบรม
หลังจากให้ความรู้เสร็จสิ้น เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
สร้างความตระหนักในการป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงโดยการเปิดตัวอย่างผลกระทบ
จากนั้นให้บุคลากรในโรงพยาบาลทำแบบทดสอบเกี่ยวกับโรคโควิด-19 หลังอบรม
จัดการแบ่งกลุ่มให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด - 19 ภายในกลุ่ม
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่ม และซักถามข้อสงสัยหรือแนะนำเพิ่มเติม
จัดทำสื่อให้ความรู้ ได้แก่ โปสเตอร์ และแผ่นพับตามจุดต่างๆ ในโรงพยาบาลแก่ประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาล
พัฒนาระบบบริการพยาบาล
ระบบบริการ
จัดเตรียมห้องแยกสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วย จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเองให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน ให้บริการพยาบาลด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
กำลังคนด้านสุขภาพ
มีระบบจัดอัตรากำลังดูแลผู้ป่วยห้องแยกโรคตามระดับความสามารถ และความสมัครใจ
ระบบข้อมูลข่าวสาร
จัดทำสื่อให้ความรู้ ได้แก่ โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อวิดีโอผ่านโทรทัศน์ที่มีตามจุดต่างๆ
เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์
ผลิตจัดหาและรับบริจาคอุปกรณ์ป้องกัน
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
จัดทำประกันชีวิตให้บุคลากรทางการพยาบาลทุกคนมีเงินตอบแทนค่าเสี่ยงภัย
ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล
ประชุมวางแผน แลกเปลี่ยนข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์