Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบผิวหนัง
ลักษณะความผิดปกติของผิวหนัง
รอยโรค (skin lesion)
รอยโรคปฐมภูมิ หมายถึงรอยโรคบนผิวหนังที่ปรากฎเริ่มแรกยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกา การติดเชื้อ หรือผลจากการรักษา
1.Macule คือดวงแบนราบสีต่างกับผิวหนังบริเวณใกล้เคียงขนาดไม่เกิน 1 ซม.
2.Patch คือรอยโรคที่มีความกว้าง คล้ายรอยโรคมีขนาดกว้างกว่า 1 ซม.และอาจมีขอบแผลแตกต่าง
3.Papule คือตุ่มนูนเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 0.5 ซม.
4.Plague คือรอยโรคที่เป็นปื้นนูนหนา เกิดจากการรวมตัวหรือการขยายตัวของ papule or nodules
5.Nodule คือก้อนเนื้อนูนมีขนาดใหญ่กว่า papule รอยโรคลึกถึงชั้น deep dermis มีขอบเขตชัดเจนขนาด 0.5 – 2 ซม. ส่วน tumor มีขอบไม่เรียบ และมีขนาดใหญ่กว่า 2 ซม.
6.Vesicle and Bulla คือตุ่มพองน้ำ เสส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 มม.
7.Wheal คือเป็นลักษณะรอยโรคที่เป็น Papule or Plague รูปร่างและขนาดเปลี่ยนแปลงได้เร็ว
8.Pustule คือเม็ดหนอง คล้ายกับ vesicle ผนังจะบางมาก ดูหย่อนและแตกง่ายมีหนองเฉพาะยอด
9.Scale คือขุยหรือแผ่นบางๆแห้งๆลอดหลุดออกจากความผิดปกติในกระบวนการสร้าง Keratin
10.Verrucous เป็นลักษณะผิวของรอยโรคที่แห้งและขรุขระ คล้ายดอกหงอนไก่หรือดอกกระหล่ำ
11.Burrow คือเป็นทางเดินของพยาธิใต้ผิวหนังตื้นๆ
12.Comedo คือหัวสิว มีรูเปิดชัดเจนที่ส่วนยอดสีดำ
รอยโรคทุติยภูมิ หมายถึงรอยโรคที่เกิดจากการเกา การติดเชื้อ ผลของการรักษา ได้แก่
1.Crust คือสะเก็ดที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำเหลืองหรือเลือดหรือหนองปนกับ tissue debris แห้งติดอยู่บนผิวหนัง อาจจะบางแกะออกง่าย
2.Lichenification เป็นลักษณะผิวหนังค่อนข้างแห้ง ด้าน หนา สีคล้ำ เนื่องจากการถูกหรือเกาซ้ำซากเป็นเวลานาน
3.Fissure เป็นรอยแตกตามผิวหนัง บริเวณมือ เท้า พบในหน้าหนาวอาจลึกถึงชั้นหนังแท้
4.Excoriation เป็นรอยเกาเห็นเป็นทางยาวมีเลือดออก ถ้าเกาบ่อยๆผิวหนังจะด้านและคล้ำ
5.Erosion เป็นแผลถลอกตื้นๆไม่เกินชั้นหนังแท้
6.Ulcer เป็นแผลเนื่องจากหนังกำพร้าหลุดออกไป และลึกถึงชั้นหนังแท้
7.Pigmentation เป็นความผิดปกติของสีผิวทั้งสีจางลง (Hypopigmentation) และสีคล้ำขึ้นเวลาถูกแดดจัด (Hyperpigmentation)
8.Atrophy scar คือแผลเป็นที่ยุบบุ๋มเนื่องจากการฝ่อของผิวหนัง เกิดจากสาเหตุมีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่
9.Keloid คือ แผลเป็นขนาดใหญ่และลามออกนอกแผลเดิมมีอาการคันและเจ็บ
10.Sinus tract เป็นทางไหลออกจากโพรงหนองเปิดสู่ผิวหนัง หรือจากโพรงหนองแห่งหนึ่งสู่อีกโพรงหนึ่ง
การกระจายของรอยโรค (Distribution pattern of skin lesion)
1.Linear คือเรียงเป็นทางยาวที่พบใน Lichen striatus
2.Zosteriform คือการเรียงตัวของผื่นเป็นทางยาวตามรอยเกาหรือบาดเจ็บพบใน Psoriasis
3.Koebner phenomenon คือการเรียงตัวของผื่นเป็นทางยาวตามรอยเกาหรือบาดเจ็บพบใน Psoriasis (หูด)
4.Annular (circinate) คือการเรียงตัวเป็นวงแหวน ขอบขยายออก ตรงกลางเป็นผิวหนังปกติ เช่น กลาก
5.Arciform คือการเรียงตัวเป็นรูปโค้ง เช่น ลมพิษ
6.Polycyclic คือการเรียงตัวของผื่นเป็นวงซ้อนกันหลายๆวงติดกัน เช่น กลากหนุมาน (tinea imbricate)
7.Group (Cluster) คือการเรียงตัวอยู่เป็นกลุ่ม เช่น เริม (Herpes simplex)
8.Reticular คือการเรียงตัวเป็นตาข่ายหรือร่างแห
ความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้บ่อยและการรักษา
-การติดเชื้อ
แบคทีเรีย 1) โรคไฟลามทุ่ง และโรคเซลล์อักเสบ Cellulitis การรักษา ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่ยาฆ่าเชื้อโรค และยาปฏิชีวนะ กรณีลุกลามจะขจัดเนื้อตาย นอกจากนี้ควรหลีเลี่ยงการเกาหรือสัมผัสบริเวณแผล 2) Necrotizing fasciitis การรักษา ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่ตายออกให้หมด และยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อที่พบ 3) ฝีและฝีฝักบัว (Furuncle and carbuncle) การรักษา รักษาความสะอาดของร่างกาย ประคบด้วยน้ำอุ่น และให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ถ้าฝีนุ่มจะกรีดเอาหนองออก และใช้ gauze drain ไว้ ทำแผลทุกวันจนกว่าแผลจะหาย
รา 1) โรคกลากและเกลื้อน 2) Candidiasis
เชื้อไวรัส 1) อีสุกอีใส ( Chicken pox, Varicella ) 2) หัด ( Measles ) 3) หัดเยอรมัน ( Rubella , German Measles ) การรักษา ไม่มีวิธีการรักษา แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีด vaccine ในหญิงที่ต้องการมีบุตร ควรคุมกำเนิดหลังจากฉีด Vaccine แล้ว 3 เดือน ห้ามฉีดในผู้ที่มีระบบอิมมูลผิดปกติหรือได้รับยากดอิมมูน 4) หูด ( Verruca vulgaris ) เนื้องอกหงอนไก่ ( Condyloma acuminate ) 5) เริม ( Herpes simplex ) การรักษา ยาที่ใช้ในการรักษา คือ zovirax หลีกเลี่ยงการสัมผัสรอยโรคโดยตรง ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีรอยโรคอยู่ หรือควรใช้ถุงยางอนามัย ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง 6) งูสวัด ( Herpes zoster ) จะรักษาตามอาการและยาปฏิชีวนะ
-การแพ้
1) ลมพิษ แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามสาเหตุและปรากฎของรอยโรค Demographism เกิดจากการขัดผิวหนังบาๆเกิดผื่นแดงตามรอยที่ถูกขีด คันเมื่อเกา หรือเมื่อเสียดสีกับเสื้อผ้า จะหายไปในเวลาประมาณ 30 นาที , Physical urticaria จากการหลั่ง Acetylcholine เมื่อถูกความร้อน เหงื่อออก วิตกกังวล ผิวหนังถูกกดอยู่นาน , ลมพิษยักษ์ เป็นลมพิษขนาดใหญ่ รอยโรคปรากฎช้าแต่คงอยู่นาน เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย
2) Eczema เป็นกลุ่มโรคผิวหนัง เนื่องจากมีการอักเสบของชั้น Epidermis และ Deemis ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด Contact dermatitis , Non contact dermatitis การรักษา ค้นหาสาเหตุของการเกิดการแพ้ หลีกเหลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิด รักษาความสะอาดของ ผิวหนัง โดยการทำแผลและหลีกเลี่ยงการเกาเพราะจะเกิดการติดเชื้อลุกลามไปบริเวณอื่นได้
