Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้ชุมชนที่ศึกษาประสบความ สำเร็จและประเด็นที่ต้องพัฒ…
วิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้ชุมชนที่ศึกษาประสบความ สำเร็จและประเด็นที่ต้องพัฒนา
ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จเป็นชุมชนเข้มแข็ง
ปัจจัยภายใน
ชุมชนมีการรวมตัวพูดคุยถึงปัญหาผลผลิตที่ไม่ดีจากสารเคมี ปัญหาจากการที่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ผลกระทบต่อร่างกาย และการหันมาใช้เกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่ดี ราคาไม่ตก เป็นที่ต้องการของตลาดและประชาชนได้เกิดการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์
ผู้นําชุมชนในระดับพื้นที่ มีนางฉันทนา ชัยกิจสุนทร เป็นแหล่งเรียนรู้ ของชุมชน ในการดำเนินงาน การแนะนำ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ต่างๆ และ เป็นผู้เสริมแรงจูงใจให้กับชุมชน
ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทในการสนับสนุน ส่งเสริม ให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คือ จัดตั้งเวทีชีวิตในดิน เวทีสอนทำปุ๋ยอินทรีย์
ปัจจัยภายนอก
ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสถาบันและชุมชน มีความสัมพันธ์กันดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันละกันอย่างสม่ำเสมอ สถาบันมีทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามาสนับสนุนด้านต่างๆ
เกษตรอำเภอท่าวุ้ง มีบทบาทในการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่สมาชิก และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร รับทราบปัญหาในการใช้สารเคมีเพื่อการผลิต สนับสนุนเครือข่ายเกษตรกร เยี่ยมแปลงปลูก เพื่อติดตามประเมิน GAP หรือ GPS จำนวน 8 แปลง
มีการเปิดร้าน King Narai Green ณ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี สินค้าที่จำหน่าย เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี มาตรฐาน Organic Thailand และมาตรฐาน Ifoam มีพืชผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ข้าวขาว เพื่อสุขภาพสิ้นค้าแปรรูปหลากหลาย
ประเด็นที่ต้องพัฒนา
ประเด็นการเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุน
การพัฒนาผู้นำเพื่อให้มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยการจัดทำแผนงาน/โครงการบูรณาการ จะมีการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานที่เป็นสื่อการเรียนรู้ จะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านเกษตรอินทรีย์ ทีการจัดการและบริหารอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการการเกษตรอินทรีย์
กระตุ้นคนในชุมชน เน้นการกระตุ้น ภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน
กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวของชาวบ้านเกิดเป็นกลุ่มในชุมชน กระตุ้นให้ชาวบ้านร่วมคิด ร่วมทำเรื่องที่แก้ไขปัญหาจากครัวเรือนของตนเองก่อน และสามารถแก้ไขได้ไม่ยากก่อน
สร้างบรรยากาศให้เกิดความสนใจเรียนรู้
มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ งดใช้สารเคมี เปลี่ยนมาใช้เกษตรอินทรีย์ กระตุ้นให้ชาวบ้านมีการสร้างเป้าหมายเดียวกัน
เสนอแนะแนวทางการพัฒนาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพชุมชนตามปัจจัยข้อ 3.3
แนวทางการพัฒนาปัจจัยภายใน
เน้นการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ร่วมกันจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เพื่อจัดการแก้ปัญหาการเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุน
เน้นการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ร่วมจัดตั้งโครงการเกษตรอินทรีย์ ให้คนในชุมชนเห็นคุณค่า และประโยชน์ที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความตระหนักให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี ปราศจากสารเคมีตกค้างในร่างกาย
เน้นให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการกระตุ้นคนในชุมชนงดการใช้สารเคมี เปลี่ยนมาใช้เกษตรอินทรีย์ และกระตุ้นมีเป้าหมายเดียวกัน คือ อยากมีสุขภาพดี โดยปลอดสารพิษ
เน้นสนับสนุนแกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ไปอบรม เรียนรู้ วิธีการทำเกษตรอินทรีย์แนวใหม่ต่างๆอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาปัจจัยภายนอก
การติดต่อโครงการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนจัดการอบรมความรู้การบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้เพียงพอต่อการทำโครงการ จัดทำการของบประมาณจากหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชน
การติดต่อโครงการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนจัดการอบรมคนในชุมชนและผู้นำชุมชน เรียนรู้ การทำเกษตรอินทรีย์แนวใหม่ต่างๆ สร้างความตระหนักให้คนในชุมชนมีความสนใจในเข้าร่วมโครงการการเกษตรอินทรีย์ และผู้นำชุมชนกระตุ้นคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น
จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ภายในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยลดการใช้สารเคมี และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก