Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงสรีระวิทยามารดาหลังคลอด, แหล่งที่มา:เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ…
การเปลี่ยนแปลงสรีระวิทยามารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
ระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือ เล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา (เนื่องจากทางซ้ายมีล้าไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ขวางอยู่ ) เนื่องจากกล้ามเนื้อ ต่างๆเริ่มมีความตึงตัวขึ้นมดลูกจะลดขนาดลงสู่อุ้งเชิงกรานเร็วมากประมาณวันละ ½ -1 นิ้วโดยมดลูกจะลดทั้ง น้ำหนักและขนาดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ เรียกว่า “มดลูกเข้าอู่”(Involution of uterus)
มดลูกที่มีการยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์(ประมาณ 11 เท่าของก่อนตั้งครรภ์) จะลดขนาดลงในทันทีที่
เด็กและรกคลอดแล้วมดลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัมกว้าง 12 ซม.ยาว 5 ซม. หนา 8 – 10 ซม
การตั้งครรภ์การลดระดับของมดลูกจ้านวนของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ขนาดของเซลล์จะลดลงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการคืนสู่สภาพปกติของมดลูกกล้ามเนื้อมดลูกจะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน2–3 สัปดาห์หลังคลอด
การย่อยสลายตัวเอง (Autolysis or self digestion)เกิดจากการลดระดับลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) ซึ่งท้าให้เกิดการแตก ตัวของใยกล้ามเนื้อและมีการเคลื่อนย้ายของแมคโรแฟ็จ (Macrophage) เข้าไปในเยื่อบุของกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อท้าลายสิ่งแปลกปลอมโปรตีนในผนังมดลูกจะแตกและถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดแล้วขับออกทางไตจึง ท้าให้มีไนโตรเจนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
การขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก ( Ischemia or localized anemia )เกิดจากการบีบรัดตัวของ กล้ามเนื้อมดลูกซึ่งถูกควบคุมโดยออกซิโตชิน Oxytocin) ทำให้มีการบีบตัวกดเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกโดยเฉพาะตรงบริเวณรกเกาะเพื่อยับยั้งการเสียเลือดท้าให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูกถูกบีบจ้านวนเลือดมาเลี้ยงมดลูกลดลงทำให้เกิดการเหี่ยวของเยื่อบุภายในโพรงมดลูกและเกิดการยุบสลายถูกขับออกมาทางน้ำคาวปลา
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
ระยะเวลาที่เกิดอาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน 72 ชั่วโมงถ้าอาการปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมงหรืออาการเจ็บปวดรุนแรงอาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมี ก้อนเลือดค้างอยู่
มีความรุนแรงเมื่อมารดาให้บุตรดูดนมเพราะการดูดนมจะกระตุ้นต่อมพิทูอิทารีส่วนหลัง (Posterior pituitary gland) หลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin)ไปกระตุ้นมดลูกให้หดรัดตัว
มีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูกต์เกิดใน หญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูงยกเว้นครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้้าเด็กตัวโต
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
(Decidua) ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้นคือชั้นผิวใน (Superficial layer) จะหลุดออกมาเป็นส่วนของน้ำคาวปลาส่วนชั้นใน (Functional layer) ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูกมีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกเนื้อเยื่อคอนเน็คทิฟว์(Connective tissue) จ้านวนเล็กน้อยจะงอกขึ้นมาใหม่
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัวมีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตรการ หายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก (Endometrial tissue)เจริญขึ้นมาแทนที่ดิซิดิวอะเบซัลลิส (Decidua basalis) ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูกหลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2 – 3 วันหลังคลอด
น้้าคาวปลา (Lochia)
Lochia serosa
ประมาณวันที่ 4 – 9 ลักษณะน้ำคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้ำตาลหรือค่อนข้าง เหลืองมีมูกปนทำให้ลักษณะที่ออกมาเป็นเลือดจางๆยืดได้เนื่องจากบริเวณแผลมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นมีเม็ด เลือดขาวมีน้ำเหลือง (Exudate) ที่ออกมาจากแผลซึ่งกำลังจะหายประกอบด้วยเลือดน้ำเหลืองจากแผลเม็ด เลือดขาวเศษเยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวแล้วมูกจากปากมดลูก
Lochia rubra
น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอดเนื่องจากในระยะนี้แผลภายในโพรง มดลูกยังใหม่อยู่การซ่อมแซมยังเกิดขึ้นน้อยสิ่งที่ขับออกมามีลักษณะสีแดงคล้ำและข้นประกอบด้วยเลือดเป็น ส่วนใหญ่น้ำคร่ำเศษเยื่อหุ้มเด็กเยื่อบุมดลูกไขและขนของเด็กขี้เทาลักษณะเลือดไม่เป็นก้อน
Lochia alba
ประมาณวันที่ 10 หลังคลอดน้ำคาวปลาจะค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวเยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวแล้วมูกจากปากมดลูกหรือน้ำเมือกและจุลินทรีย์เล็กๆ
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
ระยะหลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่าง (Lower uterinesegment) ยังคงบวม เป็นเวลาหลายวันส่วนของปากมดลูกที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมีรอยช้ำและมีรอยฉีกขาดเล็กๆซึ่งเสี่ยง ต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอดปากมดลูกจะสั้นลงแข็งขึ้นและกลับคืนสู่รูปเดิม
ประมาณ 2 – 3 วันหลังคลอดปากมดลูกยังคงยืดขยายได้ง่ายอาจสอดนิ้วเข้าไปได้ 2 นิ้ว
ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 1 จะ
กลับคืนเหมือนสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์แต่อย่างไรก็ตามปากมดลูกจะไม่คืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ผนังหน้าท้อง (Abdominal wall)
ถ้ามีการยืดขยายของกล้ามเนื้อหน้าท้องมากเกินไปจากเด็กตัวโตครรภ์แฝดหรือแฝดน้้าท้าให้มีการ
แยกของกล้ามเนื้อหน้าท้องเร็คทัส (Rectus muscle)
ผนังหน้าท้องจะอ่อนนุ่มและปวกเปียกในวันแรกๆหลังคลอดกล้ามเนื้อหน้าท้องจะ
ยังไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในช่องท้องได้เต็มที่
การกลับคืนสู่สภาพเดิมของกล้ามเนื้อหน้าท้องต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือนขึ้นกับลักษณะของรูปร่างของ แต่ละคนจ้านวนครั้งของการตั้งครรภ์และการบริหารร่างกายสำหรับริ้วรอยบนผนังหน้าท้อง (Striae gravidarum) ในระยะหลังคลอดจะไม่หายไปแต่สีจะจางลงเป็นสีเงิน
ฝีเย็บ (Perineum)
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บฝีเย็บจะมี ลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด Labia minora และ labia majera เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้นหากมารดาหลังคลอดได้รับการทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บและอบแผลด้วย แสง Infrared นาน 15- 20 นาทีโดยตั้งไฟห่าง 1 – 2 ฟุตก็จะกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นลดอาการปวด ลงได้
มารดาหลังคลอดที่มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บแต่ช่องทางคลอดแคบเกินไปอาจท้าให้เกิด การหย่อนสมรรถภาพของกล้ามเนื้อบริเวณนี้เกิดภาวะ Rectocele หรือCystocele ขึ้นส่วนมารดาที่ได้รับการ ตัดฝีเย็บและได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
การมีประจ้าเดือน
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 10 – 11หลังคลอดและเริ่มมี ประจำเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 7 – 9 หลังคลอด
มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือนจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 17 หลังคลอดถ้าเลี้ยงด้วย
นมตนเองนาน 6 เดือนจะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอดและจะเริ่มมีประจ้าเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 30 –
36 หลังคลอด
เต้านม
หัวน้้านม (colostrum)
จะเริ่มผลิตใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอดมีสีเหลืองข้นซึ่งเกิดจากสารเบตาแคโรทีนที่ สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นวิตามินเอได้ หัวน้ำนมจะมีโปรตีนวิตามินที่ละลายในไขมันเกลือแร่ซึ่งรวมถึงสังกะสี โซเดียมโพแทสเซียมและคลอไรด์มากกว่านมแม่ในระยะหลัง
น้้านมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk)
เป็นน้ำนมที่ออกมาในช่วงระหว่างหัวน้ำนมจนเป็นน้ำนมแม่ซึ่ง ระยะปรับเปลี่ยนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 – 10 หลังคลอดไปจนถึง 2สัปดาห์หลังคลอดปริมาณของอิมมูโนกลอบบูลินโปรตีนและวิตามินที่ละลายในไขมันจะลดต่ำลงส่วนปริมาณของน้ำตาลแลคโทสไขมันวิตามินที่ละลายในน้ำ และพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
น้้านมแม่ (true milk หรือ mature milk)
จะเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้วมีส่วนประกอบของ น้ำมากถึงร้อยละ87โดยร่างกายจะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญต่างๆซึ่งหลังจากผ่านการย่อยแล้วของเสีย ที่มาจากนมแม่จะต้องขับถ่ายทางไต (renalsolute load)
การเปลี่ยนแปลงระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก(Placental hormone)
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกในPlasmaจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน24 ชั่วโมงจะตรวจหาระดับฮอร์โมน(Human ChorionicSomatomammotropin = HCS) ไม่ได้
ประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอดระดับของฮอร์โมน (Human Chorionic Gonadotropin = HCG) จะลดลง
ภายใน 3 ชั่วโมงหลังคลอดระดับเอสโตรเจนในพลาสมาจะลดลงประมาณร้อยละ 10ของค่าในระยะตั้งครรภ
ระดับเอสโตรเจนจะลดลงต่ำสุดตรวจไม่พบในปัสสาวะประมาณวันที่ 4หลังคลอด
ประมาณ 19 – 20 วันหลังคลอดแต่ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้้านมตนเองระดับเอสโตรเจนอาจกลับ
เข้าสู่ระดับปกติค่อนข้างช้า
ประมาณวันที่ 3 หลังคลอดหลังจากสัปดาห์แรกของการคลอดจะไม่สามารถตรวจพบโปรเจสเตอโรนใน
ซีรัมได้และจะเริ่มมีการผลิตโปรเจสเตอโรนอีกครั้งเมื่อมีการตกไข่ครั้งแรกหลังคลอด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง(Pituitary hormone)
ระดับของFollicular Stimulating Hormone = FSHและ Luteinizing Hormone = LH จะต่ำมากในวันที่ 10 – 12 หลังคลอด
มารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง ระดับโพรแลคทินจะลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2สัปดาห์
การให้บุตรดูดนมจะท้าให้ความเข้มข้น ของโพรแลคทินเพิ่มขึ้นระดับของโพรแลคทินในซีรัมจะสูงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับจำนวนครั้งที่ให้บุตรดูดนมใน แต่ละวัน
ค่าของโพรแลคทินจะอยู่ในระดับปกติประมาณเดือนที่ 6 ถ้าให้บุตรดูดนมเพียง 1 – 3 ครั้งต่อวันและ ระดับโพรแลคทินจะยังคงสูงกว่า 1 ปีถ้าให้นมบุตรดูดนมสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต(Growth hormone)
อยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตอนท้ายๆไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังคลอดประกอบกับการลดลงอย่างรวดเร็ว ของฮอร์โมน Human Placental Lactogen (HPL)ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนคอร์ติชอล เอนไซม์จากรกและน้ำย่อย อินสุลิน (Insulinase)
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอดโดยปริมาณเลือดจะลดลง จากระดับ 5 – 6 ลิตรในระยะก่อนคลอดจนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนเลือด
ใน 2–3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15–30เปอร์เซนต์จากการไหลกลับของเลือด
ใน 3 วันแรกหลังคลอดค่าฮีมาโตคริตอาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับ ของปริมาณน้ำเหลือง (Plasma) มากกว่าจ้านวนของเม็ดเลือดจำนวนเหล่านี้จะลดลงสู่สภาพปกติเหมือนก่อน คลอดภายใน 4 – 5 สัปดาห์หลังคลอด
เม็ดเลือดขาวอาจสูงขึ้นถึง 20,000 – 25,000 cell/ml
สารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด(Clotting Factor) ยังคงมีค่าสูงอยู่และจะลดลงสู่ระดับปกติใน 2 – 3สัปดาห์หลังคลอด
ความดันเลือดและชีพจร
ในระยะคลอดอาจมีค่าความดันโลหิตต่้าได้จากการ
เสียเลือดมากกว่าปกติจนท้าให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
จากการมีการขยายตัวของหลอด
ดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน
มีการลดลงของความดันในช่องท้องเป็นเหตุให้เลือดไปรวมตัวบริเวณ
อวัยวะในช่องท้อง (Splanchnic engorgement)
จากการเสียเลือดปกติแต่ต้องใช้เวลานาน 2 – 3 ชั่วโมงเพื่อปรับปริมาณเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดยังมีผลให้ชีพจร ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50 –70 ครั้งต่อนาที
การที่อัตราการเต้นของ ชีพจรลดลงเป็นผลจากภายหลังคลอดรกแล้วเลือดที่เคยไปเลี้ยงรกจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลงขณะเดียวกันหญิงระยะหลังคลอด ก็จะถ่ายปัสสาวะมากขึ้น (Postpartum diuresis) ทำให้ปริมาณเลือดและความดันโลหิตต่ำลงเป็นผลให้อัตรา การเต้นของชีพจรค่อยๆเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเข้าสู่ระดับปกติภายใน7 – 10 วันหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงระบบหายใจ
ขนาดของช่องท้องและช่องทรวงอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอดท้าให้ความจุภายใน
ช่องท้องและกะบังลมลดลงปอดขยายได้ดีขึ้นการหายใจสะดวกขึ้น
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ จะบวมและมักมีอาการบวมและช้ำรอบๆรูเปิดของท่อปัสสาวะ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลงทำให้มีความจุมากขึ้นแต่ความไวต่อแรงกดจะลดลง
การทำงานของไต(Renal function)
Glucosuriaที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์จะหายไป
Creatinine clearance จะเป็นปกติในปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
Blood urea nitrogen จะเพิ่มขึ้นในระยะหลังคลอดเนื่องจากมีการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
อาจพบ Lactosuriaในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง
ในระยะตั้งครรภ์ Renal plasma flowและ Glumerular filtrationจะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 – 50 เปอร์เซ็นต์และในสัปดาห์แรกหลังคลอดยังคงสูง
ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอดมารดาจะเริ่มถ่ายปัสสาวะมาก ปัสสาวะที่ออกจากร่างกายรวมกับน้ำที่สูญเสียทางเหงื่อจะทำให้น้ำหนักของมารดาลดลงในระยะแรกหลัง คลอดประมาณ 2 - .25 กิโลกรัมหลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงอีกเนื่องจากมีการขับน้ำและอิเล็คโทรลัยที่สะสม ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์การท้างานของไตจะกลับสู่สภาพปกติใน 4 – 6 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร
หลังคลอดมารดามีแนวโน้มที่จะท้องผูก
จากการสูญเสียแรงดันภายในช่องท้อง
กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
ในระยะ 2 – 3 วันแรกมักมีความอยากอาหารและดื่มน้้ามาก
เพราะสูญเสียน้้าระหว่างคลอดและหลังคลอดระยะแรก
การเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
ช่วง 1 – 2 วันแรกหญิงระยะหลังคลอดมีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณแขนขา ไหล่และคอ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่ำลงทำให้
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง
ต้องออกแรงเบ่งขณะคลอดและหลังคลอดรก
หน้าท้องจะนุ่มหยุ่นไม่แข็งแรงและจะหนาขึ้นบริเวณกลางท้อง
โครงกระดูก
ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมน relaxin ท้าให้บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายมีการยืดขยายมี การเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไปและมีการเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจากมดลูกที่โตขึ้นเป็นผลให้กระ ดูดสันหลังแอ่นและกระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักมาก
หลังคลอด 2 – 3 วันแรกระดับฮอร์โมนรีแลคซินค่อยๆ ลดลงแต่หญิงระยะหลังคลอดยังคงเจ็บปวดบริเวณตะโพกและข้อต่อซึ่งจะขัดขวางการเริ่มเคลื่อนไหว (Ambulation)และการบริหารร่างกาย
บริเวณข้อต่อจะแข็งแรงมั่นคงจนเข้าสู่สภาพปกติต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกัน
ร้อยละ 20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดหมู่ O จะมีทารกที่มีเลือดหมู่ Aหมู่ B หรือหมู่ AB ซึ่งร้อยละ 5 ของทารกเหล่านี้จะมีภาวะเลือดไม่เข้ากันจนท้าให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในระดับ เล็กน้อยจนถึงปานกลางทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดและต้องได้รับการส่องไฟ รักษา (Phototherapy)
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด (Blood - type incompatibilities)ในช่วงที่เจ็บครรภ์และคลอดเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดาซึ่งจะมีความสำคัญมากในมารดาที่มี Rh- เพราะจะได้รับเซลล์จากทารกในครรภ์ที่มี Rh+ ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อ การพยาบาลมารดาระยะหลังคลอด ตอบสนองต่อแอนติเจนซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายโดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ครั้งต่อไป
การเปลี่ยนแปลงระบบผิวหนัง
ระบบผิวหนัง
ฝ้าบริเวณใบหน้า (Chloasma gravidarum) จะหายไปแต่สีที่เข้มของลานนมเส้น กลางหน้าท้อง (Linea nigra) และรอยแตกของผิวหนังบริเวณผนังหน้าท้อง(Striae gravidarum) จะไม่หายไป
อาการผิดปกติของหลอดเลือดเช่นอาการร้อนแดงที่ฝ่ามือ (Palmar erythuma)และก้อนเนื้องอกที่เหงือกจะลดลงเนื่องจากเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอด
หลังคลอดจึงมีเหงื่อออกมาการขับเหงื่อของร่างกายอาจเกิดขึ้น ในเวลากลางคืนมารดาอาจตื่นขึ้นมามีเหงื่อท่วมตัวจึงควรอาบน้ำจะช่วยให้สบายขึ้น
อุณหภูมิ
Milk Fever
เกิดจากนมคัด (Breast engorement) จะพบในวันที่ 3 – 4 หลังคลอดอุณหภูมิจะสูงกว่า 38°C และจะหายใน 24 ชั่วโมงหรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
Febile Fever
เกิดจากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดาเช่นการอักเสบที่เยื่อบุ โพรงมดลูกเต้านมอักเสบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือในระบบอื่นๆอุณหภูมิจะสูงกว่า 38°C ติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่า (ไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด)
Reactionary Fever
เกิดจากการขาดน้ำเสียพลังงานในการคลอดหรือได้รับการชอกช้ำ(Trauma) ในขณะคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยโดยประมาณ 37.8°C (100°F) แต่ไม่ เกิน 38°C แล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
Taking – in phase
ระยะเริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาเป็นระยะ 1 – 3 วันแรกหลังคลอดร่างกายมีความอ่อนล้าไม่สุขสบายจากการปวดมดลูกเจ็บปวดแผลฝีเย็บและคัดตึงเต้านมบางรายอาจปวดร้าวกล้ามเนื้อบริเวณตะโพกและฝีเย็บจนกระทั่งเดินไม่ได้ในช่วงวันแรกช่วยเหลือตนเองได้น้อยในช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเองมีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น (Dependency needs)
การพยาบาล
ดูแลช่วยเหลือประคับประคองและตอบสนองความต้องการของมารดา
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่นเห็นอกเห็นใจเข้าใจความรู้สึกด้วยความจริงใจ
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจ
ควรอธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของมารดา
สังเกตอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะเกิดขึ้นให้ความสนใจทั้งคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออก
Taking – hold phase
ระยะนี้จะอยู่ในช่วง 3 – 10 วันหลังคลอด มารดาหลังคลอดที่ได้รับการตอบสนองในช่วง Taking - in phaseอย่างครบถ้วนก็จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ระยะนี้ โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพึ่งพาเริ่มเข้าสู่พฤติกรรมพึ่งพาเป็นอิสระสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้น เริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกสนใจบุคคลอื่นๆในครอบครัวเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
สอนสาธิตแนะนำและให้กำลังใจ
สนับสนุนให้สามีพูดคุยให้กำลังใจเพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจและกระตือรือร้นที่จะปรับบทบาทของตนเองเข้าสู่การเป็น “มารดา” และเป็น “ภรรยา
แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ครอบครัวได้จัดวางแผนดำเนินชีวิต
Letting-go phase
ระยะที่แสดงบทบาทได้ดีเป็นช่วงต่อเนื่องจาก Taking-hold phase ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงที่สตรีหลังคลอดและทารกลับมาอยู่ที่บ้านผู้ติดตามดูแลให้คำแนะนำ ต่อเนื่องจากระยะที่อยู่โรงพยาบาลต้องชี้แนะแนวทางให้มารดาหลังคลอดและสามีได้ร่วมกันวางแผนการ ดำเนินชีวิตการปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่และการมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น
การพยบาล
แนะนำให้มารดาหลังคลอดสามีและสมาชิกภายในครอบครัวสามารถปรับตัวและวางแผนการ ดำเนินชีวิตตามพัฒนกิจของครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
แหล่งที่มา:เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ.(2558).การพยาบาลมารดาระยะหลังคลอด.(ออนไลน์).สืบค้นจาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/58/block_html/content/PP%2827122556%29.pdf(14/3/2564
)
นางสาวปาลิดา บำรุงทรัพย์
เลขที่52ห้องBรหัส61123301105