Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
MentalHealth in Elderly - Coggle Diagram
MentalHealth in Elderly
-
ความหมายของ "สุขภาพจิต"
อัมพร โอตระกูล (2540) ได้ให้ความหมายของสุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีความสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ สามารถปรับตัวหรือความต้องการของตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เข้ากับบุคคลที่อยู่ร่วมและกับสังคมที่เกี่ยวข้องด้วยดีโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งยังก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์สุขแก่ตนเองอีกด้วย
ลักขณา สริวัฒน์ (2545) ได้ให้ความหมายของสุขภาพจิต คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจปราศจากอาการที่ผิดปกติ มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ทำให้มีความสามารถปรับตัวในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไร้ความวิตกกังวล ไม่มีความเครียด และไม่มีความขัดแย้งภายใน สามารถใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งผู้ที่มีความสามารถปรับตัวในสังคมได้ย่อมมีความสำเร็จในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เป็นที่ยอมรับในสังคมและเป็นบุคคลที่สังคมปรานารถ
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา (2552) กล่าวถึงสุขภาพจิตว่า คือสภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดหรือคาดหวังไว้
สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ
การสำรวจสุขภาพจิตในปี 2554 ของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนวัยทั่วไป ปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่เกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงของสถานะทางสังคม เช่น การเกษียณอายุงาน การเปลี่ยนแปลงจากบทบาทผู้นำเป็นผู้ตามในครอบครัว เกิดการสูญเสียของคนใกล้ตัว ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว (กรมสุขภาพจิต, 2559)
วัยสูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตได้ เช่น โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความรู้สึกสิ้นหวัง (วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554)
ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีสาเหตุหลากหลาย เช่น การสูญเสีย ปัญหาครอบครัว ความเหงา (ผ่องพรรณ อรุญแสง, 2560)
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 5 อันดับแรก คือ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาเรื่องเพศ (กรมสุขภาพจิต, 2559)
การเกษียณอายุการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับการยกย่องตามเดิม ส่งผลต่อความรู้สึกทางด้านอารมณ์ตามมา (วิไลพร ขำวงศ์ et al., 2563)
มาตรการช่วยเหลือเพื่อลดความเครียดในผู้สูงอายุช่วงการระบาดของ Covid-19 (กรมสุขภาพจิต, 2020)
3.ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นจึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยผู้สูงอายุต้องไม่มีอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาที่จำเป็น
4.ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี แนะนำให้เจ้าหน้าที่ใช้วิธีการโทรศัพท์หรือเยี่ยมเยือนที่บ้าน (หากเป็นไปได้)
2.สำหรับผู้สูงอายุที่พักอาศัยที่บ้านพักคนชราหรือสถานพยาบาลผู้สูงอายุ มีมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคภายใน และป้องกันการเกิดความวิตกกังวลและความเครียด
5.ผู้สูงอายุอาจไม่คุ้นชินกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายและเกิดการปฏิเสธ เจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ให้เกียรติและอดทน
-
-
-