3) Erythema Multiform & Steven Johnson Syndrome เป็นการอักเสบของผิวหนังในลักษณะ Hypersensitivity reaction เกี่ยวกับ immune การแพ้ยา การรักษา กรณีที่เป็นมากควรแยกผู้ป่วยจากผู้ป่วยรายอื่น ระวังเรื่องการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะ ยา Steroid ยาแก้แพ้
4) Toxic Epidermal Necrolysis เป็น immune mechanism พบในชาย : หญิง (3:2) ทุกวัยสาดหตุมาจากการแพ้ยา การรักษา หลีกเลี่ยงยาที่แพ้ให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ยา steroid และดูแลแผลตามแผนการรักษา
5) Exfoliative dermatitis สาเหตุจาก Hypersensitivity ต่ออาหาร ยา อาการที่พบคือมีสะเก็ดหลุดลอกทั่วตัว ยาที่แพ้ การรักษา หยุดยาที่แพ้ รักษาตามอาการ หลีกเลี่ยงสารระคายผิวหนังใช้ยา Steroid , antihistamine และ tranquilizer ตามแผนการรักษา
-การถ่ายทอดทางพันธุกรรมและกรรมพันธุ์ (Genodermatosis)
เรื้อนกวาง (Psoriasis) เป็นโรคเรื้อรังเกิดกับผิวหนังทุกแห่ง สาเหตุยังไม่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ควบคุมการแบ่งตัวของหนังกำพร้าเสียไป การรักษา โดยใช้ ยา Steroid และ Phototherapy ด้วย Ultraviolet ยา Methotrexate จะช่วยยับยั้งการแบ่งเซลล์ รักษาความสะอาดของผิวหนัง ดูแลด้านจิตใจ
-ระบบอิมมูน
1) Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เกิดผลกระทบต่อระบบต่างๆ ทำให้เกิดการทำลายของ Connective tissue หลอดเลือด Mucous membrane เชื่อว่ามีความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2) Scleroderma การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังใน systemic sclesosis (SS) มีหลายชนิด Cutaneous sclerosis อาการหนังแข็ง , Raynaud’s phenomenon จะพบในผู้ป่วยเกือบทุกรายที่เป็น SS และมักเป็นอาการนำมาก่อนอาการอื่นๆ
3) Telangiectasia ลักษณะที่พบคือ ผื่นสี่เหลี่ยยมแดงไม่นูน เกิดจากหลอดเลือดฝอยขยายตัว เวลากดผื่นจะจางหายไป พบบ่อยบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก นิ้วมือ ฝ่ามือ รอบๆเล็บ หน้าอกและหลัง
4) Calcinosis cutis อาการนี้จะพบระยะหลังของโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ก้อนนี้อาจแตกออกเป็นแผลได้
5) Pigmentation changes สีผิวของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ชนิด คือ ผื่นดำในปาก เหงือก และฝ่ามือ ฝ่าเท้า พบในโรค Addison’s disease นอกจากนี้จะพบผื่นขาวร่วมกับมีจุดดำตามรูขน เรียกว่า salt and pepper pattern ในบริเวณที่เป็นหนังแข็งจะพบสีดำและสีขาวเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่ซ้อนกัน
6) Nail changes เล็บนูนเป็นสันตามยาว ตัวเล็บไม่ติดกับเนื้อข้างล่าง(onycholysis) เล็บหนาขึ้นและยาวมากขึ้น(onychogryphosis)
การรักษา ดูแลรักษาตามอาการที่พบในระบบต่างๆส่วนการรักษาเฉพาะจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง
-ผิวหนังถูกทำลายไฟไหม้ – น้ำร้อนลวก
การเปลี่ยนแปลงพยาธิสรีรวิทยาของแผลไฟไหม้จากสาเหตุความร้อน 1) ผลต่อผิวหนัง มีการสูญเสียน้ำและความร้อนทางผิวหนัง 2) ผลต่อหลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด ช่วง 30 นาทีแรกหลอดเลือดจะหดเพื่อเพื่อป้องกันการสูญเสียเลือด เพิ่มคุณสมบัติการซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอยทำให้เกิดการคั่งและบวม ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองใส ในช่วง 24 – 48 ชั่วโมง ขณะเดียวกันภายในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นสูงขึ้น เลือดไหลเวียนน้อยลง โครงสร้างเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดถูกทำลาย เสี่ยงเกิดภาวะซีด มีภาวะติดเชื้อเกิดขึ้น 3) ผลต่อภาวะสมดุลของสารน้ำและอิเลคโตรไลท์ ใน 24 – 48 ชั่วโมงแรก เมื่อเม็ดเลือดแดงและเซลล์เนื้อเยื่อถูกทำลายจากความร้อนจะมีการปล่อยโปแตสเซียมออกจากเซลล์เพิ่มขึ้น ประมาณ 4 – 5 วันหลังบาดเจ็บโปแตสเซียมจะกลับสู่ปกติ มีการหลั่ง aldosterone มีผลทำให้ขับปัสสาวะทำให้โปแตสเซียมต่ำ นอกจากนั้นโซเดียมลดลง ส่งผลให้ให้คลื่นไส้ อาเจียน ซึม สับสน ตะคริว บริเวณกล้ามเนื้อเนื้อหน้าท้องมีอาการกระตุก 4) ผลต่อระบบหัวใจ 5) ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ 6) ผลต่อระบบทางเดินหายใจ 7) ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การประเมินผู้ป่วยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 1) กฎเลขเก้า (rules of nine) นิยมใช้ในผู้ใหญ่บ่งร่างกายออกเป็นส่วนๆ ส่วนละร้อยละ 9 ของพื้นที่ผิวหนัง โดยใช้ฝ่ามือนิ้วชิดกันของผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 1 ของพื้นที่ผิวหนังที่ไหม้ และคิดเฉพาะแผลที่ถูกทำลายชั้นหนังกำพร้าลงไป
2) ประเมินจากความลึกของบาดแผล แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับแรก ผิวหนังมีสีแดง ไม่มีถุงน้ำพองใส มีอาการปวดแสบและกดเจ็บ , ระดับที่สอง ผิวหนังมีถุงน้ำพอองใสเกิดขึ้น ถ้าผนังของถุงน้ำแตกจะเห็นผิวหนังสีชมพูหรือแดง และมีน้ำเหลืองซึม ขนจะติดกับผิวหนัง และมีอาการปวดแสบแผลความหยืดหยุ่นของผิวหนังยังปกติ , ระดับที่สาม ผิวหนังจะถูกทำลายตลอดชั้นความหนาของผิวหนังซึ่งจะแห้ง แข็ง ไม่มีความยืดหยุ่น เส้นเลือดบริเวณ ผิวหนังอุดตัน ขนหลุดจากผิวหนัง ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
การรักษา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะฉุกเฉิน อยู่ในช่วง 48 – 72 ชั่วโมง ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะต่อจากระยะฉุกเฉินจนกระทั่งได้รับการปลูกถ่ายผิวหนัง ระยะฟื้นฟูสภาพ ต่อจากระยะสองจนกระทั่งกลับบ้าน
-ผิวหนังถูกทำลายจากการกดทับ
สาเหตุ
1) แรงกดทับโดยตรง เป็นสาเหตุจากการมีแรงกดต่อเนื้อเยื่อ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ความแรงของแรงกดทับ และระยะเวลาของการกดทับที่ทำเนื้อเยื่อขาดเลือดมาเลี้ยง
2) ความทนของผิวหนัง เกิดปัจจัยอื่นร่วม ปัจจัยภายนอก เช่นความเปียกชื้น แรงเสียดสีและแรงเฉือน ส่วนปัจจัยภายใน เช่นภาวะโภชนาการ ความสูงอายุ โรคประจำตัว
ปัจจัยที่เกียวข้องกับการเกิดแผลกดทับ
ความรุนแรงจากแรงกดทับ , ระยะเวลาของแรงกดทับ , ความทนของเนื้อเยื่อ , แรงเฉือน , แรงเสียดสี , ภาวะโภชนาการ
การดูแลแผลกดทับ 1) การทำความสะอาดแผล 2) การกำจัดเนื้อตาย 3) การใช้วัสดุปิดแผลหรือการพันแผล 4) การมีโภชนาการที่ดี
นายสุชาครีย์ วงศ์สุริยะ 613060199-2 sec03